Supply Chain คืออะไร ?
Supply Chain คือ ห่วงโซ่อุปทานที่เป็นกระบวนการตั้งแต่จัดหาวัตถุดิบ จัดเก็บ เคลื่อนย้าย จนนำสินค้าไปส่งถึงมือผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคได้รับความพึงพอใจสูงสุด ทุกกระบวนการในซัพพลายเชนจะมีความเชื่อมโยงและเกี่ยวข้องกัน ก่อนได้วัตถุดิบมานั้นต้องมีการติดต่อกับซัพพลายเออร์ต่างๆ เมื่อจัดซื้อวัตถุดิบมาแล้วก็เข้าสู่กระบวนการผลิต หลังจากผลิตเสร็จจึงเข้าสู่กระบวนการจัดเก็บอาจมีการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น การจัดจำหน่ายสินค้าก็มีกระบวนการขนส่งสินค้าเข้ามาเกี่ยวข้อง จนกระทั่งสินค้าไปถึงมือผู้บริโภค
Supply Chain Management คืออะไร ?
Supply Chain Management คือ การจัดการโซ่อุปทานโดยมีวัตถุประสงค์ในการบริหารจัดการ เพื่อให้ทุกกระบวนการนั้นเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเป็นการป้องกันไม่ให้ supply chain หรือห่วงโซ่อุปทานนั้นเกิดการสูญเปล่าหรือเกิด Waste ขึ้น การบริหาร supply chain management ป้องกันการสูญเปล่าและป้องกันเพื่อไม่ให้ธุรกิจมีต้นทุนโดยรวมที่สูงขึ้นด้วย หลักการบริหารจัดการแบ่งออกเป็น 3 Flow ได้แก่ Material Flow หรือการไหลของวัตถุดิบ Information Flow หรือการไหลของข้อมูลและ Financial Flow การไหลของเงินทุน
คลิกอ่านเพิ่มเติม: Value Chain คืออะไร ? ประกอบด้วยกิจกรรมอะไรบ้าง ทำไมถึงต้องวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
ประโยชน์ของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
การจัดการห่วงโซ่อุปทานนั้นมีประโยชน์อย่างมาก โดยธุรกิจต่างๆ ควรให้ความสำคัญในเรื่องการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งจะมีประโยชน์ ดังนี้
1.ช่วยประหยัดต้นทุน
การบริหารจัดการซัพพลายเชน ช่วยประหยัดต้นทุนได้เป็นอย่างมาก อย่างที่บอกว่าการบริหารจัดการซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพนั้นช่วยลดความสูญเปล่า ช่วยลดขั้นตอนหรือกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ กำจัดขั้นตอนที่ไม่มีความจำเป็นทิ้งไป ธุรกิจจึงมีต้นทุนแฝงและต้นทุนการผลิตต่ำลง นอกจากนั้น supply chain ยังทำให้รู้ว่าแต่ละขั้นตอนมีต้นทุนเท่าไหร่สามารถลดต้นทุนในบางขั้นตอนที่ไม่จำเป็นลงได้
2.สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า
หากมี supply chain ที่ดี ลูกค้าจะได้รับสินค้าที่รวดเร็วและมีคุณภาพ ดังนั้นการบริหารจัดการซัพพลายเชนจึงช่วยสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างมาก ทำให้ธุรกิจมีภาพลักษณ์ที่ดี และช่วยสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ให้จดจำได้ง่าย ส่งผลให้ธุรกิจของคุณเติบโตไปข้างหน้ามีโอกาสประสบความสำเร็จได้สูง
คลิกอ่านเพิ่มเติม: การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า คืออะไร มีวิธียังไงบ้าง ให้ลูกค้าประทับใจและซื้อซ้ำ
3.เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
การจัดการระบบต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ ย่อมอยู่เหนือคู่แข่งเสมอ การจัดการซัพพลายเชนเป็นสิ่งสำคัญ ช่วยให้องค์กรก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและสามารถเอาชนะคู่แข่งได้ง่ายๆ มีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากกว่า หลายๆ ธุรกิจหรือหลายบริษัทมีการนำเอาเทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาใช้ประโยชน์ เพื่อช่วยให้การบริหารจัดการซัพพลายเชนนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4.มีขั้นตอนหรือระบบการทำงานที่ชัดเจน
หากมีการบริหารจัดการซัพพลายเชนที่ดี ทุกกระบวนการหรือทุกขั้นตอนจะมีความชัดเจนและเป็นไปอย่างราบลื่น ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การจัดเก็บและการขนส่ง ช่วยให้การทำงานคล่องตัวมีขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจนเป็นมาตรฐานเดียวกันพนักงานสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น สำหรับผู้บริหารเองจะรับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นได้ แม้เป็นปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ทำให้สามารถแก้ไขภายในระยะเวลารวดเร็ว
หากจัดการห่วงโซ่อุปทานได้ไม่ดี จะส่งผลเสียอย่างไร
อย่างที่รู้กันว่ากระบวนการต่างๆ ใน Supply Chain นั้นทำงานเชื่อมโยงต่อกันเหมือนห่วงโซ่ ดังนั้นหากธุรกิจบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานได้ไม่ดี หรือมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นในกระบวนการใดกระบวนการหนึ่ง ก็จะส่งผลกระทบไปยังกระบวนการอื่นๆ ด้วยทั้งหมด ทำให้งานต่างๆ เกิดความล่าช้า เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสในการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า หรือหากไม่มีการจัดเก็บข้อมูลงานหรือข้อมูลสินค้าอย่างเป็นระบบ ก็อาจจะทำให้ข้อมูลตกหล่นและไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ส่งผลให้การวิเคราะห์ข้อมูล การคาดการณ์ในการผลิตสินค้า หรือจัดส่งสินค้านั้นไม่แม่นยำ ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อน และมีค่าใช้จ่ายไม่จำเป็นเพิ่มขึ้นได้
องค์ประกอบของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
สำหรับองค์ประกอบของ supply chain หรือห่วงโซ่อุปทานหมายถึงรูปแบบการทำงานหรือขั้นตอนต่างๆ ในการทำงานที่เชื่อมโยงไปยังจุดหมายเดียวกันนั่นคือ ทำให้ลูกค้าพึงพอใจ องค์ประกอบของห่วงโซ่อุปทานแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
1.Upstream Supply Chain
Upstream Supply Chain คือ ส่วนของห่วงโซ่อุปทานที่เกิดขึ้นก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการผลิต ปัจจัยหรือองค์ประกอบหลักๆ จะเป็นการจัดหา supplier หรือผู้ผลิตวัตถุดิบที่ดีที่สุด สามารถจัดซื้อวัตถุดิบต่างๆ ได้อย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐานในราคาที่คุ้มค่า ประหยัดต้นทุน
2.Internal Supply Chain
Internal Supply Chain คือ ห่วงโซ่อุปทานซึ่งอยู่ในระหว่างขั้นตอนการผลิตเป็นการเปลี่ยนจากวัตถุดิบที่ซื้อมาให้อยู่ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์หรือสินค้าพร้อมนำออกสู่ตลาด บางครั้งอาจมีการนำเทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้หรือผลิตภัณฑ์เป็นไปตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ ไปจนถึงขั้นตอนของการจัดเก็บสินค้าไว้ในคลังหรือการสต๊อกสินค้าอย่างมีระบบ
3.Downstream Supply Chain
Downstream Supply Chain ห่วงโซ่อุปทานที่อยู่ในขั้นตอนของการส่งสินค้าไปจนถึงมือลูกค้า หลังจากที่นำวัตถุดิบเข้ามาจนถึงกระบวนการผลิตและผลิตออกมาเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์แล้ว นำสินค้าไปจัดเก็บไว้ในคลังสินค้าก็มาถึงขั้นตอนของการส่งสินค้าไปให้ถึงมือลูกค้าจะมีการซื้อขายสินค้าการ หรือรับ Order เข้ามาเกี่ยวข้องและการขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าองค์ประกอบนี้มีเป้าหมายสูงสุดคือการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
ผู้ที่เกี่ยวข้องใน Supply Chain มีใครบ้าง ?
มาถึงคำถามที่หลายคนสงสัย ห่วงโซ่อุปทานหรือ Supply Chain มีใครบ้างที่เกี่ยวข้องบ้าง โดยการจะเกิดเป็นห่วงโซ่อุปทานได้นั้น จะต้องมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน ซึ่งสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในซัพพลายเชนหลักๆ แล้ว มีดังนี้
1.ผู้ผลิตวัตถุดิบ (Supplier)
2.ผู้ผลิต (Manufacturer)
3.ผู้ขายส่งหรือกระจายสินค้า (Wholesaler)
4.ผู้ขายปลีก (Retailer)
5.ผู้บริโภคหรือลูกค้า (Customer)
กระบวนการจัดการห่วงโซ่อุปทาน มีอะไรบ้าง
1.กระบวนการจัดซื้อวัตถุดิบ
กระบวนการจัดซื้อวัตถุดิบ (Purchasing) นับว่าเป็นส่วนสำคัญมากๆ ในกระบวนการจัดการห่วงโซ่อุปทาน โดยต้องมีการจัดหา supplier ที่มีความน่าเชื่อถือเพื่อให้ได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ในขณะเดียวกันก็ต้องคุ้มค่าเหมาะสมกับต้นทุนที่มีอยู่ ฝ่ายจัดซื้อจะต้องมีความชำนาญสามารถต่อรองราคาได้อย่างเหมาะสม
2.กระบวนการผลิต
กระบวนการผลิต (Manufacturing) ซึ่งหลังจากที่ได้วัตถุดิบมาแล้วก็จะเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นลำดับต่อไปอาจมีการนำเทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือเครื่องจักรที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต ทำให้ได้สินค้าที่ดีมีคุณภาพและได้มาตรฐานทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ
3.กระบวนการทำการตลาด
กระบวนการทำการตลาด (Marketing) ถึงแม้ว่ากระบวนการผลิตจะยังไม่เสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์แบบ แต่ก็ควรวางแผนการทำการตลาดไว้ล่วงหน้า ซึ่งการทำการตลาดถือว่าเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญเลยของกระบวนการจัดการห่วงโซ่อุปทาน อย่างเช่น การสร้างโปรโมชั่น การทำโฆษณา การกำหนดราคาที่เหมาะสม การวิเคราะห์ลูกค้าเป้าหมาย การหาช่องทางการขาย ทั้งออฟไลน์และแพลตฟอร์มขายของออนไลน์ เป็นต้น
4.กระบวนการกระจายสินค้า
กระบวนการกระจายสินค้า (Distribution) เป็นกระบวนการที่สำคัญเช่นเดียวกันในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน การกระจายสินค้าของซัพพลายเชนนั้นจะเน้นไปในเรื่องของการสต๊อกสินค้า หลังจากที่ผลิตสินค้าเสร็จแล้วอาจกระจายสินค้าเพื่อไปสต๊อกไว้ในที่ต่างๆ หรือคลังเก็บสินค้าใกล้ลูกค้าทำให้สะดวกต่อการขนส่ง การจัดเก็บสินค้าต้องเก็บในพื้นที่ที่ปลอดภัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบ มีระบบการบริหารจัดการคลังสินค้าที่ดีเพื่อให้การขนส่งรวดเร็วทำให้ลูกค้าพึงพอใจสูงสุด
5.กระบวนการจัดส่งสินค้า
กระบวนการจัดส่งสินค้า (Logistics) เป็นกระบวนการสุดท้ายของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน การขนส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคซึ่งอาจไม่ใช่ผู้บริโภคคนสุดท้ายเสมอไปแต่อาจเป็นผู้ค้าปลีก อย่างเช่น ร้านโชห่วยหรือร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานในกระบวนการนี้จะต้องทำให้รวดเร็วและป้องกันไม่ให้สินค้าได้รับความเสียหาย เพื่อทำให้ผู้รับสินค้าหรือผู้บริโภคนั้นเกิดความพึงพอใจมากที่สุด อยากสั่งซื้อสินค้าอีกครั้ง กลายเป็นลูกค้าประจำหรือคนที่จงรักภักดีต่อแบรนด์
เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการ Supply Chain
เนื่องจาก Supply Chain คือกระบวนการที่มีความสำคัญต่อการทำธุรกิจ ทำให้ปัจจุบันได้มีการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการจัดการห่วงโซ่อุปทาน และนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งเทคโนโลยีในการจัดการ Supply Chain จะมีตั้งแต่เทคโนโลยีที่ใช้ในโรงงาน คลังสินค้าอัจฉริยะ (Smart Warehouse) เทคโนโลยีการขนส่งสินค้า เทคโนโลยีหรือระบบการขายสินค้า รวมไปถึงเทคโนโลยีด้านการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ซึ่งเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้ เปรียมเสมือนตัวช่วยสำคัญในการจัดการ Supply Chain ให้เป็นไปอย่างราบรื่น และลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาดในการทำงานได้เป็นอย่างดี
คลิกอ่านเพิ่มเติม: รวม 6 เทคโนโลยีที่ใช้ในคลังสินค้า ที่มีความสำคัญและประโยชน์ต่อธุรกิจ พร้อมวิธีการเลือกใช้งาน
Supply Chain กับการบริหารจัดการคลังสินค้า
การบริหารจัดการคลังสินค้า ถือเป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานหรือ Supply Chain Management ซึ่งหากมีการบริหารจัดการคลังสินค้าที่ดี ก็จะส่งผลให้มีการจัดเก็บสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ สินค้าถูกส่งไปยังมือผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว ไม่ได้รับความเสียหาย ทำให้ผู้บริโภคหรือลูกค้าเกิดความพึงพอใจ
ซึ่งการบริหารจัดการคลังสินค้าในปัจจุบัน ได้มีการใช้เทคโนโลยีหรือโปรแกรมเข้ามาช่วยในการทำงาน เช่น ระบบ WMS และโปรแกรมสต๊อกสินค้า เป็นต้น เพื่อช่วยจัดการข้อมูลสินค้าและจัดการงานต่างๆ อย่างเป็นระบบ ลดข้อผิดพลาดในการทำงาน และสามารถเชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับหน่วยย่อยอื่นๆ ของห่วงโซ่อุปทานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
คลิกอ่านเพิ่มเติม : ระบบจัดการออเดอร์และคลังสินค้าในที่เดียว หรือระบบ OMS+WMS By Packhai
ทดลองใช้บริการ Fulfillment
Fulfillment ตัวช่วยคนขายของออนไลน์ ที่ช่วยลดต้นทุนการขายสินค้า ลดเวลาการทำงาน มีเวลาโฟกัสยอดขายได้มากขึ้น
จะเห็นได้ว่าห่วงโซ่อุปทานหรือ Supply Chain คือสิ่งที่ธุรกิจต้องทำความเข้าใจให้ดี โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการผลิตสินค้าและต้องมีการจัดเก็บสินค้า เนื่องจากหากธุรกิจมีกระบวนการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้การทำงานนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น ลดโอกาสในการเกิดข้อผิดพลาดต่างๆ ระหว่างการทำงาน และช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้
เนื่องจากคลังสินค้าเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้นการมีคลังสินค้าที่ได้มาตรฐาน และมีพื้นที่เพียงพอในการจัดเก็บสินค้าจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อไม่ให้สินค้าหรือวัตถุดิบขาดมือ และไม่ให้ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก ซึ่งสำหรับธุรกิจไหนที่ประสบปัญหาไม่มีพื้นที่จัดเก็บสินค้า ปัจจุบันสามารถใช้บริการเช่าคลังสินค้าระบบ Fulfillment ที่มีบริการรับฝาก จัดเก็บ แพ็ค และส่งสินค้า ให้กับธุรกิจรวมไว้ในที่เดียว ซึ่งตอบโจทย์มากๆ สำหรับธุรกิจที่ต้องการเพิ่มพื้นที่จัดเก็บสินค้า หรือธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่มีคลังสินค้าของตัวเอง
คลิกอ่านเพิ่มเติม : บริการ Fufillment BY Packhai ว่ามีข้อดีที่แตกต่างจากเจ้าอื่นยังไง ?
ทดลองใช้บริการ Fulfillment
Fulfillment ตัวช่วยคนขายของออนไลน์ ที่ช่วยลดต้นทุนการขายสินค้า ลดเวลาการทำงาน มีเวลาโฟกัสยอดขายได้มากขึ้น