กลยุทธ์การตลาด Remarketing และ Retargeting
การทำ Remarketing และ Retargeting เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดรูปแบบหนึ่งที่มักใช้กันในการทำธุรกิจ โดยกลยุทธ์ทั้งสองอย่างนี้มีความคล้ายคลึงกัน ทั้งในเรื่องของผลลัพธ์และประสิทธิภาพในการทำงาน ทั้งยังมีความสำคัญต่อการทำธุรกิจออนไลน์ไม่แพ้กัน ดังนั้นเราจึงเห็นว่าธุรกิจออนไลน์ต่างๆ ในปัจจุบัน เริ่มให้ความสนใจและเริ่มมีการวางแผนการตลาด ด้วยการใช้กลยุทธ์อย่าง Remarketing และ Retargeting เพื่อให้สินค้าเข้าถึงลูกค้า และเพื่อดึงลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าหรือกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์อีกครั้ง
Remarketing คืออะไร ?
Remarketing คือ กลยุทธ์ทางการตลาดที่จะนำเอากลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มลูกค้า ที่เคยมีปฏิสัมพันธ์กับธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นทางใดทางหนึ่ง กลับมาเป็นเป้าหมายในการทำการตลาดครั้งต่อๆไป ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดๆ คือ เมื่อเราเข้าไปช้อปปิ้งบนแพลตฟอร์มขายของออนไลน์อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วกลับมาใช้งาน Facebook ของเรา เราจะเห็นได้ว่าโฆษณาของสินค้าที่เราเคยเข้าไปดู แต่ยังไม่ได้ซื้อ ถูกโชว์ให้เราเห็นซ้ำๆ บ่อยๆ ในเฟสบุ๊คหรือในแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อให้เราคลิกเข้าไปดูสินค้าและเพื่อให้เราซื้อสินค้าในที่สุด
คลิกอ่านเพิ่มเติม: การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า คืออะไร มีวิธียังไงบ้าง ให้ลูกค้าประทับใจและซื้อซ้ำ
ทำไมธุรกิจถึงควรทำ Remarketing
การที่ธุรกิจส่วนใหญ่ในปัจจุบันควรทำ Remarketing ก็เพราะประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำกลยุทธ์ทางการตลาดนี้มีอยู่มากมาย โดยจะทำให้ลูกค้าที่เคยเข้าใช้งานเว็บไซต์หรือเคยเข้าคลิกดูสินค้า แต่ยังไม่ซื้อสินค้า มีโอกาสที่จะหวนกลับมาซื้อสินค้าอีกครั้ง เพราะหลักการของ Remarketing คือการตามติดกลุ่มลูกค้าไปยังช่องทางต่างๆ ที่สามารถเชื่อมโยงกับธุรกิจ ส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่างๆ ดังต่อไปนี้
- ทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่สนใจสินค้าได้อย่างแม่นยำ ยิ่งถ้ากลุ่มเป้าหมาย สนใจสินค้าเป็นทุนเดิม มีการเพิ่มสินค้าลงในรถเข็น ยิ่งเพิ่มโอกาสที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อสินค้ามากยิ่งขึ้น
- ช่วยให้กลุ่มเป้าหมายจดจำและเข้าถึงสินค้าได้ง่ายยิ่งขึ้น เพราะเมื่อกลุ่มเป้าหมายเข้ามาเยี่ยมชมหรือเข้ามาเลือกซื้อสินค้า โฆษณาที่ถูกยิงกลับไปยังกลุ่มเป้าหมาย จะช่วยเพิ่มการจดจำ ทำให้เป้าหมายจดจำสินค้าและแบรนด์สินค้าดียิ่งขึ้น
- สร้างฐานลูกค้าใหม่และเพิ่มมูลค่าจากการซื้อสินค้าซ้ำ นอกจากกลุ่มเป้าหมายจะมองเห็นสินค้าได้ง่ายแล้ว เป้าหมายอาจจะมีการแชร์สินค้าออกไปในแพลตฟอร์มต่างๆ ทำให้ได้ฐานลูกค้าใหม่ อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสที่กลุ่มเป้าหมายจะเข้ามาซื้อสินค้าได้อีกด้วย
- ประหยัดงบประมาณในการทำการตลาด เพราะการทำ Remarketing ทำให้ธุรกิจสามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง ไม่ต้องไปนำเสนอขายสินค้าเอง นอกจากจะประหยัดงบประมาณได้แล้ว การทำ Remarketing ยังช่วยประหยัดเวลาในการทำการตลาดได้เป็นอย่างดี
Retargeting คืออะไร ?
Retargeting คือ กลยุทธ์ทางการตลาดที่จะมีการติดตามกลุ่มเป้าหมายจากประวัติการค้นหา จาก keyword และจากการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ โดยข้อมูลของลูกค้าเหล่านี้จะถูกเก็บใน Cookie เพื่อบันทึกกลุ่มเป้าหมาย และเพื่อวิเคราะห์หา Customer Insight ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราเข้าไปแพลตฟอร์มอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเลือกซื้อสินค้า แม้จะยังไม่ซื้อสินค้า แต่ทางเว็บก็จะมีการเก็บประวัติการค้นหา พร้อมกับสิ่งที่เราให้ความสนใจเอาไว้ หลังจากนั้นจะมีการส่งโฆษณาสินค้าที่เราสนใจ กลับมาให้เราผ่านทางแพลตฟอร์มต่างๆที่เราใช้ เพื่อให้เราเห็นและกลับไปซื้อสินค้า
คลิกอ่านเพิ่มเติม: PDPA คืออะไร? เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำธุรกิจ ทำไมต้องมี พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
Remarketing กับ Retargeting เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
แม้ว่าคนส่วนใหญ่มองว่า Remarketing กับ Retargeting เป็นการทำการตลาดประเภทเดียวกัน มีความหมายและมีการทำงานคล้ายกัน แต่แท้จริงแล้ว กลยุทธ์ทางการตลาดทั้งสองอย่างนี้มีความแตกต่างกันมากพอสมควร โดย Remarketing จะเป็นกลยุทธ์ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีโอกาสซื้อ เพื่อให้กลับมาซื้ออีกครั้ง ส่วน Retargeting จะเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ติดตามกลุ่มเป้าหมาย จากการยิงโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมายยิงแอด โดยอ้างอิงจาก Cookie ที่กลุ่มเป้าหมายเคยเข้ามาใช้บริการ
สามารถทำ Remarketing บนแพลตฟอร์มไหนได้บ้าง
ปัจจุบันการทำ Remarketing สามารถทำบนแพลตฟอร์มได้หลายแพลตฟอร์ม ยกตัวอย่างแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมก็คือ Facebook, Instagram, Twitter และ TikTok Shop แต่การทำ Remarketing จำเป็นจะต้องมีเว็บไซต์ประเภท E-Commerce ก่อนเป็นอันดับแรก เพราะจะต้องมีการนำโค้ดหรือที่เรียกว่า Remarketing Script ไปวางไว้บนหน้าเว็บไซต์ เพื่อเชื่อมโยงกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามายังเว็บไซต์ จากนั้นจึงจะมีการเชื่อมโยงการโฆษณาสินค้าไปยัง Social Commerce ต่างๆ ของธุรกิจ
ในการจะสามารถทำ Remarketing และ Retargeting ได้นั้น จำเป็นจะต้องมีข้อมูลของลูกค้า เพื่อนำมาใช้วิเคราห์และวางแผนทำการตลาด ซึ่งปัจจุบันธุรกิจส่วนใหญ่มีแพลตฟอร์มหรือช่องทางขายสินค้าหลากหลายช่องทาง ที่เรียกกันว่า “Omni channel” เพื่อเพิ่มการเข้าถึงลูกค้า ดังนั้นจึงมีข้อมูลลูกค้าและคำสั่งซื้อจำนวนมากจากหลายช่องทาง ซึ่งหากจัดการหรือจัดเก็บไม่เป็นระบบ ก็อาจจะทำให้ข้อมูลตกหล่น สูญหาย และนำมาวิเคราะห์ได้ยาก ทำให้พลาดโอกาสในการทำ Remarketing เพื่อปิดการขายได้
ปัจจุบันธุจกิจออนไลน์ส่วนใหญ่ จึงมีการนำเอาระบบจัดการออเดอร์ (Order Management System) เข้ามาใช้งาน เพื่อช่วยในการรวบรวมออเดอร์ และข้อมูลลูกค้าจากทุกช่องทางขายให้กับธุรกิจ และนำมาจัดเก็บในระบบพร้อมจัดหมวดหมู่ชัดเจน ว่าแต่ละออเดอร์มาจากช่องทางไหน แอดมินหรือ Sale คนไหนเป็นคนปิดการขาย รวมไปถึงสามารถจัดทำรายงานยอดขายและข้อมูลทางสถิติได้อีกด้วย จึงช่วยประหยัดเวลาและลดข้อผิดพลาดในการทำงานได้เป็นอย่างดี
คลิกดูข้อมูลและฟีเจอร์เพิ่มเติม: ระบบจัดการออเดอร์และคลังสินค้าในที่เดียว By Packhai
เทคนิคการทำ Remarketing ให้ประสบความสำเร็จ
อย่างที่เรารู้กันดีว่าในปัจจุบันมีการแข่งขันทางธุรกิจออนไลน์ค่อนข้างสูง หากจะใช้เพียงแค่คุณภาพของสินค้า อาจจะไม่เพียงพอต่อการประสบความสำเร็จ ดังนั้นจึงควรต้องมีเทคนิคการทำ Remarketing ที่ดี ซึ่งเทคนิคในการทำ Remarketing จะมีดังต่อไปนี้
- นำ code มาติดตั้งในเว็บไซต์ เพื่อเกาะติดพฤติกรรมของลูกค้า และเพื่อเป็นการโน้มน้าวใจลูกค้าให้รู้สึกอยากซื้ออีกครั้ง
- ทำลิงก์ยิงโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เคยคิดเข้ามาดูสินค้าจากทาง Facebook หรือช่องทางโซเชียลมีเดียอื่นๆ
- ยื่นข้อเสนอพิเศษให้กับกลุ่มเป้าหมาย โดยอาจลดราคาสินค้าในระยะเวลาที่จำกัด เพื่อเป็นการกระตุ้นกลุ่มเป้าหมาย ไม่ให้พลาดโอกาสดีๆ
- ใช้ Facebook Pixel ใน Facebook เพื่อจัดเก็บข้อมูลและดูกลุ่มเป้าหมายว่ามีความสนใจ หรือมองหาสินค้าประเภทไหนอยู่
กลยุทธ์การทำการตลาดด้วย Remarketing และ Retargeting สามารถช่วยติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวัตถุประสงค์หลักๆ ก็คือการทำให้กลุ่มลูกค้าจดจำตัวสินค้าได้ และกระตุ้นให้เกิดความต้องการซื้อสินค้า เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ ซึ่งนอกจากงานด้านการจัดการข้อมูลและออเดอร์สินค้าแล้ว งานด้านการจัดเก็บสต๊อกหรือคลังสินค้าก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะถือเป็นส่วนสุดท้ายก่อนที่สินค้าจะถึงมือลูกค้า
โดยปัจจุบันธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีคลังสินค้าของตัวเอง จะมีการนำเอาระบบจัดการคลังสินค้าหรือระบบ WMS เข้าช่วยบริหารจัดการงานต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ แต่สำหรับธุรกิจออนไลน์ส่วนใหญ่ที่ไม่ได้มีคลังสินค้าของตัวเอง ตัวเลือกที่ตอบโจทย์และได้รับความนิยม คือ การใช้บริการเช่าคลังสินค้าออนไลน์ระบบ Fulfillment ที่ให้บริการตั้งแต่การรับฝาก จัดเก็บ แพ็คและส่งสินค้า โดยที่ธุรกิจไม่ต้องมานั่งดูแลงานในส่วนนี้เอง ช่วยประหยัดเวลาและลดต้นทุนการทำงานได้เป็นอย่างดี
คลิกดูข้อมูลและฟีเจอร์เพิ่มเติม: บริการคลังสินค้าออนไลน์ระบบ Fufillment BY Packhai
ทดลองใช้บริการ Fulfillment
Fulfillment ตัวช่วยคนขายของออนไลน์ ที่ช่วยลดต้นทุนการขายสินค้า ลดเวลาการทำงาน มีเวลาโฟกัสยอดขายได้มากขึ้น