Social Commerce คืออะไร? น่าสนใจอย่างไร ทำไมธุรกิจออนไลน์ยุคนี้ไม่ควรมองข้าม!

Social Commerce คืออะไร

Social Commerce คืออะไร

Social Commerce คือ การขายสินค้าหรือบริการผ่านทาง Social Media ปัจจุบันแบรนด์ต่างๆ เริ่มให้ความสำคัญและลงทุนในการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ในขณะเดียวกันแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ก็ได้มีการพัฒนาฟีเจอร์ขึ้นมาเพื่อให้รองรับการทำการตลาดออนไลน์ สามารถกดสั่งซื้อสินค้าได้เลยแบบทันทีทันใดเป็นการเพิ่มโอกาสที่ดีให้กับคนทำธุรกิจออนไลน์ช่วยเพิ่มยอดขายหรือปิดการขายได้เร็วมากขึ้น 

เวลาคุณเห็นสินค้าที่สนใจโผล่ขึ้นมาใน Social Media ก็จะมาพร้อมกับปุ่ม Call-to-Action อย่าง “ซื้อเลย” ถ้าคุณอยากเข้าไปซื้อสินค้าหรือบริการนั้นคุณก็แค่กดปุ่มนั้นเข้าไปเพียงคลิก 1-2 ครั้ง คุณก็สามารถซื้อสินค้าที่สนใจผ่าน Social Media ได้แล้ว และสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องโดยไม่รู้สึกว่ากำลังถูกขัดจังหวะ Social commerce จึงเป็นโอกาสการดี ในการช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจออนไลน์สามารถขายสินค้าได้มากขึ้นและปิดการขายได้รวดเร็วขึ้น

Contents hide

Social Commerce ที่ได้รับความนิยมในไทย มีกี่ประเภท

1.การซื้อขายผ่าน Social Media

การซื้อขายบน Social Media สามารถชำระเงินผ่านฟังก์ชันในโซเชียลมีเดียนั้นได้เลย ไม่ต้องสลับกับการใช้งาน Application ชำระเงินอื่นๆ หรือจะเป็นการซื้อขายผ่านกลุ่มใน Social Media มีวัตถุประสงค์ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันโดยเฉพาะ ไปจนถึงกลุ่มซื้อขายแลกเปลี่ยนเฉพาะด้าน อย่างเช่น กลุ่มซื้อขายสินค้าแม่และเด็ก เป็นต้น 

2.การซื้อขายผ่านการแชท

การทำ Social Commerce คือการทำธุรกิจบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์การขายหนึ่งที่นิยม ก็คือการซื้อขายผ่านทาง Chat Commerce เป็นการซื้อขายผ่านแชท ลักษณะคือเป็นการค้าขายผ่านการสนทนาโดยตรงกับผู้ขายบนเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นโซเชียลมีเดียต่างๆ วัตถุประสงค์หลักไม่ใช่การค้าจะเป็นการแบ่งปันความรู้ รูปภาพ วีดีโอ ซึ่งเน้นการสนทนาหรือการแชทโดยเฉพาะ ผู้ขายอาจใช้เครื่องทุ่นแรงอย่างเช่น แชทบอทเข้ามาช่วย การซื้อขายผ่านแชทบางครั้งจะมีการเชื่อมโยงกับช่องทางอื่นๆ ด้วย ผู้ซื้ออาจสนใจสินค้าจากช่องทางหนึ่งแต่ท้ายที่สุดแล้วสามารถปิดการขายได้ด้วยการแชท

คลิกอ่านเพิ่มเติม: CHATBOT คืออะไร? มีความสำคัญยังไง ช่วยในการขายของออนไลน์ได้อย่างไร มาดู!

การซื้อขายผ่านการแชท

3.การซื้อขายผ่าน Marketplace

ช่องทางต่อมาในการทำ Social Commerce คือการซื้อขายผ่านทาง Marketplace ลักษณะเป็นแอพพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถลงทะเบียนโพสต์ขายสินค้าของตนเอง อาทิเช่น Etsy ถือว่าเป็น E-Marketplace มีลักษณะเป็นชุมชนออนไลน์ สำหรับขายสินค้า งานฝีมือ หรือจะเป็น Pinterest  เป็น Social Media ที่เน้นการแบ่งปันรูปภาพและหาซื้อสินค้าที่มีลักษณะคล้ายกันกับรูปภาพที่เราสนใจนอกจากนั้นฟังก์ชัน Marketplace Facebook ก็ยังถูกจัดให้เป็น Social E-Commerce ในขณะที่ Pantip Market ก็จัดว่าเป็นแพลตฟอร์มการซื้อขายที่พัฒนาต่อยอดมาจากเว็บไซต์ pantip.com

4.การซื้อขายแบบ Social Commerce ผ่านไลฟ์สด

การทำ Social Commerce ผ่านไลฟ์สดหรือที่เรียกว่า Live Commerce เป็นการซื้อขายผ่านไลฟ์สด โดยผู้ซื้อจะสามารถเลือกชมและสามารถซื้อสินค้าได้เฉพาะที่มีการไลฟ์สดเท่านั้น ราคาของสินค้ามักถูกกว่าการซื้อสินค้าหน้าเพจทั่วไป อาจมีโปรโมชั่นอื่นๆ เสริมเข้ามาด้วย ซึ่งผู้ซื้อจะต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็ว เป็นการกระตุ้นให้ผู้บริโภคที่สนใจสินค้า คลิกดูรายละเอียดหรือสั่งซื้อทันทีทันใดมีโอกาสปิดการขายได้สูงขึ้น

บทความอื่นที่น่าสนใจ:

Social Commerce กับ E-Commerce แตกต่างกันอย่างไร

แม้ว่า Social Commerce กับ E-Commerce หากมองในภาพรวม ก็อาจจะมองว่าเป็นการซื้อขายบนออนไลน์เหมือนกัน แต่จริงๆ แล้วจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันอยู่ โดย Social Commerce คือการที่เรามีร้านค้าบน Social Media ต่างๆ เน้นการพูดคุยระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายสามารถชำระเงินได้โดยทันที ส่วน E-Commerce จะเป็นการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านทางเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง รวมถึงมีบริการติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย จากทั่วทุกมุมโลก สามารถเข้าถึงร้านค้าได้อย่างง่ายดายตลอด 24 ชม. การเปิดร้านค้าบนเว็บไซต์หมายถึงการสร้างเว็บที่สามารถซื้อขายได้เรียกว่า E-Commerce นั่นเอง

Social Commerce กับ E-Commerce แตกต่างกันอย่างไร

ถ้าคุณเป็นมือใหม่ แนะนำให้คุณเปิดร้านบนโซเชียลมีเดียหรือทำ Social Commerce เพราะไม่มีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาเหมือนเว็บไซต์สามารถทำได้ด้วยตนเอง แต่ถ้าหากต้องการขยายธุรกิจ การเปิดร้านค้าบนเว็บไซต์ E-Commerce  ช่วยยกระดับธุรกิจขึ้นไปได้อีก หรือถ้าคุณชอบพูดคุยกับลูกค้า คุณอาจเหมาะสำหรับการทำ Social Commerce ที่เน้นการโต้ตอบลูกค้ามากกว่า ถ้าชอบระบบอัตโนมัติ แนะนำให้คุณเปิดร้านบนเว็บไซต์ E-Commerce  จะเหมาะสมกว่า ซึ่งการเปิดร้านค้าออนไลน์ทั้ง 2 แบบมีลักษณะเด่นแตกต่างกันออกไป การตัดสินใจว่าเลือกทางไหนนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมนั่นเอง

การซื้อขายสินค้าผ่าน Social Commerce มีข้อดีอะไรบ้าง

1.สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้ง่าย

การซื้อขายการผ่าน Social Commerce คือหนึ่งในกลยุทธ์ที่ช่วยกระตุ้นความสนใจของลูกค้าได้ดี สามารถช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ได้มากกว่าการซื้อขายผ่านเว็บไซต์ทั่วไป 

2.ช่วยให้ปิดการขายได้เร็ว

Social Commerce คือวิธีขายที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าได้ ทำให้ลูกค้าสามารถซื้อของได้ด้วยการคลิกเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น จึงปิดการขายได้เร็ว

3.สามารถเข้าถึงลูกค้าจำนวนมากได้

เนื่องจากการทำธุรกิจบน Social Commerce คือการซื้อขายผ่านสื่อ Social Media ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก จึงทำให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ได้เพิ่มขึ้น โดยมีผลงานวิจัยบอกว่า 80% ของผู้ซื้อจะค้นหาสินค้าผ่านช่องทาง Social Media ทำให้มีโอกาสปิดการขายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

4.พบเห็นปัญหาและรับ Feedback ได้เร็ว

การขายสินค้าโดยใช้ Social Commerce จะช่วยให้ร้านค้าสามารถเห็นปัญหา และรับฟัง Feedback ของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว เมื่อลูกค้าวิจารณ์สินค้า คุณสามารถนำไปปรับปรุงสินค้าหรือบริการได้ 

5.เจาะกลุ่มเป้าหมายในการทำการตลาดได้

Social Commerce ช่วยให้ร้านค้าสามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายหลักได้แม่นยำมากขึ้น และยังสามารถทำการโฆษณา หรือทำ Remarketing ได้ตรงกลุ่มเป้าหมายอีกด้วย

ตัวอย่างแพลตฟอร์มที่รองรับการทำ Social Commerce

1.Facebook

social commerce facebook

Facebook เป็น Social Commerce Platform ที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของโลกมีผู้ใช้งานทั่วโลกมากกว่า 3 พันล้านคน ในแง่มุมของการทำธุรกิจถือเป็นแพลตฟอร์มเครื่องมือชั้นดีในการสื่อสารและการทำโฆษณาผ่านระบบเพจ เปิดโอกาสให้แบรนด์สามารถยกหน้าร้านที่มีมาวางไว้บนโลกออนไลน์เพื่อขายและโปรโมทสินค้าทำได้ง่ายเพียงไม่กี่คลิก Facebook ได้มีการพัฒนาระบบการทำงานที่เอื้ออำนวยให้กิจกรรมการซื้อหรือการขายเกิดความราบรื่น 

คลิกอ่านเพิ่มเติม: ลงโฆษณา Facebook มีวิธีการซื้อโฆษณาในเฟสบุ๊คอย่างไรบ้าง ทำแล้วดียังไง

2.Instagram

social commerce instagram

Instagram เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมิเดียที่เน้นการแชร์รูปภาพหรือวีดีโอสั้นๆ มีผู้ใช้งานสูงถึง 1 พันล้านคนต่อเดือน การทำการตลาดออนไลน์หรือทำธุรกิจผ่าน Instagram ไม่ใช่เรื่องไกลตัว เรามักจะเห็นว่าปัจจุบันแบรนด์หรือร้านค้าออนไลน์น้อยใหญ่ได้ย้ายมาเปิดร้านขายของในไอจีกันแล้ว อินสตาแกรมยังเป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงไปได้หลายช่องทาง สามารถเชื่อมหรือวางลิงค์ต่อไปยังเว็บไซต์อื่นๆ หรือเชื่อมต่อไปยังหน้าซื้อขายสินค้าและบริการได้ 

3.Line

social commerce line

LINE ก็ถือเป็น Social Media ที่คนไทยรู้จักกันดีเป็นแอพพลิเคชั่นเพื่อการสื่อสาร สำหรับการทำธุรกิจออนไลน์ก็ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการทำ Social Commerce ที่มาแรงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยมีฟีเจอร์เด็ดอย่าง Line Broadcast ที่เป็นการสื่อสารที่ช่วยให้ลูกค้าติดตามสามารถรับรู้ข่าวสารหรือโปรโมชั่นต่างๆ ของแบรนด์ได้ตลอดเวลา แบรนด์สามารถสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างง่ายดาย ช่วยให้ปิดการขายได้รวดเร็ว  

4.TikTok

social commerce tiktok

TikTok ได้ให้ความสำคัญของการทำการตลาดบนโลกออนไลน์ จึงมีการพัฒนาฟีเจอร์ Social Commerce ขึ้นมาเพื่อเอื้อประโยชน์และสนับสนุนพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ทำให้การซื้อขายเป็นเรื่องง่ายขึ้น โดยผู้ใช้งานสามารถเพิ่มลิงค์เข้าไปในวีดีโอที่คุณอัปโหลดได้โดยตรง รูปแบบของลิงที่ปรากฏบนวีดีโอจะเป็นตะกร้าสีเหลือง เมื่อคลิกปุ่มนั้นก็ไปมันจะนำพาลูกค้าไปยังหน้าเว็บไซต์สำหรับการช้อปปิ้งทันที และล่าสุดก็ได้มีการเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ที่เรียกว่า TikTok Shop สำหรับการซื้อ-ขายสินค้าบนแพลตฟอร์ม TikTok โดยเฉพาะ

คลิกอ่านเพิ่มเติม: TikTok Shop คืออะไร? ดีอย่างไร อยากสมัครขายสินค้าต้องทำยังไงบ้าง

5.Twitter

social commerce twitter

การขายของใน Twitter เองก็มีความน่าสนใจไม่น้อย เพราะมีฟีเจอร์ใหม่ที่รองรับระบบการซื้อขายบนแพลตฟอร์ม นั่นคือฟีเจอร์ Shop Module ลูกค้าสามารถค้นพบสินค้า เลือกซื้อสินค้าจบภายในหน้าเดิม โดยไม่ต้องออกจากแอพพลิเคชั่นหรือไหลออกไปซื้อสินค้าผ่านช่องทางอื่นๆ Shop Module จะปรากฏอยู่ในแถบด้านล่างของ Business Profile ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปเลือกซื้อสินค้าได้แบบสะดวกสบายสามารถดูรายละเอียดสินค้า เลือกซื้อสินค้าใส่ในตะกร้าหรือจ่ายเงินจนครบวงจร โดยไม่ต้องออกจากแอพพลิเคชั่น

5 เทคนิคในการทำ Social Commerce ให้ประสบความสำเร็จ

1.พยายามทำให้ลูกค้ามีส่วนร่วม 

อย่างที่รู้กันว่า Social Commerce คือการซื้อขายผ่านโซเชียลมีเดีย ดังนั้นการทำให้ลูกค้ารู้สึกว่ามีส่วนร่วมจึงมีความสำคัญมากๆ โดยสามารถทำได้ด้วยการสร้างคอนเทนต์ผ่าน Social Media ของคุณ และเน้นสร้างคอนเทนต์ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้เป็นส่วนหนึ่งกับแบรนด์และอยากมีส่วนร่วม เช่น กดไลค์ กดแชร์ หรือ Comment เพื่อให้ลูกค้าเกิดความสนใจและเกิดปฏิสัมพันธ์กับร้านค้า

2.สร้างประสบการณ์ที่ง่ายในการซื้อ 

เมื่อลูกค้าเลื่อนผ่านฟีดใน Social Media และพบสินค้าที่พวกเขาต้องการซื้อทันที สิ่งที่ต้องทำก็คือการลดขั้นตอนต่างๆ ให้สั้นมากที่สุดเพื่อให้ไร้รอยต่อและง่ายต่อการซื้อ เพราะการช้อปปิ้งออนไลน์อย่าง Social Commerce คือช่องทางที่ความสะดวกสบายถือเป็นหัวใจสำคัญ ยิ่งมีขั้นตอนน้อยที่สุดยิ่งดี 

3.ทำเนื้อหาให้มีความเฉพาะเจาะจง 

การทำให้เนื้อหามีความเฉพาะเจาะจงหรือ Personalized  มีความสำคัญอย่างมากในการทำ Social Commerce เพื่อนำเสนอสิ่งที่ตรงความต้องการของลูกค้าจะทำให้เกิดความเข้าใจผู้ซื้ออย่างลึกซึ้ง ซึ่งเรื่องนี้จำเป็นต้องใช้ Data เข้ามาวิเคราะห์ประกอบด้วย 

4.เข้าถึงผู้ซื้อในแพลตฟอร์มต่างๆ 

ในปัจจุบันมี Social Media เกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ สำคัญที่สุดในการทำ Social Commerce คือเราต้องตามโลกหรือตามกระแสให้ทัน เราจะต้องไปอยู่ในจุดที่ผู้ซื้อของเราอยู่ ดังนั้นเราจะต้องไม่หยุดอัพเดตหรือเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในยุคที่พฤติกรรมของผู้ซื้อเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และอีกเทคนิคหนึ่งที่หลายร้านค้ามองข้าม ก็คือ การเลือกช่วงเวลาโพสต์ขายของที่เหมาะสม ซึ่งหากโพสต์ในช่วงเวลาที่กลุ่มลูกค้าของร้านเข้ามาใช้งานมาก ก็จะช่วยเพิ่มการมองเห็นและเข้าถึงลูกค้าได้เพิ่มมากขึ้น

5.อย่าหยุดพัฒนา 

สิ่งสำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งในการทำ Social Commerce คือคุณจะต้องไม่หยุดพัฒนา ต้องเรียนรู้พฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา มองหาเทคนิคใหม่ๆ ในการขาย หรือกลยุทธ์การทำการตลาดและเสนอสินค้าให้มีความน่าสนใจ

ปัจจุบัน Social Commerce คือ หนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญในการขายและทำการตลาด ที่ธุรกิจไม่ควรมองข้าม เนื่องจากเป็นรูปแบบการขายที่ง่าย สามารถซื้อขายกันได้ผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่คนส่วนใหญ่ใช้งานกันอยู่ ซึ่งหลายร้านค้าที่ขายสินค้าผ่าน Social Media ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ได้ขายอยู่ในแค่แพลตฟอร์มเดียว แต่จะมีการเปิดร้านในหลากหลายแพลตฟอร์ม เพื่อขยายฐานลูกค้าและเจาะกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน

ทำให้ร้านค้าที่ทำทุกอย่างเองและมัวแต่ขายสินค้า จนลืมไปดูแลงานหลังบ้านอย่างการเช็คสต๊อก การแพ็คของและส่งของ ก็อาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ ดังนั้นหากไม่อยากให้เกิดปัญหาปวดหัวขึ้นภายหลัง การเลือกใช้บริการคลังสินค้าออนไลน์ Fulfillment ดูจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะ Fulfillment ของ Packhai ที่ให้บริการตั้งแต่การ เก็บ แพ็ค ส่ง ให้กับร้านค้าอย่างครบวงจร – อยากรู้ว่า Fufillment BY Packhai ดียังไง? -> คลิกที่นี่

บริการ Fulfillment Packhai

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *