PDPA คืออะไร? เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำธุรกิจ ทำไมต้องมี พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

PDPA คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำธุรกิจ

PDPA คืออะไร?

PDPA คือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดย PDPA ย่อมาจากคำว่า Personal Data Protection Act  เริ่มบังคับใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เดือนมิถุนายน ปี 2564 กฎหมายนี้สร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะข้อมูลลูกค้าที่ธุรกิจจัดเก็บจากประวัติการสั่งซื้อ เนื่องจากปัจจุบันพบว่ามีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น การซื้อขายข้อมูลส่วนตัว การซื้อขายข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น ซึ่งเจ้าของไม่ได้มีการยินยอมแต่อย่างใดส่วนมากจะพบเห็นในลักษณะของการโทรมาโฆษณาหรือการล่อลวงต่างๆ พระราชบัญญัตินี้จะคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของทุกๆ คน เป็นการให้สิทธิกับเจ้าของข้อมูลส่วนตัวนั่นเอง 

ความสำคัญของ PDPA

คงไม่มีใครต้องการให้ข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองนั้นถูกเผยแพร่ออกไปโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต  ซึ่ง PDPA พ.ร.บ นี้จะช่วยสร้างความปลอดภัยและเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับทุกๆ คน กฎหมายฉบับนี้ทำให้ทุกคนได้รับประโยชน์สูงสุด  โดยเฉพาะผู้บริโภคด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ อย่างเช่น ประวัติการทำงาน การศึกษา สถานะทางการเงิน ประวัติสุขภาพ เลขบัตรประชาชน การพิมพ์ลายนิ้วมือ การบันทึกเสียง ไปจนถึงข้อมูลการใช้งานบนเว็บไซต์ต่างๆ หากข้อมูลส่วนบุคคลถูกเผยแพร่ออกไปโดยไม่ได้รับอนุญาต อาจตามมาซึ่งปัญหามากมายและส่งผลในด้านความปลอดภัยของบุคคลนั้นๆ  

กฎหมาย PDPA มีผลกระทบอย่างไรต่อธุรกิจ

แม้กฎหมาย PDPA จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ คนแต่มันกลับส่งผลกระทบทางธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนทำธุรกิจออนไลน์ หรือธุรกิจ E-Commerce ปัจจุบันการทำธุรกิจออนไลน์จะเน้นการโฆษณา และทำคอนเทนต์ขายของผ่านแพลตฟอร์มขายของออนไลน์ โดยอาศัยเทคโนโลยีหรือซอฟต์แวร์ทันสมัยมาช่วยดักฟังคำสนทนาของผู้บริโภคแล้วยิง Ads ให้ตรงความสนใจของผู้บริโภคแต่ละคน 

สิ่งเหล่านี้เป็นเหมือนเส้นบางๆ ที่เข้ามาขีดคั่นการรุกล้ำข้อมูลสิทธิส่วนบุคคลจึงต้องมีกฎเกณฑ์เข้ามาควบคุม นอกจากนั้น PDPA ยังมีผลกระทบต่อบริษัทต่างๆ ที่ไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องและครบถ้วน เช่น ไม่มีการจัดทำ Privacy Policy  หรือยังไม่แต่งตั้ง DPO  เป็นต้น อาจนำไปสู่การถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

ธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อรับมือ PDPA อย่างไร

ธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อรับมือ PDPA อย่างไร

ธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องศึกษา รวมถึงทำความเข้าใจจะนำไปสู่การรับมือกับ PDPA ได้ ช่วยป้องกันไม่เกิดผลกระทบหรือเกิดปัญหาต่างๆ ตามมาภายหลัง ธุรกิจควรต้องปรับตัวอย่างไร เพื่อรับมือหลักๆ แล้วมีดังนี้

1.ทำ Privacy Policy 

ธุรกิจจำเป็นต้องขออนุญาตผู้บริโภคเพื่อให้ได้ข้อมูลจากผู้บริโภคมาอย่างถูกต้อง การขออนุญาตเข้าถึงข้อมูลออนไลน์จำเป็นต้องสร้างหน้า  Privacy Policy  เพื่อใช้อธิบายสร้างความเข้าใจใน เรื่องของมาตรการปกป้องข้อมูลความเป็นส่วนตัว อย่างเช่น ชี้แจงว่าต้องการเก็บข้อมูลส่วนใดบ้าง วัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลคืออะไร ใช้วิธีใดในการเก็บรักษาข้อมูล เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้บริโภครู้สึกสบายใจและปลอดภัยมากขึ้น โดยต้องมีการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นความลับ ป้องกันไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลออกไป เพื่อให้ถูกต้องตามข้อบังคับของ PDPA 

2.สร้างความรู้ความเข้าใจ 

ทีมดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งแผนกนี้ได้รับผลกระทบจาก PDPA มากที่สุด อย่างไรก็ตาม กฎหมายฉบับนี้เราต้องทำความเข้าใจทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคหรือคนทำธุรกิจเองก็ตาม สำหรับธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการทำการตลาดออนไลน์ หากธุรกิจสามารถทำให้ลูกค้ารับรู้และสามารถตระหนักถึงกฎหมาย PDPA ได้ ก็จะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า และสร้าง Brand Loyalty ได้อย่างดี

3.หาระบบเก็บข้อมูลที่มีมาตรฐาน

หากธุรกิจมีข้อมูลของลูกค้าแต่ไม่มีระบบจัดเก็บข้อมูลที่ดี ได้มาตรฐานและปลอดภัย เสี่ยงที่ข้อมูลจะรั่วไหลออกไปได้ จนเกิดการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ดังนั้น ควรหาซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและปลอดภัย เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลรั่วไหล หรืออาจสอบถามผู้ให้บริการซอฟต์แวร์จัดเก็บข้อมูลเรื่องการรองรับ PDPA

ซึ่งปัจจุบันระบบเก็บข้อมูลลูกค้า มักจะเชื่อมต่อและเป็นส่วนหนึ่งของระบบจัดการออเดอร์ หรือระบบ OMS (Order Management System) ที่จะช่วยรวบรวม จัดการ และจัดเก็บข้อมูลลูกค้าจากทุกช่องทางขายได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และลดข้อผิดพลาดต่างๆ อย่างการจดข้อมูลผิดหรือออเดอร์ตกหล่นได้ และยิ่งหากสามารถเชื่อมข้อมูลเข้ากับระบบจัดการคลังสินค้า หรือระบบ WMS (Warehouse Management System) ได้ ก็จะยิ่งให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

คลิกอ่านเพิ่มเติม : ระบบจัดการออเดอร์และคลังสินค้าในที่เดียว หรือระบบ OMS+WMS By Packhai

4.ชี้แจงให้ละเอียด

ส่วนมากการทำเว็บไซต์จะเน้นการใช้งานที่เข้าใจง่าย ทำให้ผู้ใช้รู้สึกไม่ยุ่งยาก กรณีที่มีกฎหมาย PDPA เข้ามาเกี่ยวข้อง จำเป็นต้องชี้แจงรายละเอียดและเน้นย้ำให้ผู้ใช้งานทราบต้อง  Bullet  แต่ละข้อให้ละเอียดและชัดเจนว่าเราต้องการขออนุญาตข้อมูลส่วนใดบ้างสามารถให้ผู้ใช้ปฏิเสธในบางข้อมูลได้ แม้การวางระบบจะยุ่งยากแต่เป็นการทำให้ถูกหลักตามข้อบังคับของ PDPA เพราะถ้าไม่ปฏิบัติตามอาจมีบทลงโทษตาม พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บทลงโทษอาจมีทั้งโทษทางแพ่ง โทษทางอาญาและโทษทางปกครอง

คลิกอ่านเพิ่มเติม: ​​ระบบสะสมแต้ม บัตรสะสมแต้มออนไลน์ ดียังไง ทำไมถึงช่วยเพิ่มลูกค้าประจำได้

ข้อมูลอะไรที่กฎหมาย PDPA จะคุ้มครอง

ข้อมูลอะไรที่กฎหมาย PDPA จะคุ้มครอง

ข้อมูลอะไรบ้างที่กฎหมาย PDPA จะคุ้มครอง แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ

1.ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน

PDPA คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป หากข้อมูลใดที่ไม่สามารถระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลได้ ไม่ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ PDPA สำหรับข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปที่ระบุตัวตนได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น 

  • ชื่อและนามสกุล
  • อีเมลส่วนตัว เบอร์โทรศัพท์มือถือ
  • ที่อยู่ปัจจุบัน เลขบัตรประชาชน เลขใบอนุญาตขับขี่เลขหนังสือเดินทาง
  • ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลทางการแพทย์ ข้อมูลทางการศึกษา
  • โฉนดที่ดิน ทะเบียนบ้าน ทะเบียนรถยนต์
  • ข้อมูลวันเดือนปีเกิด น้ำหนักส่วนสูง ข้อมูลสัญชาติ
  • รวมถึงข้อมูลอื่นๆ บนอินเทอร์เน็ต อาทิเช่น Username Password เป็นต้น 

2.ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน

นอกจากข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป ยังมีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อนด้วยตรงนี้สำคัญมากๆ  เนื่องจากข้อมูลละเอียดอ่อนนั้นย่อมส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลโดยตรง ทั้งในแง่ของการใช้ชีวิต การทำงาน ความเป็นอยู่ต่างๆ รวมถึงการเข้าสังคม  อาจนำไปสู่ปัญหาของการเลือกปฏิบัติได้ ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว อย่างเช่น 

  • ข้อมูลเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ 
  • การแสดงความคิดเห็นทางการเมือง 
  • ประวัติอาชญากรรม 
  • พฤติกรรมทางเพศ 
  • ข้อมูลพันธุกรรม 
  • ความเชื่อเรื่องศาสนา 
  • ข้อมูลในด้านสุขภาพ เช่น ความพิการ โรคประจำตัว การฉีดวัคซีน ใบรับรองแพทย์ เป็นต้น 
  • ข้อมูลชีวภาพ เช่น แบบจำลองของใบหน้า ข้อมูลม่านตา ลายนิ้วมือ เป็นต้น
PDPA เกี่ยวข้องกับบุคคลใดบ้าง

PDPA เกี่ยวข้องกับบุคคลใดบ้าง

1.เจ้าของข้อมูล

PDPA คือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเจ้าของข้อมูลโดยตรง ข้อมูลต่างๆ ส่วนบุคคลที่ชี้มายังตัวตนของบุคคลนั้นๆ ก็คือตัวของเรานั่นเอง เจ้าของข้อมูลจะได้รับการปกป้อง คุ้มครองและมีสิทธิ์ต่างๆ เหนือข้อมูลส่วนบุคคลของตน

2.ผู้ควบคุมข้อมูล

Data Controller หรือผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล อาจเป็นบุคคลธรรมดา บริษัทหรือองค์การต่างๆ โดยมีสิทธิ์ในการตัดสินใจว่าจะประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอะไรบ้าง มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร ต้องดำเนินการภายใต้กฎหมาย PDPA ผู้ควบคุมข้อมูลเป็นบุคคลที่ต้องรับผิดชอบและปฏิบัติตาม PDPA ให้ครบถ้วน 

3.ผู้ประมวลผลข้อมูล

Data Processor หรือผู้ที่ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล อาจเป็นบุคคล บริษัทหรือองค์กรต่างๆ ที่มีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยดำเนินการภายใต้คำสั่งหรือดำเนินการในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ได้เป็นบุคคลที่ตัดสินใจประมวลผลข้อมูลด้วยตนเอง

บทลงโทษหากฝ่าฝืนพ.ร.บ. PDPA

หากไม่มีการปฏิบัติตามพ.ร.บ. PDPA จะมีบทลงโทษตามพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีบทลงโทษ 3 ประเภท ได้แก่ โทษทางแพ่ง โทษทางอาญาและโทษทางปกครอง บทลงโทษ PDPA  มีโทษสูงสุดโดยจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือมีค่าปรับรวมกันมากกว่าจำนวนเงิน 5 ล้านบาท 

จะเห็นได้ว่า PDPA คือ สิ่งที่มีความเกี่ยวข้องต่อการทำธุรกิจอย่างมากเลย พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้นมีประโยชน์ต่อทั้งธุรกิจและลูกค้า ซึ่งธุรกิจในยุคนี้จะต้องปรับตัวและมีนโยบายด้านความปลอดภัย และความโปร่งใสของการจัดเก็บข้อมูลของลูกค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า แถมยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจอีกด้วย นอกจากนี้ธุรกิจก็ยังสามารถนำข้อมูลต่างๆ ของลูกค้าไปใช้วิเคราะห์ เพื่อพัฒนาปรับปรุงธุรกิจให้เติบโตการที่

ธุรกิจจะสามารถเติบโตและมีกำไรได้ นอกจากการพัฒนาหรือปรับปรุงสินค้าจากข้อมูลของลูกค้าแล้ว การมีพื้นที่จัดเก็บสินค้าอย่างเพียงพอ การแพ็คและจัดส่งสินค้าอย่างรวดเร็ว ก็ถือเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งสำหรับธุรกิจที่ไม่อยากลงทุนสร้างคลังจัดเก็บสินค้าของตัวเอง การมองหาบริการเช่าคลังสินค้าออนไลน์ระบบ Fulfillment ที่ให้บริการรับฝาก เก็บ แพ็ค ส่ง อย่างครบวงจร ก็ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจและตอบโจทย์ของธุรกิจได้เป็นอย่างดี – อยากรู้ว่า Fufillment BY Packhai ดียังไง? : คลิกที่นี่

Packhai ตอบโจทย์ขายของออนไลน์

Fulfillment ตัวช่วยคนขายของออนไลน์ ที่ช่วยลดต้นทุนการขายสินค้า ลดเวลาการทำงาน มีเวลาโฟกัสยอดขายได้มากขึ้น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *