7 ต้นเหตุของการขายดีจนเจ๊ง กับดักที่คนทำธุรกิจไม่ควรมองข้าม! พร้อมวิธีรับมือไม่ให้ขายของแล้วเจ๊ง

ต้นเหตุของการขายดีจนเจ๊ง

ขายดีจนเจ๊ง

ปัญหาการขายดีจนเจ๊ง เป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้กับธุรกิจ เนื่องจากการทำธุรกิจไม่ว่าจะธุรกิจออฟไลน์หรือธุรกิจออนไลน์ก็ตาม เป้าหมายของการทำธุรกิจ ก็คืออยากให้สินค้าหรือบริการของตัวเองขายดี จนบางคนอาจมุ่งแต่จะขายเพียงอย่างเดียว ไม่ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ไม่วางแผนเรื่องการใช้จ่าย ไม่จัดสรรต้นทุนให้ดี ซึ่งแม้ว่าจะขายดีแต่พอมาทบทวนดูกำไรที่เกิดขึ้นจริงกลับไม่ดีอย่างที่คิด ส่งผลให้หลายธุรกิจขาดทุนหรือขาดสภาพคล่องได้

การขายดีจนเจ๊ง มีลักษณะเป็นอย่างไร

การที่ธุรกิจขายดีแต่กลับเจ๊ง ส่วนใหญ่แล้วจะมีลักษณะเป็นการทำธุรกิจแล้วมียอดขายดี ยอดขายเยอะหรือออเดอร์เยอะมากๆ แต่ปรากฏว่าได้กำไรน้อยหรือแทบไม่มีกำไรเลย ขายของได้เยอะแต่กลับเจ๊งบางคนต้องปิดกิจการ มีหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบ บางคนไม่มีทางออกคิดสั้นจบชีวิตตัวเองเหมือนในข่าว ถ้าไม่อยากขายของแล้วเจ๊ง ธุรกิจก็ควรที่จะรีบหาสาเหตุและแนวทางในการแก้ไขปัญหา

ขายดีจนเจ๊ง เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

1.ไม่แยกเงินกิจการกับเงินส่วนตัว 

สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ขายดีจนเจ๊งคือการที่คุณไม่แยกเงินกิจการกับเงินส่วนตัว เอาเงินกิจการไปใช้จ่ายส่วนตัวคิดว่าไม่เป็นไรหรอก กิจการกำลังไปได้สวยรายรับเยอะมากๆ หยิบเงินมาใช้ก่อนสักก้อนสองก้อนจะเป็นอะไร หารู้ไม่ว่าการชักเงินกิจการไปเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวนั้น อาจทำให้เกิดต้นทุนที่มองไม่เห็นได้  

2.ไม่ทำรายรับรายจ่าย 

การไม่ทำบัญชีรายรับรายจ่ายคือหนึ่งในสาเหตุที่ขายดีจนเจ๊ง ส่วนใหญ่เกิดกับธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจแบบครอบครัว รวมถึงธุรกิจที่ไม่มีระบบหลังบ้านดีๆ ไม่ได้ทำรายรับรายจ่ายแบบจริงจัง รู้แค่ว่าซื้อมาถูก ขายได้แพงกว่าแค่นี้ก็พอแล้ว จุดนี้เองที่อาจกลายเป็นประเด็นทำให้เกิดรอยรั่ว สร้างผลกระทบมากกว่าที่คิด 

ไม่ทำรายรับรายจ่าย

3.สงครามราคา 

คุณอาจขายดีเจ๊งได้หากเข้าไปทำสงครามราคากับคู่แข่ง บางคนตัดราคาคู่แข่งแล้วคิดว่าจะมาทำกำไรตอนหลัง ต้องระวังให้ดี ถ้าเลือกลด เลือกแจกไม่ตรงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย หรือลดเยอะเกินไป ลูกค้าที่เคยซื้อไปอาจไม่กลับมาซื้อใหม่หากหมดโปร บางครั้งในสมรภูมิลดราคาอาจเป็นเหมือนการฆ่าตัวเองตายก็เป็นได้ 

4.ขาดกระแสเงินสดในการขยายธุรกิจ 

เมื่อธุรกิจของคุณมีทีท่าว่ากำลังไปได้สวย หลายคนคิดอยากขยายกิจการ ขยายสาขาเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า แต่ปัญหาอาจเกิดขึ้นได้แน่นอนเพราะการขยายกิจการต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากและถ้าคุณวางแผนไม่ดี ขาดกระแสเงินสดไม่มีเงินมาหมุนแทนที่จะขยายกิจการกลับกลายเป็นว่าต้องปิดกิจการแทน 

5.มีการจัดการสต๊อกสินค้าได้ไม่ดีพอ

หากคุณไม่สามารถบริหารจัดการสินค้าในสต๊อกให้มีประสิทธิภาพได้ อาจเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น สินค้าขายดีหมดสต๊อกเพราะอัปเดตสต๊อกไม่ตรง ในขณะที่สินค้าขายไม่ออกมีเยอะเกินความจำเป็น ต้องมาค้างในสต๊อกนาน บางคนโฟกัสแต่สินค้าขายดี แต่ไม่มีวิธีการระบายสินค้าที่ขายไม่ออกเลย อาจมีต้นทุนจุมหรือค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้ เช่น การสต๊อกสินค้ามากเกินไป ทำให้เกิดต้นทุนจม ฯลฯ 

คลิกอ่านเพิ่มเติม : ต้นทุนจม ( SUNK COST ) คืออะไร เกิดจากอะไร ขายของอย่างไรดีไม่ให้ต้นทุนจม มีมาฝาก! 

ลืมบวกต้นทุนแฝง

6.ลืมบวกต้นทุนแฝง 

การไม่คำนวณต้นทุนและกำหนดราคาให้ดี อาจทำให้คุณขาดทุนโดยไม่รู้ตัว เป็นสาเหตุที่ทำให้ขายดีจนเจ๊ง คุณต้องคำนวณต้นทุนให้ดีตั้งแต่แรกก่อนตั้งราคา ซึ่งการคำนวณต้นทุนจริงๆ นั้น ไม่ได้คิดแค่ราคาสินค้าต่อจำนวนสินค้าแต่จำเป็นต้องมีการบวกต้นทุนแฝงเข้าไปด้วย 

7.จัดสัดส่วนเงินไม่ชัดเจน 

การไม่จัดสัดส่วนเงินที่ชัดเจน อาจตามมาซึ่งปัญหาขายดีจนเจ๊งได้ นอกจากต้องแยกบัญชีร้านค้ากับบัญชีส่วนตัวออกจากกันแล้ว การจัดสัดส่วนเงินของร้านค้าให้ชัดเจนก็เป็นสิ่งสำคัญ เช่น ค่าไฟ ค่าน้ำ ซื้อโฆษณา ค่าจ้างพนักงาน ฯลฯ การจัดสัดส่วนเงินให้ขาดออกจากกันมีข้อดีคือทำให้วางแผนการเงินได้ง่ายขึ้น 

คลิกอ่านเพิ่มเติม : 15 วิธีเพิ่มยอดขาย วิธีกระตุ้นยอดขายให้ปัง 

หากไม่อยากขายดีจนเจ๊ง ธุรกิจต้องปรับตัวอย่างไร

1.สร้างมูลค่าให้แบรนด์ 

แทนที่คุณจะมัวแต่แข่งขันเรื่องราคา ควรหันมาสร้างมูลค่าให้กับแบรนด์แทนจะดีกว่า ถ้าสินค้าของคุณราคาแพงกว่าคู่แข่งเล็กน้อยแต่สินค้ามีจุดขาย คุณภาพดีกว่าหรือมีบริการที่ดีกว่า คุณไม่ต้องกังวงเลยเพราะถึงอย่างไร สินค้าของคุณก็ยังขายได้เพราะลูกค้ามองว่าสินค้าของคุณมีความคุ้มค่ามากกว่า 

2.บริการจัดการรายรับ-รายจ่ายให้ดี 

อย่าคิดว่าธุรกิจของคุณเล็กๆ ไม่ได้ใหญ่โตอะไร ไม่จำเป็นต้องทำอะไรให้ยุ่งยาก แต่นั่นอาจเป็นกับดักทำให้คุณขายดีจนเจ๊งได้เพราะมองไม่เห็นรายรับ-รายจ่ายที่แท้จริง นอกจากนั้นคุณยังต้องแยกการใช้จ่ายระหว่างเงินกิจการกับเงินส่วนตัวให้ดีอย่าเอามาผสมปนเปกันมั่ว 

3.บริหารจัดการด้วยระบบที่ทันสมัย 

ยุคนี้สมัยนี้มีการพัฒนาระบบต่างๆ ขึ้นมามากมายสำหรับการทำธุรกิจ คุณอาจพึ่งพาระบบเหล่านั้นในการบริหารจัดการ แม้กระทั่งโปรแกรมช่วยทำรายรับ-รายจ่าย ระบบบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ ระบบบริหารจัดการคลังสินค้า ฯลฯ ช่วยให้คุณทำงานง่ายขึ้น ป้องกันข้อผิดพลาดได้ดี 

คลิกอ่านเพิ่มเติม : ระบบจัดการคลังสินค้า WMS คืออะไร ช่วยแก้ปัญหากับคนขายของออนไลน์ได้อย่างไรบ้าง

4.วางแผนเรื่องการเติบโต 

เมื่อธุรกิจของคุณกำลังไปได้สวย ขายดี ยอดขายปัง แต่ยังไม่ถึงขั้นเติบโตมาก คุณต้องวางแผนคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ว่าถ้าวันหนึ่งธุรกิจเติบโตขึ้นต้องทำอย่างไร ถ้าจะขยายกิจการต้องใช้เงินเท่าไหร่ จะได้จัดเตรียมงบในส่วนนี้ให้พร้อม การขยายกิจการย่อมมีต้นทุนสูง มีค่าใช้จ่ายแอบแฝงด้วยแต่ถ้าคุณวางแผนมาอย่างรัดกุมแล้ว คุณไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องใดๆ เลย 

5.ใช้คลังจัดเก็บสินค้า Fulfillment

หลายธุรกิจที่ขายดีแล้วเจ๊ง อาจจะเกิดจากปัญหาการจัดการคลังสต๊อกสินค้าได้ไม่ดี ทำให้เกิดสินค้าค้างสต๊อก ขายไม่ออก ซึ่งหากปล่อยไว้นานก็จะเกิดต้นทุนจมและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้ ตลอดจนมีต้นทุนค่าจ้างพนักงานแพ็คและส่งของที่ต้องแบกรับด้วย แต่หากเลือกใช้บริการคลังสินค้าออนไลน์ Fulfillment ธุรกิจก็จะสามารถจัดการคลังสินค้าได้อย่างเป็นระบบ ไม่ต้องคอยดูแลเอง และลดต้นทุนของธุรกิจได้ดี เนื่องจาก Fulfillment จะให้บริการตั้งแต่การจัดเก็บ แพ็ค และส่งสินค้ารวมไว้ในจุดเดียวกัน มีคนดูแลสินค้าให้ จัดการสต๊อกให้ พร้อมระบบจัดการหลังบ้านที่ทันสมัย – อยากรู้ว่า Fufillment BY Packhai ดียังไง? ->  คลิกที่นี่

บริการ Fulfillment Packhai

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *