Bully Marketing การตลาดแบบใหม่ กัดตัวเองเจ็บน้อย แต่ขายดี

Bully Marketing คืออะไร ?

Bully Marketing

ไซเบอร์บูลลี่ (Cyberbullying) คือ การกลั่นแกล้งกันผ่านโลกออนไลน์ เช่น การโพสต์ข้อความโจมตีอีกฝ่ายหนึ่ง โพสต์ข้อความบนสื่อ Facebook การหลอกลวง การส่งข้อความเพื่อคุกคามทางเพศ การใช้ถ้อยคำหยาบคายเพื่อทำให้อีกฝ่ายรู้สึกเจ็บปวดและรู้สึกอับอาย เป็นต้น กลยุทธ์ Bully marketing เป็นการหยิบยกเอาประโยชน์ของ ไซเบอร์บูลลี่ มาใช้ในการตลาดออนไลน์ จนทำให้เกิดกระแสไวรัลขึ้นบนโลกออนไลน์ หรือมุกตลกในโลกออนไลน์และเกิด Engagement แบบออแกนิค ที่เห็นบ่อยคือการด่าเสียดสีสินค้าของตัวเองหรือการบลูลี่ตัวเอง บลูลี่คนอื่น ลูกค้าแบบติดตลก แต่กลับมีผลตอบรับที่ดีเกินคาด สร้างความตลกและสร้างความฮา จนเกิดกระแสและเกิดการแชร์ บอกกันแบบปากต่อปากรวดเร็วมากๆ ในโลกโซเชียล

บูลลี่มาเก็ตติ้ง ไม่ได้มีแค่ให้ขำ แต่ทำให้จดจำง่าย

กลยุทธ์ Bully marketing ยกตัวอย่างในกรณีของเจ๊น้ำและพิมรี่พาย แม่ค้าออนไลน์ที่โด่งดังและประสบความสำเร็จจากการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ จะสังเกตได้ว่าพฤติกรรมของทั้งสองคนนี้ในการขายสินค้าเป็นลักษณะปากร้ายแต่ใจดี ด่าลูกค้าแบบติดตลก ไม่ทำให้ลูกค้าโกรธจริงๆ แต่รู้สึกขำขันและสนุกสนานไปด้วยแทนเป็นการด่าแบบพี่แบบน้อง ด่าแบบเตือนสติและให้กำลังใจสร้างความเชื่อใจ สิ่งเหล่านี้เป็นการแสดงออกถึงความจริงใจของแม่ค้าออนไลน์ ทำให้ลูกค้าที่โดนด่า ตัดสินใจซื้อเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าธุรกิจจะสามารถด่าลูกค้าอย่างเดียวได้แต่สามารถนำมาประยุกต์ด่าตัวเองได้เช่นกัน

ตัวอย่าง Bully Marketing

อีก 1 เคส ในกรณีของน้ำพริกแคบหมูยายน้อย ที่เป็นการเล่นมุกตลกกับสินค้าตัวเองและบูลลี่สินค้าตัวเอง สร้างความตลกและเปิดโอกาสให้คนบนโลกออนไลน์ได้บูลลี่สินค้ากับตัวเองได้ จนเกิดเป็นกระแสไวรัล อย่างเช่น

– น้ำพริกยายน้อย ดื่มน้ำทั้งมหาสมุทร ก็ยังไม่หยุดติดคอ

– น้ำพริกแกงน้อย อร่อยให้ 6 สกปรกให้ 10

– น้ำพริกยายน้อย อยากกินก็ลองเสี่ยงดู ชีวิตหนึ่งมี 1 ครั้งก็ลองเสี่ยงดู

การด่าสินค้าของตัวเองหรือแบรนด์ของตัวเองจนทำให้ทุกคนรู้สึกขำขันและตลก สร้างรอบยิ้ม สร้างเสียงฮา จนเกิดการแชร์หรือบอกต่อกันไปแบบปากต่อปาก ในท้ายที่สุดแล้วลูกค้าจะเกิดการจดจำสินค้าได้นำมาสู่ยอดขายที่มากมายเกินคาด

อีกหนึ่งตัวอย่าง คือ “เอ็ด 7 วิ” เป็นคลิปไวรัลโดยใช้กลยุทธ์ Bully marketing ที่ไม่เน้นด่าสินค้าแต่จะเป็นเน้นการด่าตัวเองให้ดูฮาแทน บอกถึงความซวย ความตลกของตัวเอง เช่น ขายสินค้าเป็นบริการจองโรงแรมออนไลน์ที่มีรูปหน้าหมี เอ็ด 7 วิ จะขายในลักษณะการเปรียบเทียบโรงแรมประหยัดและโรงแรมแพง โดยเสริมความตลกของตัวเอง ใส่นิสัยในส่วนที่ฮาเข้าไปในตัวสินค้า

– โรงแรมแพงก็แอบขโมยของกลับบ้านนิดหน่อยกลัวไม่คุ้มราคา

– โรงแรมถูกพื้นที่ใช้สอยน้อยแต่ก็อยู่ได้นะ ระวังหัวหน่อยเพราะมันแคบ

เป็นการสร้างความตลกที่เน้นความ Real ที่ผู้คนส่วนใหญ่มักจะพบเจอในชีวิตประจำวัน สร้างความฮาความตลกแบบร้ายนิด ๆแต่ก็ได้เสียงฮาและการจดจำที่ดี

จากทั้งหมดที่เรากล่าวมาดูเหมือนว่า Bully marketing จะเป็นกลยุทธ์ที่มีแต่ข้อดีทั้งนั้น จริงๆ แล้วมันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย เราจึงขอสรุปข้อดีและข้อเสียของกลยุทธ์นี้ให้ทุกคนเข้าใจ

ข้อดีของกลยุทธ์ Bully Marketing

Bully marketing จะทำให้เกิด Engagement แบบออแกนิค ทำให้เกิดการโต้ตอบและเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน โดยไม่ต้องเสียเงินยิงแอดแม้แต่บาทเดียว เราใช้ตัวสินค้ามาเป็นตัวหลักในการสร้างไวรัล มาร์เก็ตติ้ง ไม่ต้องลงทุนอะไรเยอะมากมาย ก็เกิดการแชร์กันไป หรือบอกกันไปแบบปากต่อปากและทำให้ตัวสินค้าเป็นที่รู้จักหรือสร้างการจดจำแบรนด์ที่ดี

ข้อเสียของกลยุทธ์ Bully Marketing

ข้อเสียของกลยุทธ์นี้ ก็คือ อาจไม่เหมาะกับธุรกิจที่เน้นการบริการ อย่างเช่นธุรกิจโรงแรม สถานที่ที่ให้บริการด้านการท่องเที่ยวหรือสินค้าเกี่ยวกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี การใช้กลยุทธ์นี้ บางครั้งอาจไม่เหมาะสมเพราะมีคำพูดหรือคำด่าที่รุนแรง ไม่เหมาะกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีเพราะยังไม่มีวิจารณญาณในการรับชมหรือการเสพสื่อเหล่านี้ กันรับรู้สื่อ อาจจะแยกไม่ออกว่าอันไหนเป็นตลกเชิงบวก อันไหนเป็นดราม่า ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบให้กับตัวสินค้าและบริการของเราได้

ถ้าจะใช้กลยุทธ์ Bully marketing พยายามสร้างจุดที่ไม่ให้มันผิดศีลธรรมและจริยธรรมในการล่อลวงใดๆ เป็นอันขาดเพราะมันจะไม่ก่อให้เกิด Bully marketing ในเชิงบวกที่เกิดผลดีต่อสินค้าแต่จะกลายเป็นผลลบแทน และถ้าจะใช้กลยุทธ์นี้ต้องให้ความสำคัญกับความเหมาะสมและกลุ่มเป้าหมายด้วย

ทั้งหมดนี้ ก็คือ เรื่องราวดีๆ ที่เราเอามาฝากกับกลยุทธ์ Bully marketing กลยุทธ์ที่มีการหยิบยกเอา ไซเบอร์บูลลี่ (Cyberbullying) การกลั่นแกล้ง ล้อเลียน เสียดสีผ่านช่องทางออนไลน์มาใช้ประโยชน์ จนสร้างเสียงฮาตลกขำขันและทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักหรือสร้างการจดจำในตัวสินค้าที่ดีมากขึ้น เป็นกลยุทธ์ที่กัดจิกแบบเจ็บเล็กน้อยแต่กลับมีผลตอบรับที่ดีทำให้สินค้าขายได้มาก มีกำไรเพิ่มขึ้น

บริการ Fulfillment Packhai

กลยุทธ์ Bully marketing จากตัวอย่างที่เราได้กล่าวมาคุณจะเห็นได้ว่าใช้ได้จริงและหลายๆ คนก็ประสบความสำเร็จกันมาแล้ว อย่างไรก็ตาม การใช้กลยุทธ์นี้ก็ต้องมีความระมัดระวังพอสมควรระวังอ าจเป็นดาบสองคมเพราะไม่ได้มีแค่ข้อดีเพียงอย่างเดียว

สำหรับบทความนี้ก็ขอจบลงไว้แต่เพียงเท่านี้ Packhai เองเป็นผู้ให้บริการด้านคลังสินค้าออนไลน์ ผู้ช่วยที่ดีที่สุดสำหรับคนขายของออนไลน์ ไม่เพียงแต่ให้บริการฝากเก็บสินค้า แพ็ค ส่ง ให้เท่านั้น แต่ packhai เองก็ยังเป็นที่ปรึกษาด้านธุรกิจให้ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *