Demand Forecasting คืออะไร ?
Demand Forecasting คือ การคาดการณ์ความต้องการสินค้า หรือบริการของลูกค้าล่วงหน้า โดยจะมีการใช้ข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลปริมาณการขายในอดีต แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของตลาด สภาพเศรษฐกิจ และปัจจัยอื่นๆ เพื่อวิเคราะห์ และทำนายปริมาณการซื้อขายในอนาคต Demand Forecasting จึงถือว่ามีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ทำให้ธุรกิจได้รู้ว่าควรจะสต็อกของหรือมีสินค้าคงคลังในจำนวนเท่าไหร่ นอกจากนี้ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนการผลิต จัดเตรียมพื้นที่เก็บสินค้า และวางแผนการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า
การคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต โดยทำให้ธุรกิจสามารถวางแผนการผลิตให้เหมาะสมกับปริมาณที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไปในตัว อีกทั้งยังทำให้ธุรกิจสามารถวางแผนการจัดซื้อวัตถุดิบ และการจัดส่งสินค้าให้เหมาะสมกับปริมาณการซื้อของลูกค้า ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อและจัดส่งสินค้า นอกจากนี้ช่วยให้ธุรกิจสามารถกำหนดราคาสินค้าให้เหมาะสมกับปริมาณการซื้อของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
คลิกอ่านเพิ่มเติม : ต้นทุนแฝง (Hidden Cost) คืออะไร ? ส่งผลเสียอย่างไรต่อธุรกิจ วิธีป้องกันและลดต้นทุนแฝง มีอะไรบ้าง
วิธีการทำ Demand Forecasting มีขั้นตอนอะไรบ้าง
1.รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าในอดีต
เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับยอดขาย ข้อมูลลูกค้า ความต้องการผลิตภัณฑ์ ฤดูกาล และแนวโน้มที่ผ่านมาให้ได้มากที่สุด เพราะข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ เพื่อวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า และเพื่อให้ธุรกิจสามารถจัดหาสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า
คลิกอ่านเพิ่มเติม : PDPA คืออะไร? เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำธุรกิจ ทำไมต้องมี พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
2.ดูแนวโน้มความต้องการสินค้าคงคลัง
สามารถทำได้ด้วยการใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ระบุแนวโน้ม และพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ รวมไปถึงใช้เทคนิคทั่วไปบางอย่าง โดยวิธีเหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจได้รู้แนวโน้มความต้องการสินค้าคงคลัง เพราะความต้องการสินค้าอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลง จากการเปลี่ยนแปลงตามกระแสแฟชั่น หรือปัจจัยทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงเรื่องของกฎหมาย
3.คาดการณ์ความต้องการสินค้าตามฤดูกาล
ในการคาดการณ์ความต้องการตามฤดูกาล จะต้องพิจารณาข้อมูลต่างๆ เช่น ปริมาณการขายในฤดูกาลเดียวกันในปีก่อน ปริมาณการขายในฤดูกาลปัจจุบัน ความผันผวนตามฤดูกาลสำหรับการผลิต แนวโน้มของตลาด สภาพเศรษฐกิจ รวมไปถึงประเพณีสำคัญประจำปี เทศกาลวันหยุด เพราะปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนการผลิต หรือจัดสต็อกสินค้าให้เหมาะสมกับเทศกาล หรือฤดูกาลต่างๆ ในอนาคตได้
4.พิจารณาปัจจัยเชิงคุณภาพ
ควรทำบัญชีสำหรับข้อมูลในอนาคต รวมไปถึงการทำปัจจัยส่งเสริมทางการตลาด เช่น การส่งเสริมการขาย เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถคาดการณ์ความต้องการในอนาคตของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ยังควรประเมินความถูกต้องของปัจจัยเชิงคุณภาพ โดยเปรียบเทียบกับข้อมูลการขายจริง เพราะวิธีนี้จะช่วยระบุความแตกต่าง และทำให้ธุรกิจสามารถปรับแต่งกระบวนการคาดการณ์ล่วงหน้าได้
5.วางแผนล่วงหน้าในกรณีที่การคาดการณ์ผิดพลาด
ควรวางแผนและคำนวณระดับของข้อผิดพลาด จากการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าล่วงหน้าเอาไว้ให้ดี เพราะการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าอาจจะไม่แม่นยำ 100% ดังนั้นวางแผนล่วงหน้าในกรณีที่การคาดการณ์ผิดพลาด จึงช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการสต็อกสินค้า เพื่อให้ครอบคลุมกับช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน
6.เลือกช่วงเวลาสำหรับการคาดการณ์ความต้องการ
การคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าล่วงหน้าเป็นปีๆ อาจจะไม่มีความแม่นยำ 100% และอาจจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เพราะอาจมีในกรณีที่เกิดความผันผวน และเกิดความเปลี่ยนแปลงทางการตลาด ซึ่งแน่นอนว่าปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อความแม่นยำของการคาดการณ์ ดังนั้นจึงควรคาดการณ์ความต้องการในระยะเวลาที่ไม่นานเกินไป เพราะมีความแม่นยำมากกว่า
7.พิจารณาซอฟต์แวร์ในการเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าคงคลัง
การใช้ Software หรือระบบ WMS เข้ามาช่วยจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสินค้าคงคลังและทำให้สามารถคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ แต่ก่อนที่จะเลือก Software ใดๆ ควรวิเคราะห์ต้องการของธุรกิจให้ชัดเจน โดยควรพิจารณาสิ่งต่างๆ เช่น จำนวนสินค้าคงคลังที่ต้องการจัดการ เป้าหมายของธุรกิจในอนาคต และขนาดของธุรกิจ เพื่อจะได้ใช้ซอฟต์แวร์ที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการของธุรกิจ
คลิกอ่านเพิ่มเติม : แนะนำ 6 โปรแกรมสต๊อกสินค้า ตัวช่วยจัดการสินค้าในคลัง สำหรับร้านค้าออนไลน์
ปัจจุบันการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า หรือ Demand Forecasting นั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจ ช่วยให้ธุรกิจสามารถประมาณความต้องการในอนาคตสำหรับผลิตภัณฑ์ หรือบริการได้ด้วยการทำนายความต้องการในอนาคต นอกจากนี้ยังทำให้ธุรกิจสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการผลิต การจัดการสินค้าคงคลัง กำหนดราคา และการตลาด ทำให้ธุรกิจเติบโตไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้
ส่วนธุรกิจไหนที่ต้องการจัดการสินค้าคงคลัง ไปพร้อมๆ กับการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าล่วงหน้า แนะนำให้ใช้บริการระบบจัดการออเดอร์และคลังสินค้าในที่เดียวของ Packhai เป็นระบบที่ช่วยในการทำงานของธุรกิจอย่างครบวงจร สามารถจัดการสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังสามารถทำนายความต้องการสินค้า หรือการบริการล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ รวมถึงยังมีบริการคลังสินค้าออนไลน์ Fulfillment เก็บ แพ็ค ส่ง สำหรับร้านค้าออนไลน์อีกด้วย
คลิกดูข้อมูลและฟีเจอร์เพิ่มเติม : ระบบจัดการออเดอร์และคลังสินค้าในที่เดียว By Packhai
ทดลองใช้บริการ Fulfillment Fulfillment ตัวช่วยคนขายของออนไลน์ ที่ช่วยลดต้นทุนการขายสินค้า ลดเวลาการทำงาน มีเวลาโฟกัสยอดขายได้มากขึ้น
ติดต่อเรา PACKHAI : Packhai.com/contact
เบอร์โทร : 097-267-9487
เฟสบุ๊ค : Packhaiofficial
อีเมล : cs@packhai.com
ไลน์ : @packhai
ยูทูป : PACKHAI Fulfillment
ติ๊กตอก : @packhai