ชั้นวางสินค้าในคลังสินค้า
ชั้นวางสินค้าในคลังสินค้า หรือ Rack วางสินค้า เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ในคลังสินค้าที่มีความสำคัญมากๆ มีลักษณะที่ต่างจาก Shelf วางสินค้า ตรวที่มีขนาดใหญ่ แข็งแรง และรองรับน้ำหนักได้มากกว่า ช่วยให้การบริหารจัดการสินค้าเป็นเรื่องง่ายและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด หากสินค้าซึ่งถูกจัดเก็บไว้ในคลัง ไม่ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ หรือวางไว้อย่างเป็นระบบอาจส่งผลให้การทำงานยุ่งยากและเกิดความล่าช้า รวมถึงเกิดข้อผิดพลาดต่างๆ ตามมา ชั้นวางสินค้าในคลังมีกี่ประเภท เลือกชั้นวางสินค้าในคลังแบบไหน วันนี้เรามีข้อแนะนำดีๆ มาฝากกัน
ชั้นวางสินค้าในคลังสินค้า มีความสำคัญอย่างไร
ชั้นวางสินค้าในคลังหรือชั้นเก็บสินค้า ช่วยให้การใช้พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยจัดวางสินค้าหรือจัดเตรียมสินค้าไว้อย่างเป็นระบบ แบ่งแยกหมวดหมู่ แบ่งตามชั้น หรือแบ่งชนิดและประเภทสินค้าได้ง่ายขึ้น ช่วยให้การค้นหาการเคลื่อนย้ายตลอดจนการขนส่งเป็นเรื่องที่สะดวกรวดเร็ว ชั้นวางสินค้าหรือชั้นวางพาเลทคลังสินค้าช่วยเอื้อประโยชน์ในการทำงาน เพื่อให้การบริหารจัดการคลังสินค้า และการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) มีประสิทธิภาพสมากที่สุด
คลิกอ่านเพิ่มเติม: การจัดการคลังสินค้าด้วยระบบบาร์โค้ด คืออะไร? มีประโยชน์ต่อการบริหารคลังสินค้าอย่างไร
ชั้นวางของในคลังสินค้าหรือ Rack มีกี่ประเภท
1.Multi-Tier Shelving
เป็นชั้นวางสินค้าที่สามารถวางซ้อนหลายชั้นได้ ชั้นวางขนาดกลางใช้พื้นที่แนวสูงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ชั้นวางสินค้าซ้อนหลายชั้นมีราวกันตก ชานชาลาและบันไดขึ้นลง โครงสร้างทั้งหมดเป็นแบบถอดประกอบสามารถเพิ่มหรือลดชั้นได้ตามความเหมาะสมในการใช้งาน
2.Medium Shelving
ชั้นวางสินค้าขนาดกลางออกแบบให้มีช่วงแผ่นชั้นที่ยาวมากขึ้นสามารถรับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 200-300 กิโลกรัมต่อชิ้นเลยทีเดียวเหมาะกับการวางสินค้าที่มีขนาดใหญ่หรือการจัดเก็บสินค้าที่เป็นกล่อง เป็นลัง สามารถติดตั้งและประกอบได้ง่าย ปรับความสูงของแต่ละชั้นได้ด้วย
3.Micro Rack
สำหรับชั้นวางสินค้าในคลังสินค้าแบบ Micro Rack จะเป็นชั้นสำหรับวางและจัดเก็บสินค้าแบบทั่วไป นิยมใช้ในคลังสินค้ารวมถึงร้านขายอุปกรณ์ช่าง โดยตัวชั้นสามารถรับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 150-250 กิโลกรัมต่อชั้น
4.Mezzanine Floor Rack
ชั้นวางสินค้าแบบ Mezzanine Floor หรือชั้นลอย เป็นชั้นเก็บของที่ออกแบบมาช่วยแก้ปัญหาเรื่องพื้นที่ภายในคลังสินค้าที่มีจำกัด ชั้นวางสินค้าประเภทนี้สามารถรับน้ำหนักได้สูง ทำจากโครงสร้างเหล็กที่มีความแข็งแกร่งประกอบเป็นพื้นชั้นลอยได้หลายระดับ การติดตั้งง่าย แถมยังดัดแปลงรื้อถอน เคลื่อนย้ายไปติดตั้งในพื้นที่อื่นๆ ได้สะดวก
5.Mobile Rack
Mobile Rack ชั้นวางสินค้าในคลังสินค้าแบบที่วางอยู่บนฐานและถูกติดตั้งบนรางฝัง แล้วใช้มอเตอร์เป็นตัวเคลื่อนย้าย ทำให้เลื่อนไปมาบนรางได้ สามารถเคลื่อนย้ายชั้นวางไปในแนวซ้ายและแนวขวาได้ เปิดช่องทางให้รถยกเข้าไปหยิบสินค้าได้ง่ายขึ้น
6.Cantilever Rack
Rack วางของที่มีลักษณะเป็นชั้นวางสำหรับวัสดุที่มีความยาว เหมาะกับการวางสินค้าที่มีขนาดยาวมาก เช่น ท่อ ท่อนไม้ อลูมิเนียมเส้น เป็นต้น ช่วยจัดระเบียบทำให้เกิดความเรียบร้อยในการจัดเก็บสินค้าและยังช่วยให้การค้นหาสินค้าสะดวกสบายมากขึ้น
7.Drive-In หรือ Drive Through Rack
ชั้นวางสินค้าประเภทนี้เหมาะกับคลังสินค้าที่เก็บสินค้าซึ่งมีจำนวน SKUs น้อย แต่ปริมาณการจัดเก็บสินค้าต่อ SKUs มาก อย่างไรก็ตาม ชั้นวางสินค้าประเภทนี้มีข้อจำกัดเรื่องพาเลทพอสมควร เนื่องจากเป็นระบบหมุนเวียนแบบ First-In First-Out ออกแบบสินค้าให้วางตามแนวลึก ดังนั้นต้องจัดลำดับให้สินค้าที่ออกก่อนอยู่ทางด้านหน้า
8.FIFO Rack
ชั้นวางพาเลทในคลังสินค้า FIFO Rack จะเป็นชั้นวางที่มีลูกกลิ้งอยู่ใต้พาเลท ทำให้สามารถเคลื่อนสินค้าเข้าไปจัดเก็บตามแนวลึกได้ และทำการเบิกสินค้าทางด้านหลังที่เป็นรูปแบบการหยิบสินค้าแบบ FIFO (First-In First-Out) เหมาะสำหรับการจัดเก็บสินค้าที่มีอายุในการเก็บรักษาหรือสินค้าที่ต้องมีการหมุนเวียน จุดเด่นคือมีความรวดเร็วในการเคลื่อนไหวสินค้า ลดการจ้างแรงงาน
9.Push Back Rack
ชั้นวางสินค้าแบบ Push Back คือชั้นวางในคลังสินค้าที่รวมเอาข้อดีของชั้นแบบ Drive-In Rack และ FIFO Rack เข้าไว้ด้วยกัน เป็นชั้นวางสินค้าที่มีขนาดใหญ่และลึก จึงสามารถจัดเก็บสินค้าไว้ได้จำนวนมาก สามารถเพิ่มอุปกรณ์ถาดรับพาเลทในแต่ละชั้นเข้าไปได้
10.Selective Rack
ชั้นวางสินค้าแบบเลือกพาเลทได้ ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมมากที่สุดเหมาะกับการจัดเก็บสินค้าไว้บนพาเลท โครงสร้างแข็งแรงทนทานรองรับน้ำหนักได้มากสามารถปรับระยะห่างของแต่ละชั้นได้ ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์จัดเก็บสินค้าอุปกรณ์เคลื่อนย้ายสินค้าได้หลากหลาย เช่น รถโฟล์คลิฟท์ เลือกหยิบจับสินค้าชิ้นใดก็ได้ ไม่ต้องเรียงสินค้าก่อนหลังเหมาะสำหรับคลังสินค้าทั่วไปรวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
การเลือกชั้นวางสินค้าในคลังสินค้า ต้องพิจารณาปัจจัยอะไรบ้าง
1.ประเภทและขนาดของพาเลท
การเลือกชั้นวางสินค้าในคลังสินค้า สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาเลยก็คือ ประเภทและขนาดของพาเลท (Pallet) โดยควรเลือกชั้นวางสินค้าที่รับน้ำหนักได้มาก และควรคำนึงถึงการวางคานของชั้นวางด้วยว่าจะวางในแนวกว้างหรือแคบ ซึ่งประเภทและขนาดของพาเลทจะเป็นตัวกำหนดว่าชั้นวางที่ติดตั้งควรมีความกว้างเท่าไหร่ และลึกเท่าไหร่
2.ชนิดของสินค้าที่จัดเก็บ
สิ่งต่อมาที่ต้องพิจารณา คือชนิดของสินค้าที่จะทำการจัดเก็บ รวมไปถึงขนาดและน้ำหนักของสินค้าด้วย เพราะจะเป็นตัวกำหนดว่าต้องใช้พาเลทประเภทไหน ขนาดเท่าไหร่ แต่ละพาเลทมีน้ำหนักสูงสุดเท่าไหร่ อีกทั้งชนิดสินค้ายังกำหนดการเลือกชั้นวางสินค้า เช่น สินค้าต้องเข้าก่อนหรือออกก่อน เข้าก่อน ออกทีหลัง เป็นสินค้าชนิดเดียวกันหรือสินค้าหลายชนิด เป็นต้น
3.พื้นที่ในคลังสินค้า
ลักษณะพื้นที่ในคลังสินค้า เช่น ขนาดประตู ความกว้าง ความยาว หรือความสูงของเพดาน ฯลฯ นั้นมีผลต่อการพิจารณาเลือกชั้นวางสินค้าในคลังสินค้า หากเลือกชั้นวางสินค้าให้เหมาะสมกับพื้นที่ภายในของคลังสินค้า ก็จะสามารถใช้พื้นที่ในคลังสินค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้
4.ชนิดของรถยก
การเลือกชั้นวางสินค้าควรคำนึงถึงชนิดของรถยกหรือรถโฟล์คลิฟท์ (Forklift) ด้วย พิจารณาว่ารถโฟล์คลิฟท์สามารถยกสินค้าที่วางอยู่บนชั้นวางได้สูงแค่ไหน และสิ่งที่ต้องระวังคือขนาดของตัวรถยก สามารถกลับตัว หันหน้าเข้าชั้นวางสินค้า ยกสินค้า หันหน้าออกหรือเบิกจ่ายสินค้าต่างๆ ได้หรือไม่ ต้องมีการจัดระยะความกว้างและทางวิ่งให้เหมาะสม
5.ระบบการหมุนเวียนสินค้า
อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามในการเลือกชั้นวางสินค้าในคลังสินค้า ก็คือระบบการหมุนเวียนสินค้าภายในคลัง หากมีสินค้าจำนวนมากและจำเป็นต้องหมุนเวียนอย่างรวดเร็ว มีการนำเข้าและเบิกจ่ายสินค้าอยู่เกือบตลอดเวลา ก็จำเป็นต้องใช้รถยกที่มีขีดความสามารถในการทำงานได้ตลอดเวลา รวมถึงควรใช้ชั้นวางที่มีลักษณะกึ่งอัตโนมัติหรือเป็นแบบอัตโนมัติ โดยจะควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของคลังสินค้าอัตโนมัติ (Warehouse Automation)
การจัดวางแผนผังหรือ Layout ของชั้นวางสินค้า สำคัญอย่างไร
นอกจากปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกชั้นวางสินค้าแล้ว การจัดวางแผนผังหรือ Layout ของชั้นวางสินค้าในคลังสินค้าก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน โดยในการจัด Layout นั้นจะต้องคำนึงถึงเรื่องของความหนาแน่น และความคล่องตัวในคลังสินค้า เพราะหากตำแหน่งของชั้นวางสินค้าอยู่ใกล้กัน และมีจำนวนของชั้นวางมากเกินไป ก็จะทำให้ช่องว่างระหว่างชั้นวางสินค้าแคบ ส่งผลให้การจะหยิบและเคลื่อนย้ายสินค้าทำได้ลำบาก และมีความคล่องตัวน้อยลง
ข้อควรระวังในการใช้งาน Rack วางของในคลังสินค้า
ในการใช้งานชั้นวางสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดปัญหาหรือข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในการทำงาน จำเป็นจะต้องใช้งานอย่างถูกวิธี และคำนึงถึงข้อควรระวังในการใช้งานชั้นวางสินค้าใรคลังสินค้าด้วย ดังนี้
- สินค้าที่จะจัดเก็บ จะต้องเหมาะสมกับชั้นวางสินค้าในคลังสินค้าแต่ละประเภท
- ไม่ควรวางสินค้าบน Rack มากเกินกว่าน้ำหนักที่ชั้นจะรับได้ เพราะอาจทำให้ชั้นรับน้ำหนักไม่ไหวและเกิดความเสียหายได้
- ควรหมั่นตรวจเช็คสภาพของชั้นวางสินค้าอย่างสม่ำเสมอ และไม่ควรใช้ชั้นวางสินค้าที่ชำรุดหรือไม่สมบูรณ์
- สำหรับชั้นวางสินค้าในคลังสินค้าที่มีขนาดใหญ่ และมีความสูงมากๆ ควรมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวก เพื่อความปลอดภัยในการจัดวางและหยิบสินค้า
ทำไมธุรกิจต้องมีระบบจัดการชั้นวางสินค้าในคลังสินค้า
สำหรับธุรกิจไหนที่มีคลังสินค้าของตัวเอง และเลือกประเภทชั้นวางสินค้าในคลังสินค้าที่จะใช้งานได้แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามในยุคนี้เลยก็คือ การมีระบบจัดการคลังสินค้าหรือระบบ WMS (Warehouse Management System) เพื่อเข้ามาช่วยบริหารจัดการงานต่างๆ ในคลังสินค้า โดยเฉพาะการจัดการชั้นวางสินค้าในคลังและการจัดเก็บสินค้า ให้มีความเป็นระเบียบ มีการแบ่งแยกหมวดหมู่สินค้าชัดเจน รวมถึงยังสามารถตรวจเช็คข้อมูลสินค้า ตำแหน่งที่จัดเก็บในชั้นวางสินค้าได้อย่างสะดวก ช่วยให้การค้นหาและหยิบสินค้าตามออเดอร์สามารถทำได้รวดเร็วมากขึ้น
ซึ่งหากธุรกิจอยากจะบริหารจัดการ Rack วางสินค้าในคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อข้อมูลของคลังสินค้า เข้ากับระบบจัดการออเดอร์หรือระบบ OMS (Order Management System) ที่เปรียบเสมือนเป็นระบบหลังบ้านร้านค้าออนไลน์ ทำหน้าที่รวบรวมออเดอร์จากทุกช่องทางขาย บันทึกข้อมูลของลูกค้า และข้อมูลออเดอร์ต่างๆ โดยเมื่อทั้งสองระบบทำงานเชื่อมโยงกัน ก็จะทำให้ธุรกิจสามารถเช็คสต๊อก ตัดสต๊อก และยืนยันออเดอร์ได้อย่างรวดเร็ว มีความถูกต้องแม่นยำ ลดปัญหาการสับสน หรือออเดอร์ตกหล่น
คลิกอ่านเพิ่มเติม : ระบบจัดการออเดอร์และคลังสินค้าในที่เดียว หรือระบบ OMS+WMS By Packhai
จะเห็นได้ว่า ชั้นวางสินค้าในคลังสินค้า นั้นเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญและขาดไม่ได้เลยในคลังสินค้า เนื่องจาก Rack วางของจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดเก็บสินค้า การหยิบและการเคลื่อนย้ายสินค้า ดังนั้นธุรกิจที่มีคลังสินค้าหรืออยากจะทำคลังสินค้าของตัวเอง จึงต้องเลือกประเภทของชั้นวางสินค้าให้เหมาะสมด้วย เพื่อให้การทำงานในคลังสินค้านั้นมีประสิทธิภาพมากที่สุด
แต่สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่เพิ่งเริ่มต้น และอาจจะยังไม่ได้มีคลังจัดเก็บสินค้าของตัวเอง เพราะแน่นอนว่าการทำคลังสินค้านั้นต้องใช้เงินลงทุนที่สูง การใช้บริการเช่าคลังสินค้าก็ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากมีราคาไม่แพง และยังเป็นการเพิ่มพื้นที่จัดเก็บสินค้าของร้านในอนาคตได้อีกด้วย ซึ่งคลังสินค้าให้เช่าที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน จะเป็นคลังสินค้าออนไลน์ระบบ Fulfillment ที่เป็นคลังรับฝากสินค้า เก็บ แพ็ค ส่ง อย่างครบวงจร พร้อมระบบบริหารจัดการคลังสินค้าที่ทันสมัย – อยากรู้ว่า Fufillment BY Packhai ดียังไง? : คลิกที่นี่