โดนภาษีย้อนหลังขายของออนไลน์ ต้องทำอย่างไร มีวิธีการจัดการอย่างไรบ้าง

โดนภาษีย้อนหลังขายของออนไลน์

โดนภาษีย้อนหลังขายของออนไลน์

ในการเปิดร้านขายของออนไลน์ และเริ่มมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการเข้ามา ก็ควรจะดำเนินการยื่นเสียภาษีให้เรียบร้อย เพื่อให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด และยังเป็นการป้องกันไม่ให้ โดนภาษีย้อนหลังขายของออนไลน์ อีกด้วย การถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ร้านค้าไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองอย่างแน่นอน เพราะนอกจากจะต้องวุ่นวายในการแจกแจงรายละเอียด และรายได้ที่เกิดขึ้นกับทางเจ้าหน้าที่สรรพากรแล้ว ก็ยังต้องเสียภาษีย้อนหลังด้วย และไหนจะมีค่าปรับเพิ่มมาอีก เรียกได้ว่าถ้าโดนเข้าไปล่ะก็มีหวังเข่าทรุดกันเลยทีเดียว

ใครบ้างที่มีโอกาสโดนภาษีย้อนหลังขายของออนไลน์

ถ้าถามว่าใครบ้างที่มีโอกาสโดนภาษีย้อนหลังขายของออนไลน์ ก็ต้องบอกเลยว่าร้านค้าออนไลน์ทุกร้านมีโอกาสโดนเรียกเก็บได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือธุรกิจขนาดใหญ่เป็นบริษัทก็ตาม 

โดยร้านค้าที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และยังไม่ได้ไปยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งหากถูกกรมสรรพากรตรวจสอบ แล้วพบว่าร้านค้าไม่ได้มีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT 7% ก็จะโดนพนักงานสรรพากรเรียกพบเพื่อให้มาชี้แจงรายละเอียด ทันที และจะต้องจ่ายคืนภาษีย้อนหลังด้วย โดยคิดจากรายได้ย้อนหลังทั้งหมด 5 ปี หรือรายได้ทั้งหมดตั้งแต่เริ่มเปิดร้านค้า

อ่านเพิ่มเติม : ภาษีขายของออนไลน์ ต้องยื่นอย่างไร เสียภาษีอะไรบ้าง มีวิธีการคำนวณอย่างไรบ้าง

โดนภาษีย้อนหลังขายของออนไลน์ ต้องทำอย่างไร

สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่เพิ่งเปิดร้านมาได้ไม่นาน และไม่เคยเสียภาษีออนไลน์มาก่อน โดยปีแรกอาจจะยังมีรายได้รวมทั้งหมดไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี เลยยังไม่ได้ดำเนินการยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะรายได้ยังไม่ถึงเกณฑ์ แต่ปีต่อมากลับมีรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นจนเกินกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ และเมื่อถูกกรมสรรพากรตรวจสอบพบ ก็จะทำให้ร้านค้าออนไลน์เข้าข่ายในการต้องโดนภาษีย้อนหลังขายของออนไลน์ ซึ่งร้านค้าจำเป็นจะต้องมีสติและเตรียมพร้อมรับมือให้ดี โดยหากโดนตรวจพบจะมีขั้นตอนในการดำเนินการอยู่ 3 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

1. ชี้แจงรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่สรรพากรตามจริง

เมื่อถูกตรวจพบและโดนภาษีย้อนหลังจากการขายของออนไลน์ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ไม่ต้องกังวลจนเกินไป ให้ตั้งสติให้ดี แล้วไปพบกับเจ้าหน้าที่สรรพากรตามที่นัดหมายเอาไว้ เพื่อพูดคุยรายละเอียด พร้อมทั้งชี้แจงรายได้ทั้งหมดตามความเป็นจริง และยอมเสียภาษีย้อนหลังแต่โดยดี เพราะถือเป็นความผิดพลาดของทางร้านค้าเองที่ไม่ยื่นเสียภาษีตั้งแต่แรก

2. เตรียมหลักฐาน Bank Statement ย้อนหลังทั้งหมด

ร้านค้าออนไลน์จะต้องเตรียม Bank Statement ที่แสดงรายการรายรับย้อนหลังทั้งหมดตั้งแต่เปิดร้าน สำหรับร้านค้าที่เพิ่งเปิดได้ไม่นาน แต่สำหรับร้านค้าที่เปิดมานานแล้ว ก็อาจจะถูกขอเอกสารย้อนหลังประมาณ 5 ปี เพื่อเป็นการตรวจสอบว่ายอดรายได้ทั้งหมดที่เกินกว่า 1.8 ล้านบาท นั้นมีจำนวนมากหรือน้อยเพียงใด

3. เตรียมหลักฐานรายจ่ายต่างๆ เพื่อนำไปหักออกจากรายได้

รายจ่ายหรือค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ต้นทุนสินค้า รายการกู้ยืมเงิน ฯลฯ สามารถนำไปแสดง เพื่อหักออกจากรายได้ ทำให้รายได้สุทธิที่ต้องนำมาคิดภาษีนั้นลดลง นอกจากนี้ร้านค้ายังสามารถเจราจาต่อรองกับเจ้าหน้าเพื่อลดค่าปรับได้ และหากจำเป็นจริงๆ สามารถขอผ่อนชำระภาษีได้ 3 งวด แต่จะมีการคิดดอกเบี้ยเพิ่ม

บริการ Fulfillment Packhai

แนะนำวิธีการจัดการไม่ให้โดนภาษีย้อนหลังขายของออนไลน์

หากร้านค้าออนไลน์ไม่อยากมาคอยกังวล และรับมือกับการโดนภาษีย้อนหลังขายของออนไลน์ ก็ควรจะต้องมีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งมีวิธีในการจัดการดังนี้

1.มีการจัดทำเอกสารทางด้านบัญชีของร้านค้าออนไลน์อย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถติดตามหรือตรวจเช็คยอดขาย และค่าใช้จ่ายได้สะดวก ซึ่งเมื่อรายได้รวมถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี ก็ให้ทำการยื่นเสียภาษีโดยเร็วที่สุด

2.หากร้านค้าดำเนินกิจการแบบบุคคลธรรมดา ควรทำการแยกบัญชีของร้านค้า กับบัญชีของเจ้าของออกจากกัน เพื่อไม่ให้รายได้ปะปนกัน จะช่วยให้นำไปคำนวณภาษีได้ง่ายกว่า

3.ก่อนการกำหนดราคาของสินค้า ควรคำนึงถึงภาษีมูลค่า หรือ VAT 7% ด้วย โดยควรจะตั้งราคาขายให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ตั้งแต่แรก ไม่ใช่มาขึ้นราคาภายหลัง ซึ่งอาจส่งผลทำให้ยอดขายลดลงได้

สำหรับปัญหาการโดนภาษีย้อนหลังขายของออนไลน์ เป็นสิ่งที่ไม่มีพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์คนไหนอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองอย่างแน่นอน ดังนั้นทางที่ดีร้านค้าก็ควรจะจัดทำบัญชีให้ชัดเจน รวมถึงทำการยื่นเสียภาษี ทั้งภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่มให้เรียบร้อยตามที่กฎหมายกำหนด 

ส่วนปัญหาเรื่องพื้นที่จัดเก็บสินค้าไม่เพียงพอ หรือจัดส่งสินค้าไม่ทันตามออเดอร์ ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของบริการคลังสินค้าออนไลน์แบบแพ็ค เก็บส่ง หรือที่รู้จักกันในชื่อ“ Fulfillment ” ที่ให้บริการรับฝาก แพ็ค และจัดส่งสินค้าอย่างครบวงจร ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและต้นทุนในการดำเนินงานได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งข้อดี-ข้อเสียของการใช้บริการ Fulfillment จะมีอะไรบ้าง สามารถคลิกอ่านข้อมูลได้เลยค่ะ >>> ข้อดี-ข้อเสีย Fulfillment PACKHAI สรุปมาให้เรียบร้อยแล้ว

คลิกอ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม 

ราคาค่าบริการ fulfillment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *