10 เทคนิค การตั้งราคาสินค้า มีวิธีคิดราคาขายอย่างไรดี ไม่ให้ขาดทุน ได้กำไร แถมลูกค้าก็พอใจด้วย

การตั้งราคาสินค้า ให้น่าสนใจตามหลักจิตวิทยา มีอะไรบ้าง

การตั้งราคาสินค้า

ในการขายสินค้าออนไลน์ เช่น เสื้อผ้า ของใช้ ฯลฯ คนขายของออนไลน์ในช่วงแรกๆ อาจจะสงสัยว่า “ การตั้งราคาขายสินค้า ” หรือ “ การคิดราคาขายผลิตภัณฑ์ ” ควรกำหนดราคาขายอย่างไรดี ตั้งราคาตามหลักจิทวิทยาจะเวิร์คหรือไม่ ? ในบทความนี้ PACKHAI จะพาไปดูสูตรการตั้งราคาขายสินค้าเบื้องต้นกัน รับรองว่าจะได้เทนิคการตั้งราคาขายอย่างแน่นอน

Contents hide

การตั้งราคาขาย คืออะไร

การตั้งราคาสินค้า คือ การตั้งราคาสินค้าเพื่อขายให้กับลูกค้า โดยที่ราคาสินค้านั้นจะต้องมีความเหมาะสม คือเป็นราคาที่ลูกค้าสามารถจับต้องได้ ไม่แพงเกินจริง และเป็นราคาที่ครอบคลุมต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ของธุรกิจ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจมีกำไรและอยู่รอดได้ นอกจากนี้การตั้งราคาที่ดี ยังมีผลต่อการดึงดูดความสนใจของลูกค้า และช่วยให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย

หลักการตั้งราคาสินค้า ที่ต้องนึกถึงก่อนคิดราคาขาย

  • การตั้งราคาสินค้าต้องคำนึงถึงต้นทุนของสินค้าหรือบริการ เพื่อให้สามารถตั้งราคาที่ครอบคลุมต้นทุนในส่วนต่างๆ
  • ในการตั้งราคาสินค้าต้องคำนึงถึงกำไรที่ธุรกิจต้องการหรือคาดหวัง เพื่อนำไปบวกเพิ่มเข้าไปในราคาสินค้า
  • การตั้งราคาสินค้าต้องศึกษาราคาตลาดของสินค้าแต่ละชนิด เพื่อเปรียบเทียบหาราคาที่เหมาะสมระหว่างเรากับคู่แข่ง
  • การตั้งราคาสินค้าต้องศึกษาหาราคาที่ลูกค้าเป้าหมายเต็มใจจ่าย เพื่อให้สามารถตั้งราคาได้อย่างเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายจริงๆ
  • การตั้งราคาสินค้าต้องคำนึงถึงคุณสมบัติที่เป็นจุดเด่นของสินค้า เพื่อนำมาใช้เพิ่มมูลค่าและทำให้สามารถตั้งราคาได้สูงขึ้น

การตั้งราคาสินค้า ที่เหมาะสม ดีอย่างไร

  • การตั้งราคาสินค้าช่วยดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้
  • การตั้งราคาขายช่วยเพิ่มโอกาสที่ลูกค้าจะซื้อสินค้าในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น
  • ช่วยให้ลูกค้ารู้สึกอยากซื้อ และเต็มใจจ่ายมากขึ้น
  • การตั้งราคาสินค้าช่วยให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้สินค้าที่มีคุณภาพ ในราคาที่คุ้มค่า
  • การคิดราคาขายช่วยให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น
  • การกำหนดราคาขายช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในตลาดได้ดีขึ้น
  • การตั้งราคาขายสินค้าช่วยให้ธุรกิจมียอดขายและมีกำไรเพิ่มมากขึ้น

วิธีตั้งราคาสินค้า ให้เหมาะสม จนใครๆ ก็อยากซื้อ

1. ตั้งราคาสินค้าให้คำนวณได้ง่าย

การตั้งราคาสินค้าให้สามารถคำนวณได้ง่าย เช่น ตั้งราคาให้เป็นตัวเลขกลมๆ โดยลงท้ายด้วยเลข 0 หรือ 5 ซึ่งจะมีผลต่อการจดจำราคาของลูกค้า ทำให้ลูกค้าสามารถคำนวณราคา เพื่อนำไปใช้เปรียบเทียบราคาและตัดสินใจซื้อได้ง่ายมากขึ้น

2. ตั้งราคาสินค้าแบบเหมารวม

การตั้งราคาสินค้าแบบเหมารวม จะเป็นการเสนอให้ลูกค้าซื้อสินค้าในปริมาณที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อเป็นแพ็ค หรือซื้อเป็นคู่ เพื่อที่จะได้ราคาสินค้าต่อชิ้นที่ถูกลง ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าคุ้มมากกว่าการซื้อเพียงแค่ชิ้นเดียว

3. ตั้งราคาสินค้าให้ลงท้ายด้วยเลข 9

การตั้งราคาสินค้าให้ลงท้ายด้วยเลข 9 เช่น 99 199 หรือ 299 ถือเป็นการตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา ซึ่งจะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าราคานั้นมีความคุ้มค่าและถูกกว่า การตั้งราคาเป็น 100 200 หรือ 300 ที่มีราคาต่างกันเพียงแค่ 1 บาทเท่านั้น

4. ตั้งราคาสินค้าเป็น 3 ระดับ

สำหรับสินค้าประเภทเครื่องดื่ม ที่มักมีขนาดแก้วให้ลูกค้าเลือกซื้อ 3 ระดับ คือแก้วเล็ก กลาง และใหญ่ โดยที่ราคาของแต่ละขนาดจะไม่ต่างกันมาก ทำให้ลูกค้ายอมจ่ายเพิ่มขึ้นนิดหน่อยเพื่อให้ได้แก้วที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งจะรู้สึกคุ้มค่ามากกว่า

5. ตั้งราคาสินค้าแยกกับค่าขนส่ง

การตั้งราคาสินค้าแยกกับค่าขนส่ง เป็นวิธีที่นิยมใช้ในธุรกิจขายของออนไลน์ เนื่องจากวิธีนี้จะทำให้ราคาสินค้าดูถูกลงกว่า การเอาราคาสินค้ารวมกับค่าขนส่งแล้วบอกว่าจัดส่งฟรี ซึ่งจะช่วยดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้

6. ตั้งราคาสินค้าที่จดจำได้ง่าย

หากธุรกิจตั้งราคาสินค้าให้มีตัวเลขมากเกินไป เช่น สินค้าราคา 1,457 บาท ก็อาจทำให้ลูกค้าจำได้ยาก จึงควรตั้งราคาสินค้าให้สั้นและออกเสียงง่าย โดยอาจเปลี่ยนเป็น 1,400 บาทหรือพันสี่แทน เพื่อความง่ายในการจดจำ และสะดวกต่อการนำไปประกอบการตัดสินใจ

7. โปรโมทสินค้าโดยใช้ราคาเริ่มต้น

สำหรับสินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่มักมีราคาแพง ซึ่งหากมีการใช้ราคาเริ่มต้นในการโปรโมท เช่น คอนโดราคาเริ่มต้น 0.99 ล้านบาท ก็จะช่วยทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเป็นราคาที่จับต้องได้ และยังช่วยดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้อีกด้วย

8. จัดวางตำแหน่งของราคาให้มองเห็นได้ชัดเจน

โดยปกติทั่วไปคนเรามักจะมองหรืออ่านอะไรจากข้างบนลงมาข้างล่าง ทำให้จำเป็นต้องจัดวางตำแหน่งของราคาสินค้าไว้บริเวณด้านบน เพื่อให้เป็นจุดสนใจและให้ลูกค้ามองเห็นราคาเป็นสิ่งแรก ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ

9. ไม่ควรตั้งราคาสินค้าเริ่มต้นให้ต่ำจนเกินไป

ธุรกิจไม่ควรตั้งราคาสินค้าเริ่มต้นให้ต่ำจนเกินไป เนื่องจากจะทำให้ลูกค้ารู้สึกหรือเกิดข้อสงสัยว่าสินค้านั้นมีคุณภาพที่ไม่ดีได้ และเมื่อต้องการจัดโปรโมชั่นลดราคาก็จะทำได้ลำบากอีกด้วย

10. ตั้งราคาให้ใกล้เคียงกับราคาตลาด

หากสินค้าที่ขายเป็นสินค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับของคู่แข่งในตลาด การตั้งราคาให้ใกล้เคียงกับราคาตลาดนั้นมีความสำคัญอย่างมาก เพราะหากตั้งราคาต่ำหรือสูงกว่าราคาตลาดมากเกินไป ก็อาจทำให้สินค้าขายไม่ออกได้

ตัวอย่างการตั้งราคาสินค้า

ยกตัวอย่างเช่น หากธุรกิจขายสินค้าประเภทเสื้อแฟชั่น โดยมีต้นทุนอยู่ที่ตัวละ 90 บาท และราคาในตลาดตอนนี้ขายกันอยู่ที่ตัวละ 200 บาท ซึ่งหากต้องการตั้งราคาสินค้าให้ดึงดูดความสนใจของลูกค้า ก็อาจตั้งราคาขายเสื้อตัวละ 199 บาท และเมื่อซื้อเสื้อมากกว่าหนึ่งตัวก็จะได้ราคาที่ถูกลง เช่น ซื้อเสื้อ 2 ตัวราคา 350 บาท จากปกติ 398 บาท ก็จะเป็นการช่วยทำให้ลูกค้าอยากซื้อในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อความคุ้มค่า

สำหรับธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ การตั้งราคาขายสินค้า ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการขายสินค้า เนื่องจากราคาจะเป็นตัวที่ช่วยดึงดูดความสนใจของลูกค้า และทำให้รู้สึกอยากซื้อสินค้ามากขึ้นได้ โดยการตั้งราคาสินค้าที่ดีนั้น ควรตั้งราคาให้สามารถจดจำได้ง่าย มีหลายราคาให้เลือกซื้อ รวมถึงตั้งราคาแบบเหมาที่จะได้สินค้าจำนวนมากขึ้นในราคาที่ถูกลง ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่มีผลทางจิตวิทยา และมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า

เมื่อธุรกิจสามารถตั้งราคาสินค้าที่ดึงดูดความสนใจได้แล้ว ก็ย่อมส่งผลให้มีลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้ามากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งหากธุรกิจไม่สามารถรับมือได้ดีพอ ก็อาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้ แต่หากธุรกิจเลือกใช้บริการFulfillment ที่ทำหน้าเป็นคลังสินค้าออนไลน์ให้บริการเก็บ แพ็ค และส่งไว้ในที่เดียว ช่วยประหยัดเวลาและลดต้นทุนได้เป็นอย่างดี ทำให้ธุรกิจสามารถโฟกัสงานด้านการขายได้อย่างเต็มที่

คลิกอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่ :

ราคาค่าบริการ fulfillment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *