OEM ODM OBM ทางเลือกในการทำแบรนด์สินค้า
ปัจจุบันการผลิตสินค้าแบบ OEM ODM และ OBM กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เหมาะสำหรับคนที่อยากทำแบรนด์สินค้าหรือสร้างแบรนด์ของตนเอง เชื่อว่าคนที่กำลังวางแผนจะผลิตสินค้าและทำแบรนด์ ขายครีม ขายเครื่องสำอาง ขายอาหารเสริม ฯลฯ อาจจะเคยได้ยินคำเหล่านี้มาบ้างและเพื่อให้ทุกคนทำความรู้จักกับ OEM ODM OBM มากขึ้นวันนี้เรามีสาระดีๆ เกี่ยวกับคำศัพท์ทั้ง 3 คำนี้มาฝากกัน ว่าแต่ละแบบคืออะไร มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
OEM คืออะไร?
OEM คือ ผู้รับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัทหรือคนที่อยากมีแบรนด์เป็นของตัวเอง โดยคำว่า OEM ย่อมาจาก Original Equipment Manufacturer หรือถ้าจะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือโรงงานที่รับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ ตามที่ลูกค้ากำหนดนั่นเองผลิตสินค้าพร้อมกับติดชื่อแบรนด์ หรืออาจไม่ตรีตราก็ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ที่เข้าไปใช้บริการ
โดยโรงงาน OEM นั้นให้บริการตั้งแต่การออกแบบ การผลิต และการออกแบบโลโก้ หรือทำแบรนด์ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างมาก การมีแบรนด์เป็นของตัวเองไม่ได้ยุ่งยากอีกต่อไปไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องจักรราคาสูงมาผลิตเองหรือจัดตั้งโรงงานเอง ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมากในการผลิตแต่ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า
บทความอื่นที่น่าสนใจ:
- 7 วิธีในการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ ช่วยเพิ่มยอดขาย สำหรับธุรกิจออนไลน์
- 10 โปรแกรมออกแบบโลโก้ ฟรียอดนิยม ใช้ออกแบบโลโก้สินค้า ทำ Logo ร้าน
OEM มีข้อดีอะไรบ้าง
- หากใช้บริการโรงงาน OEM จะมีผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์คอยให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาอย่างดี
- มีต้นทุนการผลิตต่ำ และยังสามารถย้ายฐานการผลิตไปประเทศที่ต้นทุนต่ำกว่าได้อีกด้วย
- เจ้าของแบรนด์ไม่จำเป็นต้องมีโรงงานของตัวเอง และไม่ต้องซื้อเครื่องจักรมาผลิตเอง ทำให้มีความเสี่ยงน้อยกว่า
OEM มีข้อเสียอะไรบ้าง
- การใช้บริการโรงงาน OEM จะมีสูตรหรือรูปแบบกลาง ทำให้สินค้ามีลักษณะและคุณภาพไม่ได้แตกต่าง หรือโดเด่นจากแบรนด์อื่นๆ
- เจ้าของแบรนด์ไม่สามารถควบคุมการผลิตได้เอง บางครั้งอาจมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าผลิตเอง
สินค้า OEM คือสินค้าประเภทไหน
สินค้า OEM คือ สินค้าที่จ้างให้ผลิตขึ้นมา ผลิตภัณฑ์ OEM จะเป็นสินค้าที่สามารถพบเจอได้ทั่วไปในชีวิตประจำวันของเรา ตัวอย่างสินค้า OEM เช่น ครีมบำรุงผิว อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องครัว หม้อ กระทะ จาน ชาม รวมไปถึงสินค้าจำพวกเฮ้าส์แบรนด์ของห้าง เป็นสินค้าแบรนด์ของห้างที่วางขายคู่กับแบรนด์ชื่อคุ้นหู มักจ้างโรงงานเดียวกันกับสินค้าแบรนด์คุ้นหูในการผลิต เพื่อนำมาวางจำหน่ายจับกลุ่มลูกค้าที่ชอบสินค้าในราคาถูก เป็นต้น
คลิกอ่านเพิ่มเติม: อัปเดต 10 สินค้าขายดี เทรนของขายออนไลน์ยอดฮิต ที่คนนิยมขาย รู้ก่อน รวยก่อน !
ธุรกิจ OEM เหมาะกับใคร
ถ้าถามว่าธุรกิจ OEM เหมาะกับใคร? ก็ต้องบอกเลยว่าเหมาะกับผู้ที่ต้องการมีแบรนด์สินค้าเป็นของตนเอง อยากลงทุนอยากเป็นเจ้าของธุรกิจ แต่ไม่รู้จะเปิดร้านขายอะไรดี และมีข้อจำกัดคือเงินทุนน้อยหรือมีงบประมาณจำกัด จึงไม่สามารถผลิตสินค้าเองได้ การทำแบรนด์สินค้า OEM จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจอย่างหนึ่งและปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่
ODM คืออะไร?
ODM คือ โรงงานที่รับผลิตภายใต้แบรนด์ของผู้ซื้อ โดยผู้ผลิตจะมีหน้าที่ในการออกแบบ วางองค์ประกอบต่างๆ รวมไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ODM จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันกับ OEM แต่ทว่า ODM สามารถพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและนำเสนอต่อผู้ซื้อได้ เปรียบเสมือนการทำงานร่วมกัน สามารถปรึกษาหารือ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ออกมาดีที่สุดได้ ผู้ซื้อจะมีหน้าที่ในการวางจำหน่ายและกระจายสินค้าออกสู่ตลาด ทำให้รูปแบบการผลิตแบบ ODM นั้นเป็นการทำให้ผลิตภัณฑ์ออกมามีความแตกต่าง ไม่เหมือนใครนั่นเอง แต่ก็แลกมากับการมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น
ODM มีข้อดีอะไรบ้าง
- ผู้ซื้อหรือผู้ว่าจ้างไม่จำเป็นต้องคิดค้น พัฒนา หรือออกแบบผลิตภัณฑ์เอง
- ผลิตภัณฑ์จะมีความแตกต่างกว่าผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป
- เหมาะสำหรับผู้ที่อยากมีแบรนด์หรือเป็นของตัวเองหรือผู้เริ่มต้นทำธุรกิจ
- มีผู้เชี่ยวชาญที่คอยดูแลการผลิตและคอยให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด
ODM มีข้อเสียอะไรบ้าง
- ต้นทุนการผลิตสูงกว่าการผลิตแบบ OEM
- มีขั้นตอนและกระบวนการผลิตที่นานขึ้น เนื่องจากต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วย
OBM คืออะไร?
OBM คือ โรงงานผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของผู้ผลิต เหมาะสำหรับแบรนด์ที่มีความมั่นคงและมีการเติบโตอย่างเต็มที่ มีชื่อเสียงในวงกว้างอยู่แล้ว มีการทำการตลาดภายใต้แบรนด์แบบต่อเนื่อง อธิบายง่ายๆ คือโรงงาน OBM เหมาะกับแบรนด์ที่มีความมั่นคงเป็นโรงงานที่พัฒนาเต็มที่แล้ว เมื่อแบรนด์มีความแข็งแรงมากพอแล้ว และต้องการกำลังการผลิตจำนวนมาก การเลือกใช้บริการโรงงานประเภทนี้จึงเหมาะสมและช่วยลดต้นทุนในการผลิตได้
OBM มีข้อดีอะไรบ้าง
- สามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมาก
- สามารถควบคุมและลดต้นทุนในการผลิตได้
- สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการผลิตได้ตามที่ต้องการ
OBM มีข้อเสียอะไรบ้าง
- ต้องออกแบบ ผลิตและทำทุกอย่างเอง โดยไม่มีผู้ให้คำปรึกษาในด้านการผลิต
- การย้ายฐานผลิตนั้นทำได้ยาก ต้องใช้ต้นทุนสูงในการสร้างโรงงาน
ผลิตสินค้า OEM ODM OBM แบบไหนดีที่สุด
การผลิตสินค้าแบบ OEM ODM และ OBM เลือกแบบไหนดีที่สุด จากทั้งหมดที่เราได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่าแต่ละแบบก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไปด้วย การให้บริการก็แตกต่างกัน ดังนั้นก่อนเลือกใช้บริการก็ต้องมีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าแบบไหนเหมาะสมกับความต้องการของคุณมากที่สุด และเหมาะสมกับงบประมาณที่มีด้วย แบบไหนใช้งบน้อยหรือแบบไหนใช้งบมากซึ่งจะเกิดผลดีต่อตัวคุณเองมากที่สุด แต่หากจะให้บอกว่าแบบไหนได้รับความนิยมมากที่สุด ก็คงต้องบอกว่าการผลิตสินค้าแบบ OEM จะนิยมมากที่สุด เพราะว่าไม่จำเป็นต้องใช้เงินสูงเท่าแบบอื่น ก็สามารถผลิตสินค้าได้แล้ว
การพัฒนาสูตรหรือพัฒนาสินค้า สำคัญอย่างไรในการผลิตแบบ OEM
เนื่องจากการผลิตสินค้าแบบ OEM นั้นเป็นการรับผลิตสินค้า โดยทั่วไปแล้วทางโรงงานผลิตมักจะมีสูตรหรือสินค้ามาตรฐานรูปแบบต่างๆ ให้เจ้าของธุรกิจเลือกผลิตแล้วนำมาติดแบรนด์ของตัวเอง แต่การใช้สูตรหรือรูปแบบสินค้าที่มีอยู่แล้ว จะทำให้สินค้าของเราเหมือนกับสินค้าของแบรนด์อื่นๆ ในตลาด ไม่มีความแตกต่าง รวมถึงยังคู่แข่งยังลอกเลียนแบบได้ง่ายอีกด้วย
ดังนั้นการพัฒนาสูตรหรือพัฒนาสินค้าให้แปลกใหม่ แตกต่างและมีเอกลักษณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งแม้ว่าอาจจะต้องใช้เวลาในการคิดค้น วิจัยและพัฒนาที่นานขึ้น แต่รับรองว่าจะทำให้สินค้าของธุรกิจนั้นมีความน่าสนใจ และแตกต่างจากสินค้าของแบรนด์อื่นๆ แน่นอน ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าแล้ว ก็ยังช่วยเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจได้อีกด้วย
ข้อควรระวังในการผลิตสินค้าแบบ OEM ODM และ OBM
1.ศึกษาเรื่องกฎหมายและใบอนุญาตต่างๆ ให้ดี
ข้อควรระวังในการผลิตสินค้าแบบ OEM ODM และ OBM กรณีที่คุณอยากมีแบรนด์อาหารเสริมหรือแบรนด์เกี่ยวกับอาหารเป็นของตนเองรวมถึงแบรนด์ครีมบำรุงผิวต่างๆ ข้อควรระวังคือการทำสินค้าประเภทดังกล่าวต้องมีเรื่องของใบอนุญาตจาก อย. สินค้าที่คุณสั่งผลิตต้องถูกต้องตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม โรงงานที่ให้บริการรับจ้างผลิตภายใต้แบรนด์ของคุณหลายๆ แห่งมีบริการรับขึ้น อย. ให้แบบครบวงจร
2.เลือกโรงงานผลิตที่มีความน่าเชื่อถือ
อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องระวังก็คือการเลือกโรงงาน เลือกที่เชื่อถือได้เพราะบางครั้งสูตรที่เราคิดขึ้นมาและมีการจดลิขสิทธิ์เป็นของตนเองเป็นความลับห้ามเผยแพร่ หากคุณเลือกโรงงานที่ไม่มีความน่าเชื่อถือเลยบริษัทเหล่านั้นเมื่อเห็นว่าผลิตภัณฑ์ของคุณขายดี อาจนำไปลอกเลียนแบบและขายให้กับคู่แข่งก็เป็นได้
3.ตรวจเช็คเรื่องส่วนผสมและวัตถุดิบให้ดี
เรื่องของส่วนผสมต่างๆ ก็ต้องระวังให้ดี เพราะในบางครั้งผู้ผลิตอาจเห็นว่ามีความคล้ายคลึงกันจึงนำมาใช้เป็นส่วนผสมจากที่เรากำหนดไว้ เพื่อลดต้นทุนหวังเอากำไร ดังนั้นเพื่อความแน่ใจคุณควรเข้าไปตรวจสอบหรือสุ่มเช็คกับโรงงาน เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการใช้ส่วนผสมอื่นๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต
คลิกอ่านเพิ่มเติม: แนะนำ 15 วิธีเพิ่มยอดขาย วิธีกระตุ้นยอดขายให้ปัง หากอยากเพิ่มยอดขาย ทำตามนี้เห็นผลแน่นอน
OEM คืออะไร แตกต่างจาก ODM และ OBM อย่างไรบ้าง และข้อดีข้อเสียของแต่ละแบบเป็นยังไง ทั้งหมดคงจะทำให้คุณเข้าใจมากขึ้นแล้ว สำหรับคนที่อยากมีแบรนด์เป็นของตัวเอง ปัจจุบันไม่ได้ยุ่งยากเหมือนเมื่อก่อน เงินลงทุนน้อยก็สามารถมีแบรนด์เป็นของตัวเองได้ ส่วนการเลือกใช้บริการโรงงานรับจ้างผลิตต่างๆ ก็ต้องเลือกให้ดี เลือกโรงงานที่เชื่อถือได้เท่านั้น นอกจากจะต้องเลือกโรงงานที่เชื่อถือได้และก็ต้องเลือกโรงงานที่เหมาะสมกับความต้องการและงบประมาณของตัวเองด้วย
หากพูดถึงการผลิตสินค้า สิ่งหนึ่งที่ต้องมีควบคู่กันก็คือการสต๊อกสินค้า ซึ่งหากธุรกิจไหนไม่อยากเหนื่อยดูแลงานทั้งหมดเอง ปัจจุบันก็สามารถเลือกใช้บริการคลังสินค้าออนไลน์ระบบ Fulfillment ของ Packhai ให้มาจัดการหลังบ้านแทนได้ โดยจะให้บริการ เก็บ แพ็ค ส่ง รวมไว้ในจุดเดียว ช่วยอำนวยความสะดวก ประหยัดเวลาและลดต้นทุนให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างดี – อยากรู้ว่า Fufillment BY Packhai ดียังไง? : คลิกที่นี่