ทำความเข้าใจกับ Inbound และ Outbound หมายถึงอะไร? ก่อนเลือกใช้บริการ Fulfillment

Inbound และ Outbound คืออะไร ก่อนอื่นเลยต้องขออธิบายว่า ทั้งสองคำนี้ถูกนำไปใช้ในหลายบริบท ไม่ว่าจะเป็นระบบการขนส่งโลจิสติกส์ (Logistics) การตลาด (Marketing) ดังนั้น ในเชิงความหมายอาจไม่ได้เหมือนกัน ซึ่งเราจะกล่าวถึงความหมายที่เน้นไปทางระบบบริการ Fulfillment เป็นหลัก ดังนั้น ก่อนที่เราจะไปรู้จักกับ Inbound คือ ? อย่างแรกเลยคือ เราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่าระบบ Fulfillment คืออะไร การทำธุรกิจออนไลน์ในยุคนี้ คำๆนี้ เราอาจได้ยินกันบ่อยหรือผ่านหู ผ่านตามาแล้วบ้าง

รู้จักกับบริการ Fulfillment กันก่อน

Fulfillment คือ บริการคลังสินค้าออนไลน์ ที่ให้บริการแบบครบวงจร ตั้งแต่พื้นที่สำหรับเช่าเก็บสินค้า มีคนดูแลสินค้าในคลังให้ พร้อมระบบจัดการคลังสินค้าที่ดี มั่นใจได้ว่าสินค้าจะปลอดภัยไม่สูญเสียหรือเสียหาย นอกจากนั้นยังมีบริการแพ็คสินค้าและบริการขนส่งสินค้าให้ครบ ระบบหลังบ้าน Fulfillment ช่วยให้ธุรกิจออนไลน์หรือร้านค้าออนไลน์ทำงานได้ง่ายขึ้น สามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา โดยไม่จำกัดสถานที่หรือเวลาใด บริการนี้ทำให้ธุรกิจมีเวลาไปโฟกัสงานขายมากขึ้น โดยไม่ต้องกังวลในส่วนของการบริหารจัดการกับระบบหลังบ้าน ประหยัดเวลาและต้นทุนในการทำงาน ซึ่งผู้ให้บริการ Fulfillment มีความเป็นมืออาชีพและมากประสบการณ์ สามารถรองรับธุรกิจตั้งแต่ขนาดกลางไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ ยิ่งมีออเดอร์เข้ามาเยอะ ถ้าไม่มีผู้ช่วยที่คอยซัพพอร์ตการทำงาน ต้องทำงานเองทั้งหมด ยิ่งปวดหัววุ่นวายและยังต้องเจอกับปัญหาหลายอย่าง เสี่ยงเกิดข้อผิดพลาดต่างๆ ตามมา เช่น ส่งของผิด ส่งของช้า ส่งของขาด ทำออเดอร์ตกหล่น เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 ประโยชน์ของคลังสินค้า ส่วนสำคัญคู่ธุรกิจ

Packhai ตอบโจทย์ขายของออนไลน์

ทดลองใช้บริการ Fulfillment

Fulfillment ตัวช่วยคนขายของออนไลน์ ที่ช่วยลดต้นทุนการขายสินค้า ลดเวลาการทำงาน มีเวลาโฟกัสยอดขายได้มากขึ้น

สมัครใช้บริการ คลิกดูค่าบริการ

Inbound คือ ?

Inbound คือ การนำสินค้าเข้ามาจัดเก็บในคลังสินค้า หลังจากมีการสมัครใช้บริการคลังสินค้าออนไลน์เรียบร้อยแล้ว จะมีการนัดวัน เวลา ในการรับสินค้าเข้า ผู้ให้บริการอาจมีบริการเสริม เข้ารับสินค้ามาเก็บในคลังทั่วประเทศ ผู้ประกอบการไม่ต้องส่งสินค้ามาเก็บในคลังเองให้ยุ่งยาก เข้ารับฟรี ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งการนำสินค้าเข้ามาจัดเก็บ จะมีกระบวนการทำงานที่ละเอียดแม่นยำ ผ่านระบบ WMS (Warehouse Management System) คอยบันทึกข้อมูล นับจำนวนและติดบาร์โค้ดสินค้าทุกชิ้น ผู้ใช้บริการสามารถติดตามสต็อกสินค้า เช็คสถานะสินค้าได้ตลอดเวลา

Outbound หมายถึง?

Outbound คือ กระบวนการขาออก เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังจาก Inbound Fulfillment หรือหลังจากที่มีการจัดเก็บสินค้าเข้าคลังเรียบร้อยแล้ว เมื่อมีคำสั่งซื้อหรือมีออเดอร์เข้ามาในแต่ละแพลตฟอร์ม คลังสินค้าที่ได้รับออเดอร์ จะทำหน้าที่แทนผู้ประกอบการทุกอย่าง ค้นหาสินค้า หยิบสินค้ามาแพ็ค หลังจากแพ็คสินค้าเสร็จเรียบร้อย ก็จะไปส่งสินค้าให้กับบริษัทขนส่ง หรือเรียกบริษัทขนส่งเข้ารับสินค้า โดยที่ผู้ขายไม่ต้องเสียเวลาไปต่อคิวที่บริษัทขนส่ง เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรเวลา มุ่งเน้นไปที่งานขายได้ดียิ่งขึ้น

Inbound และ Outbound ต่างกันอย่างไร?

Inbound เป็นกระบวนการโลจิสติกส์ขาเข้า มีความเกี่ยวข้องกับการนำสินค้าเข้ามาจัดเก็บไว้ในสต็อกหรือคลังเก็บสินค้า ในขณะที่ Outbound เป็นกระบวนการโลจิสติกส์ขาออก เกี่ยวข้องกับการกระจายสินค้า ส่งมอบสินค้าให้ถึงมือผู้รับ หรือการส่งมอบสินค้าให้กับบริษัทขนส่ง Inbound กับ Outbound คือ กระบวนโลจิสติกส์ที่แตกต่างกัน กระบวนการโลจิสติกส์ขาเข้า (Inbound) เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นเรื่องการบริหารจัดการความสัมพันธ์ ระหว่างเจ้าของธุรกิจและผู้ให้บริการคลังสินค้าออนไลน์ สำหรับกระบวนการโลจิสติกส์ขาออก (Outbound) เป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ให้บริการคลังสินค้าออนไลน์กับบริษัทขนส่ง 

Inbound and Outbound

ทำไมถึงต้องวางแผนจัดการคลังสินค้า ขาเข้าและขาออกสำคัญยังไง

การวางแผนจัดการ Inbound, Outbound มีความสำคัญอย่างมาก หากไม่มีกระบวนการทำงานที่ดี ถูกต้อง แม่นยำในการรับสินค้าเข้ามาจัดเก็บในคลัง อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดตามมาได้ เช่น ไม่รู้จำนวนสินค้าหรือปริมาณสินค้าที่นำเข้ามาจัดเก็บ ไม่รู้ว่าสินค้าจัดวางไว้ตำแหน่งไหน พิกัดไหนในคลัง ค้นหาสินค้าได้ยาก ทำให้การจัดส่งล่าช้าตามไปด้วย หรือถ้าเลือกขนส่งไม่ดี ก็ทำให้การส่งมอบสินค้าล่าช้า ในขณะเดียวกันอาจมีต้นทุนสูงเกินความจำเป็น

สรุปแล้ว การจัดการสินค้าทั้งขาเข้า (Inbound) หรือขาออก (Outbound) มีความจำเป็นกับหลายธุรกิจที่มีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะถ้ามีการจัดการบริหารด้านโลจิสติกส์ การขนส่ง หรือการจัดเก็บสินค้า การจัดการสต๊อกสินค้า ตรวจสอบข้อมูลไม่ได้ จะส่งผลกระทบที่ไม่ดีต่อบริษัท ซึ่งหากภาคธุรกิจหรือพ่อค้าแม่ค้าท่านใดที่กำลังจะขยับขยายธุรกิจให้โตยิ่งขึ้น การมีระบบจัดการหลังบ้านที่ดี จะช่วยสร้างจุดเป็นต่อในตลาดได้อย่างมาก ซึ่งช่วยเพิ่มให้ประสิทธิภาพในการขายสินค้าเพิ่มสูงขึ้นในตรงกับความต้องการของตลาดหรือผู้บริโภค Packhai บริการคลังสินค้าออนไลน์ บริการ Fulfillment ครอบคลุมตั้งแต่ระบบจัดการคลังสินค้า (WMS) หรือระบบการจัดการออเดอร์ (OMS) ช่วยให้ธุรกิจของท่านไหลลื่น ไม่มีสะดุด หมดปัญหาเรื่องพื้นที่สต๊อคสินค้า หรือการส่งของผิด เพราะเรามีระบบหลังบ้านที่เก็บข้อมูลสินค้าของท่านทุกชิ้น ไม่ว่าจะขาเข้าหรือขาออก สามารถติดตามได้ตลอด สามารถติดต่อเราสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Packhai.com

ติดต่อเรา PACKHAI : Packhai.com/contact

เบอร์โทร : 097-267-9487

เฟสบุ๊ค : Packhaiofficial

อีเมล : cs@packhai.com

ไลน์ : @packhai

ยูทูป : PACKHAI Fulfillment

ติ๊กตอก : @packhai