ต้นทุนสินค้าคงคลัง (Inventory Cost) คืออะไร ? แบ่งเป็นกี่ประเภท มีต้นทุนอะไรบ้างที่ธุรกิจต้องรู้

ต้นทุนสินค้าคงคลัง Inventory Cost คืออะไร

ต้นทุนสินค้าคงคลัง คืออะไร ?

ต้นทุนสินค้าคงคลัง (Inventory Cost) คือ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการทำธุรกิจค้าขาย รวมถึงธุรกิจออนไลน์ย่อมมีต้นทุนสินค้าคงคลังเกิดขึ้น ทั้งค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ค่าใช้จ่ายเนื่องจากสินค้าขาดแคลนและค่าใช้จ่ายในการเตรียมเครื่องจักรใหม่ การบริหารจัดการต้นทุนสินค้าคงคลังนั้น สำคัญมากๆ ถ้าบริหารไม่ดี ต้นทุนสินค้าคงคลังจะสูง บางครั้งอาจทำให้ธุรกิจของคุณขาดทุนได้เลย วันนี้เรามีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับต้นทุนสินค้าคงคลังมาฝาก

ต้นทุนสินค้าคงคลังทั้ง 4 ชนิด มีต้นทุนอะไรบ้าง

1.ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ (Ordering Cost)

ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ (Ordering Cost) คือ ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าคงคลัง (Inventory) ซึ่งจะแปรผันไปตามจำนวนครั้งของการสั่งซื้อ แต่ไม่แปรผันตามปริมาณสินค้าคงคลัง หมายความว่า ไม่ว่าคุณจะสั่งซื้อสินค้ามากเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อก็จะยังคงที่ แต่ถ้าสั่งซื้อบ่อยครั้งหรือสั่งซื้อถี่ขึ้น จะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย โดยค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ เช่น ค่าจ้างพนักงานจัดซื้อ ค่าเอกสารใบสั่งซื้อ ค่าขนส่ง ค่าโทรศัพท์ ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน ฯลฯ

2.ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา (Carrying Cost)

ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา (Carrying Cost) คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเก็บรักษาสินค้า เพื่อให้สินค้านั้นๆ มีสภาพคงเดิมหรืออยู่ในลักษณะพร้อมใช้งาน สามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า ต้นทุนการถือครองสินค้าคงคลัง (Inventory holding Cost) โดยค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาจะแปรผันตามปริมาณสินค้าคงคลังที่เก็บไว้ รวมถึงระยะเวลาที่เก็บรักษาสินค้าคงคลังนั้นไว้ด้วย

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าเก็บรักษาอุณหภูมิ ค่าใช้จ่ายเมื่อสินค้าชำรุด เสียหาย หรือหมดอายุ เสื่อมสภาพจากการเก็บรักษาไว้นานเกินไป ค่าภาษีและประกันภัย ค่าจ้างพนักงานเฝ้าสินค้า ฯลฯ ในขณะเดียวกันต้นทุนเงินทุนที่จมอยู่กับสินค้าคงคลัง ถือได้ว่าเป็นค่าดอกเบี้ยจ่าย กรณีที่เงินทุนนั้นมาจากการกู้ยืม หรือเป็นค่าเสียโอกาส กรณีที่เป็นเงินทุนของเจ้าของ ซึ่งไม่ได้มาจากการกู้ยืม

3.ค่าใช้จ่ายเนื่องมาจากสินค้าขาดแคลน (Shortage Cost)

ค่าใช้จ่ายเนื่องมาจากสินค้าขาดแคลน (Shortage Cost หรือ Stock Out Cost) คือ ค่าใช้จ่ายนี้เกิดขึ้นจากกรณีที่สินค้าคงคลังไม่เพียงพอต่อการขาย ส่งผลให้เกิดการยกเลิกออเดอร์ ทำให้ขาดรายได้ที่ควรจะได้รับ ซึ่งทำให้ภาพลักษณ์ธุรกิจของคุณดูไม่ค่อยดีนัก นอกจากนั้นยังทำให้กระบวนการผลิตหยุดชะงัก เกิดการว่างงาน โดยค่าใช้จ่ายนี้จะแปรผันไปตามปริมาณสินค้าคงคลังที่ถือไว้ หมายความว่าถ้าถือสินค้าไว้มาก จะไม่เกิดปัญหาสินค้าขาดแคลน แต่ถ้าถือไว้น้อยจะทำให้เกิดปัญหาสินค้าขาดแคลนได้

ค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการขาดแคลนนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณการขาดแคลน รวมถึงระยะเวลาที่เกิดการขาดแคลนด้วย ค่าใช้จ่ายจากการขาดแคลนสินค้า เช่น ค่าปรับที่เกิดจากการส่งสินค้าล่าช้า ค่าเสียโอกาสในการขาย ค่าสั่งซื้อสินค้าล็อตพิเศษนำเข้าทางอากาศ เพื่อนำมาใช้ฉุกเฉิน ฯลฯ

4.ค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องจักรใหม่ (Setup Cost)

ค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องจักรใหม่ (Setup Cost) คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการตั้งเครื่องจักรใหม่ เพื่อเปลี่ยนสายการผลิต เปลี่ยนการทำงานอีกอย่างหนึ่งไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเกิดการว่างงานชั่วคราว สินค้าคงคลังจะถูกปล่อยให้รอกระบวนการผลิตที่จะตั้งใหม่ ค่าใช้จ่ายชนิดนี้มีลักษณะเป็นต้นทุนคงที่ต่อครั้ง และเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิตที่สำคัญของธุรกิจ

โดยค่าใช้จ่ายตรงจุดนี้จะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของล็อตการผลิต ถ้าเป็นการผลิตล็อตใหญ่อาจมีการตั้งเครื่องใหม่นานๆ ครั้ง ทำให้ที่ค่าใช้จ่ายต่ำ แต่ยอดสะสมสินค้าคงคลังจะสูงแทน แต่ถ้าผลิตล็อตขนาดเล็กที่มีการตั้งเครื่องจักรบ่อยครั้งจะมีค่าใช้จ่ายสูง แต่สินค้าคงคลังจะมีระดับต่ำ อีกทั้งยังสามารถส่งงานให้ลูกค้าได้เร็วขึ้น

โดยสรุปคุณจะเห็นได้ว่าค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าคลังต่างๆ เหล่านี้ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาจะสูงกรณีที่มีระดับสินค้าคงคลังสูง และค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาจะต่ำ เมื่อมีระดับสินค้าคงคลังต่ำ ในส่วนค่าใช้จ่ายจากการสั่งซื้อ ค่าใช้จ่ายเนื่องจากสินค้าเกิดปัญหาขาดแคลนและค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องจักรใหม่ จะตรงกันข้าม คือ ค่าใช้จ่ายจะสูง เมื่อมีระดับสินค้าคงคลังต่ำ และค่าใช้จ่ายจะต่ำ เมื่อระดับสินค้าคงคลังสูง ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าค่าใช้จ่ายสินค้าคงคลังจะต่ำสุด ณ ระดับที่ค่าใช้จ่ายทุกตัวรวมกันแล้วต่ำสุดนั่นเอง

packhai fulfillment เก็บ แพ็ค ส่ง

ลดต้นทุนจัดการสินค้าคงคลังง่ายๆ ด้วยคลังสินค้าออนไลน์ Fulfillment Packhai

การบริหารสินค้าคงคลังเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ และถ้าคุณขายของออนไลน์ แต่พบปัญหาบริหารจัดการสินค้าคงคลังได้ไม่ดี มีปัญหาเรื่องการสต๊อกสินค้า ไม่มีพื้นที่จัดเก็บสินค้า เงินทุนน้อยสร้างคลังสินค้าเองไม่ได้ แนะนำบริการคลังสินค้าออนไลน์ของ Packhai ผู้ให้บริการคลังสินค้าออนไลน์ Fulfillment ที่ครอบคลุมและตอบโจทย์มากที่สุด รับเก็บสินค้า รับฝากสินค้า มีบริการแพ็คสินค้าพร้อมจัดส่ง

คุณสามารถลดต้นทุนสินค้าคงคลัง และบริหารจัดการสินค้าคงคลังได้ง่ายๆ ด้วย Fulfillment Packhai ที่มีระบบจัดการคลังสินค้าที่ทันสมัย คุณสามารถตรวจสอบสินค้าคงคลังหรือบริหารจัดการสินค้าในคลังได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านหน้าจอคอมฯ หรือสมาร์ทโฟน อยู่ที่ไหนก็ทำงานได้ ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่คลัง

เพราะเรามีระบบจัดการออเดอร์และคลังสินค้าในที่เดียว ระบบหลังบ้านที่จะช่วยให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทำงานง่ายขึ้น สามารถเช็คสต๊อก ติดตามสถานะ ดูยอดขาย ลงออเดอร์หรือดูรายงานวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ไม่มีปัญหาค่าใช้จ่ายสินค้าคงคลังสูงขึ้นแน่นอน เพราะที่นี่เก็บรักษาสินค้าของคุณอย่างดี จัดเก็บสินค้าให้คุณอย่างดี มีพนักงานดูแลตลอดเวลา มีบริการแพ็คสินค้า ช่วยจัดหาสินค้าและจัดส่งสินค้าให้คุณ แพ็คเร็ว แพ็คดี ส่งเร็วทันใจแน่นอน

Packhai มีค่าบริการเท่าไหร่ โดยให้บริการแพ็คสินค้า รวมค่ากล่อง + อุปกรณ์ เริ่มต้นแค่ 10บาท/ออเดอร์เท่านั้น ค่าขนส่งคิดตามจริง ไม่มีบวกเพิ่ม การเก็บสินค้าเริ่มต้นแค่ 250 บาท/เดือน บอกเลยว่าถูกและคุ้มมากๆ การจัดส่ง ค่ารถ ค่าน้ำมันรถ ฟรี จ้างพนักงานแพ็ค ฟรี มีระบบหลังบ้านที่ทันสมัยให้คุณใช้งานฟรีด้วย บริการคลังสินค้าออนไลน์ถูก คุ้ม และดีกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว

อยากรู้ว่าคลังสินค้าออนไลน์ Fulfillment Packhai ดีกว่าเจ้าอื่นยังไง ? คลิกที่นี่

บริการ Fulfillment Packhai

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *