สินค้าขาดสต๊อก คืออะไร ? สาเหตุมาจากอะไร มีวิธีแก้ไขและรับมืออย่างไรบ้าง

สินค้าขาดสต๊อก คืออะไร สาเหตุมาจากอะไร

สินค้าขาดสต๊อก คืออะไร ?

สินค้าขาดสต๊อก คือ การที่ธุรกิจมีสินค้าในสต๊อกน้อยกว่าความต้องการของลูกค้า ทำให้สินค้าขาดมือ หรือมีสินค้าไม่พอขายนั่นเอง ซึ่งถือเป็นต้นทุนค่าเสียโอกาสอย่างหนึ่ง เนื่องมีความต้องการซื้อสินค้า แต่ธุรกิจกลับไม่มีสินค้าให้ขาย ส่งผลให้ลูกค้าเกิดความไม่พึงพอใจ และอาจหันไปเลือกซื้อสินค้าจากคู่แข่งของเราแทนได้ ดังนั้นปัญหาสินค้าขาดสต๊อกหรือสต๊อกติดลบ จึงถือเป็นปัญหาสำคัญที่ธุรกิจไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง ธุรกิจขายของออนไลน์ ธุรกิจ E-Commerce หรือธุรกิจอื่นๆ ที่จำเป็นต้องมีการจัดเก็บสต๊อกสินค้า

ความหมายของสินค้าขาดในเชิงภาษี

ในเชิงของการบัญชีและการเสียภาษี สินค้าขาด หมายถึง จำนวนสินค้าคงเหลือที่ตรวจนับ “ น้อยกว่า ” จำนวนสินค้าที่แสดงในรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการที่สินค้าสูญหาย การขายสินค้าออกไปแต่ไม่ได้บันทึกรายการ หรือไม่ได้เปิดใบกำกับภาษี โดยรายการสินค้าที่ขาดไปนั้น จะถูกคิดเป็นการขายสินค้า และต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะถูกปรับเป็น 2 เท่าของเงินภาษีที่ต้องจ่าย

ข้อควรปฏิบัติเมื่อมีสินค้าขาดสต๊อก

หากธุรกิจตรวจพบว่ามีสินค้าขาดสต๊อก ควรปฏิบัติดังนี้

  • สินค้าที่ขาด ต้องนำมาคิดและเสียภาษีขาย ตามราคาตลาดของสินค้า ณ วันที่ตรวจสอบพบ
  • ต้องทำการเสียค่าเบี้ยปรับ 2 เท่า ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีขาย ซึ่งอาจขอปรับลดเบี้ยปรับได้ในบางกรณี
  • ใช้รายงานการตรวจนับสินค้า เป็นหลักฐานในการปรับจำนวนสินค้าที่ขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ให้ตรงกับความเป็นจริง
สินค้าขาดสต๊อก เกิดจากสาเหตุอะไร

สินค้าขาดสต๊อก เกิดจากสาเหตุอะไร ?

1.ซื้อวัตถุดิบหรือสินค้าน้อยกว่าความต้องการของลูกค้า

การซื้อวัตถุดิบหรือซื้อสินค้า น้อยกว่าความต้องการของลูกค้า ถือเป็นสาเหตุหลักเลยที่ทำให้เกิดปัญหาสินค้าขาดสต๊อกขึ้น เนื่องจากธุรกิจอาจวางแผนการจัดซื้อไม่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า หรืออาจจะกังวลเรื่องสินค้าขายไม่ออก กลัวจะมี Dead Stock เยอะ จึงทำให้จัดเก็บสต๊อกสินค้าน้อยกว่าความเป็นจริง

2.ไม่จัดหมวดหมู่ในการจัดเก็บสินค้า

สาเหตุต่อมาที่ทำให้สินค้าขาดสต๊อก ก็คือ การไม่จัดหมวดหมู่ในการจัดเก็บสินค้า ทำให้สินค้าคงคลังไม่เป็นระเบียบ สินค้าปนกันมั่วไปหมด ส่งผลให้ใช้เวลานานในการค้นหาสินค้า หาสินค้าไม่เจอ และเมื่อขายสินค้าออกไปแล้ว ก็มีโอกาสสูงที่จะไม่ได้บันทึกรายการ เนื่องจากตรวจเช็คสินค้าได้ยากนั่นเอง

3.มีกระบวนการทำงานที่ไม่เป็นระบบ

การมีกระบวนการทำงานในคลังสินค้าที่ไม่เป็นระเบียบ อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสินค้าขาดสต๊อกได้ เช่น การที่แผนกต่างๆ ในคลังสินค้า ไม่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน สื่อสารกันผิดพลาด หรือไม่มีการทำงานร่วมกัน ก็จะทำให้การจัดการสต๊อกสินค้าไม่มีประสิทธิภาพ ข้อมูลขาดความถูกต้องแม่นยำ จากการตกหล่นหรือทำงานซ้ำซ้อนกัน

4.การนำระบบมาใช้อย่างไม่เหมาะสม

หลายธุรกิจอาจคิดว่าการนำระบบและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ จะช่วยให้การทำงานสะดวกและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่หารู้ไหมว่าหากนำมาใช้โดยไม่มีการวางระบบให้ดีและเหมาะสม ก็สามารถส่งผลเสียต่อการทำงานได้เช่นกัน เช่น ธุรกิจที่ขายสินค้าแบบ make-to-stock กับแบบ make-to-order ก็จะมีระบบและกระบวนการจัดการสต๊อกสินค้าที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรพิจารณาให้ดีก่อนนำเอาระบบต่างๆ เข้ามาใช้ในการทำงาน

คลิกอ่านเพิ่มเติม : รวม 6 เทคโนโลยีที่ใช้ในคลังสินค้า ที่มีความสำคัญและประโยชน์ต่อธุรกิจ พร้อมวิธีการเลือกใช้งาน

5.พนักงานขาดองค์ความรู้ในการจัดการสต๊อก

ความรู้ความเข้าใจและทักษะของพนักงาน นั้นมีผลอย่างมากต่อการบริหารจัดการสต๊อกสินค้า โดยเฉพาะองค์ความรู้ด้านการวางแผนจัดซื้อ การจัดการสต๊อกสินค้า และการเติมสินค้า รวมไปถึงทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้กับการทำงานจริง ซึ่งหากพนักงานขาดองค์ความรู้และทักษะต่างๆ เหล่านี้ ก็อาจจะทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ และมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้สูง

วิธีแก้และรับมือปัญหาสต๊อกขาด สินค้าไม่พอขาย

วิธีแก้และรับมือปัญหาสต๊อกขาด สินค้าไม่พอขาย

1.วางแผนการสต๊อกสินค้า

ในการแก้ปัญหาสินค้าขาดสต๊อก สิ่งแรกที่ธุรกิจควรทำเลยก็คือ การวางแผนการจัดเก็บสต๊อกสินค้า ว่าควรจะสต๊อกสินค้าจำนวนเท่าไหร่ ถึงจะเพียงพอกับความต้องการของลูกค้า โดยไม่ให้เกิดสินค้าขาดหรือสินค้าล้นสต๊อก ซึ่งต้องอาศัยการเข้าใจถึงพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้า และการคาดการณ์ปริมาณความต้องการสินค้าในแต่ละช่วงเวลา

2.จัดเก็บสินค้าอย่างเป็นระเบียบ

การจัดเก็บสินค้าอย่างเป็นระบบ และจัดหมวดหมู่ของสินค้าให้ชัดเจน สามารถช่วยลดปัญหาการเกิดสินค้าขาดสต๊อกได้เป็นอย่างดี เพราะเมื่อสต๊อกสินค้าเป็นระเบียบ ธุรกิจก็จะสามารถค้นหาสินค้าได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น เมื่อมีสินค้าเข้าหรือออกจากสต๊อก ก็สามารถตรวจเช็คได้ทันที จึงช่วยลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาดต่างๆ ได้นั่นเอง

3.ตรวจเช็คสต๊อกสินค้าเป็นประจำ

ในการทำธุรกิจขายสินค้า แน่นอนว่าในแต่ละวันย่อมมีสินค้าเข้า-ออกคลังสินค้าเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการหมั่นตรวจเช็คสต๊อกสินค้าเป็นประจำ จึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจควรทำ เพราะจะช่วยให้ธุรกิจรู้ความเคลื่อนไหวของสินค้าในสต๊อก ทำให้รู้ว่าตอนนี้ธุรกิจมีสินค้าขาด หรือสินค้าคงค้างในสต๊อกมากน้อยแค่ไหน

4.นำระบบมาช่วยในการทำงาน

อย่างที่รู้กันว่าการบริหารจัดการสต๊อกสินค้านั้น เป็นงานที่มีหลายขั้นตอนและมีความซับซ้อน หากจะให้มานั่งเขียนข้อมูลลงกระดาษ หรือคีย์ข้อมูลสินค้าทีละตัว ก็คงจะเสียเวลามากๆ แถมยังมีโอกาสผิดพลาดได้ง่ายอีกด้วย แต่หากมีการนำระบบและเทคโนโลยี อย่างระบบจัดการคลังสินค้าหรือระบบ WMS เข้ามาช่วย ก็จะทำให้ธุรกิจสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

5.ใช้คลังสินค้าระบบ Fulfillment

ปัจจุบันบริการคลังสินค้า Fulfillment ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการช่วยบริการจัดการสต๊อกสินค้าและป้องกันปัญหาสินค้าขาดสต๊อกให้กับธุรกิจ เนื่องจากเป็นบริการคลังสินค้าออนไลน์อย่างครบวงจร พร้อมทีมงานมืออาชีพ และระบบจัดการคลังสินค้า ซึ่งจะช่วยจัดการงานตั้งแต่การจัดเก็บ แพ็ค และส่งสินค้า โดยที่ธุรกิจไม่ต้องเหนื่อยและเสียเวลาจัดการงานเหล่านี้เอง

ในการทำธุรกิจที่ต้องมีการจัดเก็บสต๊อกสินค้า ปัญหาสินค้าขาดสต๊อก สต๊อกขาด หรือสินค้าไม่พอขาย ถือเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อยอดขาย และการเสียเบี้ยปรับในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นหากไม่อยากให้มีสินค้าขาดสต๊อก ธุรกิจควรมีการวางแผนในการบริหารจัดการสต๊อกสินค้าให้ดี จัดเก็บสินค้าให้เป็นหมวดหมู่ คอยตรวจเช็คสต๊อกสม่ำเสมอ รวมถึงควรมีการนำระบบต่างๆ เข้ามาช่วยในการทำงาน หรือหากไม่อยากจัดการเอง ก็อาจจะเลือกใช้บริการคลังสินค้าออนไลน์ Fulfillment เก็บ แพ็ค ส่ง ก็ได้เช่นกัน

อยากรู้ว่าคลังสินค้าออนไลน์ Fulfillment Packhai ดีกว่าเจ้าอื่นยังไง ? : คลิกที่นี่

Packhai ตอบโจทย์ขายของออนไลน์

ทดลองใช้บริการ Fulfillment

Fulfillment ตัวช่วยคนขายของออนไลน์ ที่ช่วยลดต้นทุนการขายสินค้า ลดเวลาการทำงาน มีเวลาโฟกัสยอดขายได้มากขึ้น

สมัครใช้บริการ คลิกดูค่าบริการ

ติดต่อเรา PACKHAI : Packhai.com/contact

เบอร์โทร : 097-267-9487

เฟสบุ๊ค : Packhaiofficial

อีเมล : cs@packhai.com

ไลน์ : @packhai

ยูทูป : PACKHAI Fulfillment

ติ๊กตอก : @packhai

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *