สตาร์ทอัพ (Startup) เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบันนี้ ทำให้ Startup เข้ามามีบทบาทในการทำธุรกิจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นธุรกิจที่สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหลายคนก็คงอาจพอรู้จักกับธุรกิจ Startup กันมาบ้างแล้ว ดังนั้นบทความนี้ Packhai จะพาคุณไปทำความรู้จักกับธุรกิจ Startup ให้มากขึ้นว่าคืออะไร มีความน่าสนใจอย่างไร และมีความเหมือนหรือแตกต่างจากธุรกิจ SME อย่างไร
Startup คืออะไร ?
Startup คือ ธุรกิจอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่หรือเรียกให้เข้าใจง่ายๆ ว่า ผู้ประกอบการที่เกิดขึ้นใหม่ โดยจะเน้นการเติบโตอย่างรวดเร็วหรือก้าวกระโดด เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับธุรกิจจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องหรืออยู่ในวงการ IT เช่น แอปพลิเคชั่นต่างๆ ที่เรานิยมใช้กันในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น Facebook , Grab หรือ Google ก็เริ่มต้นธุรกิจแบบ Startup ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่า ธุรกิจเหล่านี้สามารถประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็วเลยนั่นเอง
ธุรกิจ Startup กับ SME แตกต่างกันอย่างไร
เชื่อว่ายังมีหลายคนในปัจจุบันนี้เข้าว่าธุรกิจ Startup กับ SME นั้นเหมือนกัน ซึ่งต้องบอกเลยว่ามีความแตกต่างกันพอสมควรเลย เพราะ Startup นั้นมีเป้าหมายที่จะเติบโตไปเป็นองค์กรใหญ่ บริการและผลิตสิ่งของแบบใหม่ มีโครงสร้างที่เป็นโมเดล สามารถขยายหรือลดขยาดได้ รวมถึงสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การหาผู้ร่วมลงทุน ในขณะที่ SME ต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเอง มีการเปลี่ยนที่ไม่บ่อย รวมถึง ธุรกิจแบบ SEM เจ้าของต้องดำเนินธุรกิจการหาเงินทุนเอง ทำให้อาจมีการกู้ยืมจากธนาคารมาลงทุนนั่นเอง
คลิกอ่านเพิ่มเติม: แนะนำ 12 ธุรกิจ ทำธุรกิจอะไรดี? ที่น่าสนใจ และเป็นที่ต้องการของตลาด
จุดเด่นที่น่าสนใจของธุรกิจ Startup
สำหรับจุดเด่นของธุรกิจ Startup นั้น แน่นอนว่ามีเยอะมากๆ ไม่ว่าจะเป็นได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกรมสรรพากร ได้รับการสนับสนุนสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรม เช่น การวางมาตรฐาน กฎที่จำเป็น ได้รับการสนับสนุนสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรมภาคเอกชน ไม่ต้องเสี่ยงลงทุนด้วยตนเอง เพราะมีนักลงทุนค่อยสนับสนุนอยู่ และแน่นอนว่าข้อดีที่หลายคนเลือกทำธุรกิจแบบ Startup ก็คือ สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วและสามารถทำกำไรได้มากนั่นเอง
สตาร์ทอัพสามารถหาแหล่งเงินทุน จากไหนได้บ้าง ?
1.Venture Capital
เป็นการหาเงินลงทุนที่ผู้บริหารเงินทุน สามารถทลงทุนได้อย่างมีความเป็นมืออาชีพ ทำให้แหล่งเงินทุนจาก Venture Capital นั้นจะเลือกลงทุนกับ Startup ที่มีความโดดเด่นและมีศักยภาพสูงเท่านั้น เมื่อ Startup เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ก็จะออกจากการลงทุนนั่นเอง
2.Angel Investor
เป็นการที่นักลงทุนที่สนใจหรือมีความเชี่ยวชาญในการลงทุน Startup ซึ่งปกติจะมีการขอ Proposals และจะมีการตรวจสอบก่อนการลงทุน โดยในอดีตนั้นนักลงทุนมักจะหวังผลกำไรประมาณ 30% จากเงินที่ลงทุนไป เรียกได้ว่าเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง และเพื่อผลตอบแทนที่สูงนั่นเอง
3.Crowdfunding
เป็นการหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะกับธุรกิจ Startup ที่เริ่มมีชื่อเสียง โดยเจ้าของ Startup จะต้องแสดงรายละเอียด เป้าหมาย แผนการในการสร้างกำไร และจำนวนเงินในการลงทุนไว้อย่างละเอียด เมื่อมีผู้สนใจก็สามารถให้เงินลงทุนกับธุรกิจ Startup ของคุณ
4.Bootstrapping
Bootstrapping เป็นการใช้เงินในการลงทุนของตัวเอง ซึ่งเป็นวิธีการลงทุนที่เหมาะสำหรับธุรกิจ Startup ที่พึ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ ซึ่งอาจยังไม่มีผลงานเอาไว้โชว์ให้กับนักลงทุนนั่นเอง
ธุรกิจ Startup มีกี่ประเภท
1.ธุรกิจ Startup HealthTech
เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจ Startup ที่สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากคนยุคใหม่หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพร่างกายตนเองมากขึ้น แถมยังมีแอปพลิเคชั่น เว็บไซต์ ที่ให้ปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพมากมาย ทำให้ไม่ต้องเดินทางไปถึงโรงพยาบาล
2.ธุรกิจ Startup FinTech
FinTech เป็นธุรกิจ Startup ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจการเงิน ธนาคาร รวมถึงการลงทุนต่างๆ เพื่อทำให้บริการมีประสิทธิภาพมาขึ้น ซึ่งนั้นก็เป็นสิ่งที่เรามีการใช้งานเป็นประจำ เช่น การโอนเงิน การชำระเงินผ่านมือถือ หรือเครื่อง EDC สำหรับรับชำระเงินหน้าร้าน
3.ธุรกิจ Startup E-Commerce & Logistics
สำหรับธุรกิจ Startup E-Commerce & Logistics นั้นต้องบอกเลยว่ากำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะในยุคนี้สามารถเข้าถึงโลกอินเทอร์เน็ตได้อย่างทั่วถึง ทำให้ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายก็ปรับเปลี่ยนมาอยู่ในรูปแบบของออนไลน์ ทำให้ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังหน้าร้าน สามารถขายสินค้าได้ผ่านช่องทาง E-Commerce เว็บไซต์ หรือทาง Social Media ต่างๆ ได้อย่างสะดวก
นอกจากเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้าแล้ว ธุรกิจสตาร์ทอัพประเภทนี้ยังรวมถึงธุรกิจเทคโนโลยีที่สนับสนุนการขายด้วย เช่น ระบบหลังบ้าน ระบบจัดการออเดอร์ (OMS) ระบบจัดการคลังสินค้า (WMS) คลังสินค้าอัจฉริยะหรือ Smart Warehouse เป็นต้น ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยให้การทำธุรกิจ E-Commerce และ Logistics นั้นมีประสิทธิภาพและไร้รอยต่อมากยิ่งขึ้น
คลิกดูข้อมูลและฟีเจอร์เพิ่มเติม : ระบบจัดการออเดอร์และคลังสินค้าในที่เดียว By Packhai
ทดลองใช้บริการ Fulfillment Fulfillment ตัวช่วยคนขายของออนไลน์ ที่ช่วยลดต้นทุนการขายสินค้า ลดเวลาการทำงาน มีเวลาโฟกัสยอดขายได้มากขึ้น
4.ธุรกิจสตาร์ทอัพด้าน AgriTech
ธุรกิจ Startup เกี่ยวการเกษตร จะนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อแก้ปัญหาในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสต๊อกสินค้า การจัดการ การบริหารราคา หรือเพื่อช่วยเหลือเงินทุนให้กับเกษตรผลักดันอุตสาหกรรมการเกษตรเติบโตได้นั่นเอง
5.ธุรกิจสตาร์ทอัพด้าน EdTech
ธุรกิจสตาร์ทอัพเกี่ยวกับการศึกษา เป็นอีกหนึ่ง Startup ที่น่าสนใจ เนื่องจากคนยุคนี้หันมาสนใจศึกษาหาความรู้ในด้านต่างๆ มากขึ้น สามารถเลือกคอร์สเรียนออนไลน์ต่างๆ ที่ต้องการได้ ซึ่งมักจะอยู่ในรูปแบบการเรียนผ่านเว็บไซต์ หรือการเรียนผ่านแอปพลิเคชั่น
ก็จะเห็นได้ว่าธุรกิจ Startup นั้นเป็นธุรกิจที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว สามารถสร้างกำไรจากการลงทุนได้จำนวนมาก แต่ก็เป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงมากเช่นเดียวกัน ดังนั้นก่อนลงทุนทำธุรกิจ Startup จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูล วางแผนกลยุทธ์ด้านต่างๆ ให้ดี เพื่อที่ธุรกิจจะได้สามารถเติบโตและทำกำไรได้นั่นเอง
สำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพที่ต้องมีการจัดเก็บสต๊อกสินค้าอย่าง ธุรกิจด้าน E-Commerce หรือธุรกิจออนไลน์ หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และอยากเติบโตได้เร็วขึ้น การเลือกใช้บริการคลังสินค้าออนไลน์ Fulfillment ถือว่าตอบโจทย์มากๆ เพราะธุรกิจไม่ต้องคอยจัดการงานหลังบ้านต่างๆ เอง Fulfillment จะช่วยจัดการงานด้านการเก็บ แพ็ค และส่งสินค้าให้ทั้งหมด ทำให้ธุรกิจมีเวลามากขึ้นในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตนั่นเอง
คลิกดูข้อมูลและฟีเจอร์เพิ่มเติม : บริการคลังสินค้าออนไลน์ระบบ Fufillment BY Packhai
ทดลองใช้บริการ Fulfillment
Fulfillment ตัวช่วยคนขายของออนไลน์ ที่ช่วยลดต้นทุนการขายสินค้า ลดเวลาการทำงาน มีเวลาโฟกัสยอดขายได้มากขึ้น
สมัครใช้บริการ คลิกดูค่าบริการ