Dead Stock (สินค้าค้างสต๊อก)
Dead Stock หรือสินค้าค้างสต๊อก ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่ธุรกิจไม่อยากมี โดยเฉพาะธุรกิจขายสินค้า ที่จำเป็นต้องมีการจัดเก็บสต๊อกสินค้า เพื่อเตรียมขายให้กับลูกค้า เนื่องจากการมี Dead Stock มากเกินไป อาจส่งผลให้ธุรกิจมีต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้น จนแม้ว่าจะขายสินค้าได้มาก แต่กลับไม่ค่อยมีกำไรเท่าที่ควร ดังนั้นการเข้าใจถึงลักษณะของสินค้าค้างสต๊อก เพื่อหาทางรับมือและจัดการให้มีสินค้าในสต๊อกอย่างเหมาะสม จึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจยุคนี้ควรให้ความสำคัญ
Dead Stock คืออะไร?
Dead Stock คือ สินค้าที่ค้างอยู่ในสต็อก ไม่ได้มีการนำออกมาขายหรือไม่มีการเคลื่อนไหวมานาน หรืออาจจะเป็นสินค้าค้างสต็อกที่ขายไม่ออกจนถูกเก็บไว้ในสต๊อกเป็นการถาวร ซึ่งการที่มีสินค้าอยู่ในสต๊อกมากเกินไปนั้นย่อมเกี่ยวข้องกับเรื่องของธุรกิจโดยตรง เพราะเมื่อมีการค้างของสินค้าก็แสดงว่าสินค้าเหล่านั้นไม่เป็นที่ต้องการ ไม่ได้รับความนิยมหรือพูดง่ายๆ ว่าขายไม่ออก และถ้าเกิดว่ามีสินค้าที่ขายไม่ออกมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งส่งผลเสียและเพิ่มต้นทุนให้ธุรกิจ
Dead Stock มีลักษณะเป็นอย่างไร
ลักษณะของ Dead Stock ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนไหวมานาน เปรียบเสมือนของเก่าที่ถูกเก็บไว้เฉยๆ ใช้ประโยชน์ไม่ได้ ซึ่งลักษณะของสินค้าค้างสต๊อก ก็มีอยู่หลากหลายลักษณะ เช่น สินค้าที่ขายไม่ออก สินค้าที่ได้รับความเสียหาย สินค้าที่ล้าสมัยไม่ได้รับความนิยม รวมไปถึงสินค้าที่มีการส่งคืนจากลูกค้า ไม่สามารถนำไปขายต่อได้ และถ้าหากว่าสินค้าลักษณะนี้มีจำนวนที่มากเกินไปประกอบกับขายไม่ออกจริงๆ ก็จะกลายมาเป็นสินค้าค้างสต๊อกนั่นเอง
คลิกอ่านเพิ่มเติม : อัปเดต 10 สินค้าขายดี เทรนของขายออนไลน์ยอดฮิต ที่คนนิยมขาย รู้ก่อน รวยก่อน!
สาเหตุที่ทำให้เกิด Dead Stock
1.สินค้าขายไม่ดี
สาเหตุนี้ถือว่าเป็นสาเหตุหลักๆของการเกิด Dead Stock ซึ่งการขายไม่ดีก็มาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคาสินค้าที่อาจจะแพงเกินไป สินค้าไม่ติดเทรนด์ ไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย สินค้าแพ้คู่แข่งหรือไม่ได้รับความนิยมเท่า
คลิกอ่านเพิ่มเติม: แนะนำ 15 วิธีเพิ่มยอดขาย วิธีกระตุ้นยอดขายให้ปัง หากอยากเพิ่มยอดขาย ทำตามนี้เห็นผลแน่นอน
2.สินค้าชำรุดเสียหาย
ในเรื่องของสินค้าชำรุดเสียหายก็มาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของกระบวนการผลิต กระบวนการแพ็กสินค้า ซึ่งแน่นอนว่าถ้าสินค้าชำรุดเสียหายก็จะทำให้สินค้าขายไม่ออก เกิดเป็น Dead Stock ขึ้นมาในที่สุด
3.สต๊อกสินค้ามากเกินไป
เรื่องนี้มักจะเกิดขึ้นกับสินค้าที่ขายดีและกำลังได้รับความนิยมอยู่ในช่วงเวลาหนึ่งหรือติดแทนความนิยมในเวลาแต่เมื่อเวลาผ่านไปค่านิยมของสินค้าก็เปลี่ยนไปตามกาลเวลา ทำให้มีการสต๊อกสินค้ามากเกินไป เกิดผลเสียตามมาเพราะไม่สามารถขายสินค้าได้นั่นเอง
4.มีการแข่งขันทางการค้าสูง
ว่าด้วยเรื่องของการค้าขายไม่ว่าจะยุคไหนสมัยไหน ต่างก็ต้องมีการแข่งขันกันเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งการแข่งขันในเรื่องของสินค้านี้เองที่มักจะทำให้สินค้าหลายชนิด ขายไม่ออก ไม่ได้รับความสนใจมากพอ และสุดท้ายก็เกิดเป็นสินค้าค้างสต๊อกขึ้นมา
5.สินค้าไม่ได้มาตรฐาน
เรื่องของสินค้าไม่ได้มาตรฐานก็ถือว่าเป็นเอกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิด Dead Stock เพราะถ้าหากสินค้าถึงมือลูกค้าแต่ว่าใช้ประโยชน์ไม่ได้ หรือเป็นสินค้าที่ไม่มีมาตรฐานตามที่โฆษณา ลูกค้าก็อาจจะคอมเพลนหรือส่งสินค้าคืนกลับมา ทำให้สินค้าตกค้างอยู่ในสต๊อกและก็ทำให้ขายไม่ได้นั่นเอง
หากมีสินค้า Dead Stock เยอะๆ จะส่งผลเสียอย่างไรต่อธุรกิจ
1.เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
ในกรณีที่มีการเก็บสินค้าในสต๊อกสินค้าเอาไว้ จะต้องมีการเช่าพื้นที่หรือเช่าสต๊อกเพื่อเก็บสินค้า ซึ่งสินค้าบางประเภทก็อาจจะต้องมีสถานที่เพื่อเก็บรักษาให้คงสภาพเดิม ซึ่งนั่นก็ทำให้ต้องแบกค่าใช้จ่าย แบกต้นทุนในการจัดเก็บรักษาสินค้าเอาไว้ และยิ่งหากมีสินค้าค้างสต๊อก ต้นทุนในการจัดเก็บก็จะยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย
คลิกอ่านเพิ่มเติม: ต้นทุนจม ( SUNK COST ) คืออะไร เกิดจากอะไร ขายของอย่างไรดีไม่ให้ต้นทุนจม มีมาฝาก !
2.มีค่าเสียโอกาสเกิดขึ้น
ต้นทุนค่าเสียโอกาสเป็นผลพวงมาจากการจ่ายค่าเช่าเก็บรักษาสินค้าในสต๊อก เพราะต้องเสียเงินส่วนหนึ่งไปกับการจัดเก็บ จึงทำให้ต้นทุนหรือเงินที่มีอยู่ลดน้อยลงเรื่อยๆ จนทำให้เสียโอกาสในการทำธุรกิจในอนาคตไปอย่างที่ไม่ควรจะเป็น
3.มีโอกาสขาดทุนสูง
เพราะเนื่องจากว่าการสต๊อกสินค้าเพื่อจะมาขายนั้นต้องใช้เงินที่ค่อนข้างสูง ในเมื่อขายสินค้าไม่ได้ด้วยหลายปัจจัย เกิดเป็น Dead Stock ขึ้นมา แน่นอนว่าต้นทุนที่เสียไปอาจจะไม่มีทางได้กลับคืนมา สุดท้ายก็ทำให้ขาดทุนนั่นเอง
7 วิธีจัดการกับ Dead Stock เพื่อลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น
1.จัดโปรโมชั่น เพื่อระบายสินค้า
เนื่องจากไม่ว่าจะเป็นใคร อาชีพไหน ต่างก็ต้องการซื้อสินค้าที่มีราคาถูก ดังนั้นการจัดโปรโมชั่น เช่น โปรลดราคา, โปรซื้อ 1 แถม 1, หรือโปรซื้อยกแพ็ค ฯลฯ ก็จะช่วยในการจัดการสินค้าค้างสต๊อกและระบายสินค้าออกไปได้
2.จัดเก็บสินค้าอย่างเป็นระบบ
สำหรับสินค้าที่มีวันหมดอายุหรือมีระยะเวลาในการใช้งาน สินค้าประเภทต่างๆ เหล่านี้ ต้องได้รับการเก็บรักษาที่ดีและมีมาตรฐาน เพราะถ้าหากว่าจัดเก็บไม่ดี สินค้าหมดอายุเร็วก็จะทำให้ขายไม่ได้ จึงควรที่จะจัดเก็บสินค้าเหล่านี้ให้คงคุณภาพไว้ได้ดีที่สุด
3.ใช้การขายแบบพรีออเดอร์
การขายของแบบพรีออเดอร์ ถือว่าดีต่อผู้ผลิตหรือเจ้าของธุรกิจเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้สามารถขายสินค้าได้ตามความต้องการของลูกค้า โดยที่ไม่ต้องสต๊อกสินค้าเยอะ ไม่เสี่ยงต่อการขาดทุน อีกทั้งยังมีโอกาสขายได้เรื่อยๆ อีกด้วย
4.มีระบบจัดการคลังสินค้า
การสร้างระบบการจัดการสินค้า Dead Stock ถือว่ามีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้สินค้าไม่ค้างสต๊อกและช่วยลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นได้ ถ้าหากมีระบบจัดการคลังสินค้าที่ดี ก็จะทำให้คลังสินค้ามีความเป็นระเบียบ หาและตรวจเช็คสินค้าได้ง่าย รวมถึงยังเป็นการลดความผิดพลาดต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย
คลิกอ่านเพิ่มเติม: ระบบจัดการคลังสินค้า WMS คืออะไร ช่วยแก้ปัญหากับคนขายของออนไลน์ได้อย่างไรบ้าง
5.เพิ่มช่องทางการขายใหม่ๆ
เรื่องของการตลาดนั้นสำคัญ เนื่องจากในปัจจุบันคนส่วนใหญ่มักจะใช้บริการเว็บขายของออนไลน์ ยกตัวอย่างเช่น Shopee หรือ Lazada เพราะเว็บเหล่านี้สามารถช่วยขายสินค้าค้างสต๊อกให้กับธุรกิจได้ เนื่องจากจะทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ได้มากขึ้น จึงมีโอกาสในการขายสินค้าได้มากขึ้นนั่นเอง
6.วิเคราะห์ยอดขายให้ดี
ในเรื่องของการวิเคราะห์ยอดขายถือว่าสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะเป็นตัวช่วยในการจัดการระบบมองเห็นอนาค ตว่ามีโอกาสขายสินค้าได้จำนวนเท่าไหร่และจะต้องสต๊อกสินค้าไว้เท่าไหร่เพื่อทำการขาย เป็นการลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นจาก Dead Stock ได้เป็นอย่างดีมากๆ
7.ใช้บริการคลังสินค้าแบบ Fulfillment
สำหรับธุรกิจที่มีปัญหาการเกิดสินค้าค้างสต๊อก การใช้บริการคลังจัดเก็บสินค้าแบบ Fulfillment ถืออีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจมากๆ ในการจัดการสินค้า Dead Stock เพราะคลังสินค้าระบบ Fulfillment นั้นมีจุดเด่นตรงที่ สามารถจัดการดูแลการจัดเก็บสต๊อกสินค้าได้อย่างครบวงจร ไม่เพียงแค่ช่วยจัดเก็บสินค้าของธุรกิจอย่างเป็นระบบเท่านั้น แต่ยังสามารถติดตามหรือตรวจสอบสถานะของสินค้าแต่ละชิ้นได้ด้วย ว่าจัดเก็บไว้ที่ไหน หมดอายุวันไหน หรือรู้ได้แม้กระทั่งว่าสินค้าชิ้นนั้นถูกจัดเก็บในคลังมานานเท่าไหร่แล้ว
นอกจากนี้ Fulfillment ก็ยังมาพร้อมกับบริการแพ็คสินค้าและจัดส่งสินค้า ด้วยระบบการจัดการและฐานข้อมูลที่เป็นแบบออนไลน์ทั้งหมด จึงทำให้ธุรกิจสามารถตรวจเช็คความผิดปกติได้ในทุกขั้นตอน ทำให้โอกาสในการเกิดสินค้าตกค้างในสต๊อกมีน้อยลง และการทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
คลิกอ่านเพิ่มเติม : Fulfillment คืออะไร
ถ้าหากใครที่เป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ หรือธุรกิจที่ต้องมีการสต๊อกสินค้าเป็นจำนวนมาก ก็คงไม่อยากให้เกิด Dead Stock ขึ้นกับธุรกิจของตัวเองอย่างแน่นอน เพราะนอกจากจะส่งผลให้ธุรกิจมีต้นทุนเพิ่มขึ้น อย่างต้นทุนจม เนื่องจากขายสินค้าไม่ได้แล้ว ก็ยังทำให้ธุรกิจเสียโอกาสในการขายสินค้าด้วย ส่งผลให้ธุรกิจมีกำไรลดลงและขาดทุนในที่สุด
ดังนั้นสำหรับธุรกิจไหนที่ไม่อยากให้เกิดปัญหาสินค้าค้างสต๊อกขึ้น และอยากลดต้นทุนงานที่ไม่จำเป็นลง อยากแนะนำให้ลองใช้บริการ Fulfillment ของ Packhai บริการคลังสินค้าออนไลน์ที่จะเข้ามาช่วยจัดการในเรื่องของคลังสินค้าทั้งหมด ตั้งแต่การจัดเก็บ แพ็ค ไปจนถึงการจัดส่งสินค้า โดยที่ธุรกิจไม่ต้องมาคอยจัดการเองให้ยุ่งยาก สามารถช่วยประหยัดเวลา และลดต้นทุนของธุรกิจได้เป็นอย่างดี – อยากรู้ว่า Fufillment BY Packhai ดียังไง? -> คลิกที่นี่