Switching Cost คืออะไร
Switching Cost คือ ต้นทุนของผู้บริโภคในการตัดสินใจ หรือเปลี่ยนจากใช้สินค้าหรือบริการของผู้ให้บริการเดิม ไปยังผู้ให้บริการขายสินค้าหรือบริการรายใหม่ ที่มีสินค้าหรือบริการคล้ายคลึงกัน ซึ่งธุรกิจไหนที่มีการใช้หลัก Switching Cost ก็จะทำให้การคุกคามจากสินค้าหรือบริการทดแทน และอำนาจในการต่อรองของลูกค้ามีน้อยลง ดังนั้นบทความนี้ก็เลยจะมาพูดถึง Switching Cost กันว่ามีความสำคัญอย่างไร มีสาเหตุมาจากอะไร รวมถึง Switching Cost นั้นมีโอกาสเกิดขึ้นกับธุรกิจอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ!!
Switching Cost สำคัญอย่างไรกับธุรกิจ
เนื่องจากการที่ลูกค้าจะเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ใหม่ หรือคู่แข่งของธุรกิจนั้นมีต้นทุน จึงทำให้ลูกค้าคิดหนักอยู่พอสมควร เนื่องจากการที่ผู้ใช้บริการย้ายไปใช้อีกแบรนด์หนึ่งมักจะเป็นเรื่องที่สร้างความยุ่งยากและลำบากให้กับผู้ใช้บริการเป็นอย่างมาก ดังนั้นหากธุรกิจหรือบริษัทไหนมีการสร้างสินค้าหรือบริการที่มี Switching Cost สูงก็จะถือว่าได้เปรียบผู้ให้บริการเจ้าอื่นมากๆ
คลิกอ่านเพิ่มเติม : 10 ปัญหาการขายของออนไลน์ ที่เป็นอุปสรรคในการขายดีมีอะไรบ้าง และมีแนวทางรับมืออย่างไร
มีสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้เกิด Switching Costs
1.การเปลี่ยนรูปแบบการบริหารใหม่
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิด Switching Cost การเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานใหม่ ถือเป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิด Switching Costs เลยล่ะ เนื่องจากลูกค้าอาจจะไม่ชอบรูปแบบการบริหารใหม่ ทำให้เกิดความคิดที่จะเปลี่ยนไปใช้สินค้าหรือบริการของเจ้าอื่นได้
2.เวลา และ ความเคยชิน
เวลาและความเคยชินของลูกค้า ก็สามารถส่งผลให้ Switching Cost ได้เช่นกัน เพราะหลายคนอาจจะคิดความเคยชิน จะทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่อยากเปลี่ยนไปใช้สินค้าของเจ้าอื่น แต่ความจริงแล้วเมื่อถึงจุดหนึ่งความเคยชิน ก็อาจจะกลายมาเป็นความเบื่อหน่ายได้เหมือนกัน ซึ่งเมื่อลูกค้าเบื่อ ก็ย่อมเกิดความรู้สึกที่อยากจะลองเปลี่ยนไปใช้สินค้าของเจ้าอื่นได้ง่าย
3.มีจำนวนคู่แข่งเป็นจำนวนมาก
การที่ธุรกิจมีคู่แข่งจำนวนมากเท่าไหร่ ก็หมายความว่าลูกค้าก็จะยิ่งมีตัวเลือกมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งหากคู่แข่งของธุรกิจมีข้อเสนอหรือโปรโมชั่นที่ดีกว่า ก็จะทำให้ลูกค้าอาจเปลี่ยนใจไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการของเจ้าอื่นได้
4.การมีจำนวนผู้ใช้สินค้าหรือบริการที่ลดลง
จากการที่ธุรกิจมีคู่แข่งมากขึ้น จะส่งผลให้ Switching Cost ของลูกค้าในการเปลี่ยนแบรนด์ต่ำลงแล้ว ก็ยังจะส่งผลให้ธุรกิจมีจำนวนลูกค้าที่ลดลงด้วย ซึ่งเมื่อลูกค้าประจำมีจำนวนน้อยลง หากธุรกิจไม่มีสินค้าที่ตอบโจทย์หรือทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจได้มากพอ ลูกค้าก็มีโอกาสสูงที่จะเปลี่ยนหรือเลิกใช้สินค้าของธุรกิจ
5. การบริการล่าช้า
การบริการที่ล่าช้าของธุรกิจ เช่น การแพ็คสินค้าล่าช้า การส่งของล่าช้า หรือการที่ลูกค้าต้องรอใช้บริการเป็นเวลานานๆ ฯลฯ ถือเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญมากๆ ในการทำให้เกิด Switching Costs เนื่องจากการให้บริการล่าช้า จะส่งผลให้ลูกค้าไม่เกิดความพึงพอใจในการใช้บริการ ทำให้ลูกค้าอาจจะไม่กลับมาใช้บริการซ้ำอีก หรืออาจจะเปลี่ยนไปใช้บริการกับเจ้าอื่นแทน
คลิกอ่านเพิ่มเติม : แพ็คของไม่ทันใช่ไหม ใช้งานบริษัทรับแพ็คสินค้าสิ
Switching Cost ที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจ มีอะไรบ้าง
1.อาจมีการเปลี่ยนโปรแกรมในการจัดการคลังเก็บสินค้า
2.ลูกค้าอาจมีการเปลี่ยนไปใช้สินค้าแบรนด์อื่นๆ
3.อาจมีการเปลี่ยนมือที่ใช้ในการดำเนินงาน
4อาจมีการเปลี่ยนเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ เพื่อให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
5.อาจมีการเปลี่ยน Supplier
High Switching Cost กับ Low Switching Cost แตกต่างกันอย่างไร
High Switching Costs คือ
Switching Cost สูง คือ การที่ผู้บริโภคมีต้นทุนในการเปลี่ยนไปใช้สินค้าหรือบริการของแบรนด์อื่นสูง ทำให้ผู้บริโภคไม่อยากเปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่น เนื่องจากไม่อยากเสียผลประโยชน์ที่มีกับแบรนด์เดิม เช่น มีการสะสมคะแนน สะสม Point ที่สามารถนำไปใช้เป็นส่วนลดได้ รวมถึงการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ก็ทำให้ลูกค้าไม่อยากเปลี่ยนใจไปใช้แบรนด์อื่นได้เช่นกัน ซึ่งจะเป็นผลดีกับธุรกิจ เพราะการที่ธุรกิจมี Switching Costs ที่สูงขึ้น ก็เปรียบเสมือนมีป้อมปราการที่จะช่วยป้องกันไม่ให้คู่แข่งนั้นทำอันตรายอะไรเราได้ และถึงแม้ว่าคู่แข่งจะมีการลดราคาสินค้าให้ต่ำลง ก็ไม่ทำให้ลูกค้าเปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่น
คลิกอ่านเพิ่มเติม : ระบบสะสมแต้ม คืออะไร เหมาะกับธุรกิจแบบไหน ทำไมถึงได้รับความนิยม
Low Switching Cost คือ
Switching Cost ต่ำ คือ การที่ผู้บริโภคมีต้นทุนในการเปลี่ยนไปใช้สินค้าหรือบริการของแบรนด์อื่นต่ำ ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสเปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่นได้ง่าย เนื่องจากผู้บริโภคเห็นว่าแบรนด์อื่นหรือคู่แข่งของธุรกิจนั้นมีข้อเสนอหรือสิทธิประโยชน์ที่ดีกว่า เช่น มีราคาถูกกว่า คุ้มกว่า หรือสินค้ามีคุณภาพที่ดีกว่า เป็นต้น รวมถึงธุรกิจเองก็อาจไม่ได้มีสิทธิประโยชน์ที่มากพอ ที่จะไม่ให้ผู้บริโภคเปลี่ยนไปใช้เจ้าอื่นได้ จึงทำให้ลูกค้าเปลี่ยนใจได้ง่าย ซึ่งการมี Switching Cost ต่ำ เป็นสิ่งที่ธุรกิจไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่ถึงอย่างนั้นเองก็ถือเป็นสิ่งที่ควบคุมและทำได้ยากเช่นกัน
ธุรกิจควรมี Switching Cost สูงหรือต่ำ แบบไหนดีกว่ากัน
เนื่องจาก Switching Cost คือ ต้นทุนหรือค่าเสียโอกาสที่ธุรกิจต้องสูญเสีย เมื่อลูกค้าเกิดการเปลี่ยนไปใช้สินค้าหรือบริการของเจ้าอื่น และหากถามว่าธุรกิจหลายๆธุรกิจควรจะมี Switching Cost สูงหรือต่ำดี แบบไหนดีกว่ากัน ก็ขอบตอบเลยว่าธุรกิจส่วนใหญ่ก็ควรจะมี “Switching Cost ที่สูง” เพราะการที่มี Switching Costs ที่สูงก็เหมือนป้อมปราการที่ช่วยป้องกันคู่แข่งในการทำธุรกิจ ที่ไม่ว่าคู่แข่งจะทำการลดราคาสินค้าหรือบริการมากเท่าไหร่ ลูกค้าก็จะไม่เปลี่ยนใจไปใช้สินค้าของคู่แข่ง
ควรรับมือกับ Switching Costs ยังไงดี ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
สำหรับขั้นตอนแรกในการรับมือกับ Switching Cost ก็คงจะต้องมีการทำความเข้ากับในสิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนไปก่อน โดยอาจจะทำการศึกษาให้ละเอียดก่อน ต่อจากนั้นก็อาจจะมีการประเมินค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนหากมีการเปลี่ยนแปลงอีกรวมถึงต้องประเมินค่าใช้จ่ายอื่นที่อาจจะเกิดขึ้น แล้วจึงนำทุกอย่างที่ได้กล่าวมารวมประเมินต้นทุนค่าเสียโอกาส เพื่อทำการหาข้อสรุปว่าสุดท้ายจะคุ้มที่จะเปลี่ยนแปลงหรือไม่นั่นเอง
ตอนนี้ก็คงจะทราบคำตอบกันแล้วว่า Switching Cost คืออะไร เพราะจากที่เราได้อธิบายไปก็อาจจะทำให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับ Switching Cost มากขึ้น ซึ่งนอกจากนี้สำหรับนักธุรกิจหรือเจ้าของกิจการคนไหน ต้องการที่จะเรียกใช้บริการ Fulfillment ของ Packhai ก็สามารถทักเข้ามาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางช่องทางการติดต่อได้เลย รับรองไม่ผิดหวังอย่างแน่น เพราะแพ็คให้เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการคลังเก็บสินค้าออนไลน์ที่ได้รับความนิยมและมีความน่าเชื่อถือมากๆ ไม่ว่าคุณจะต้องการสต๊อกสินค้ามากน้อยแค่ไหน Packhai ก็มีพื้นที่ที่เพียงพอต่อความต้องการของคุณ รวมถึงก็ยังเป็นผู้ให้บริการคลังเก็บสินค้าออนไลน์ที่ครบวงจรมากที่สุด ไม่ว่าจะสต๊อกสินค้า แพ็คสินค้า หรือจัดส่งสินค้า ก็สามารถทำได้แบบครบในจุดเดียวนั่นเอง
คลิกอ่านบริการเพิ่มเติมของ Fulfillment Packhai ได้ที่นี่ : บริการ Fulfillment PACKHAI ดีกว่าอย่างไร รับรองว่าตอบโจทย์พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ 100%