ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ห่วงโซ่คุณค่า หรือ Value Chain มีความสำคัญต่อการทำธุรกิจอย่างมาก ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลกำไร เมื่อนำมาวิเคราะห์จะทำให้เห็นข้อผิดพลาด สามารถจัดการปัญหาได้ตรงจุด กำจัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออกไป หรือสามารถปรับเปลี่ยนและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้ ดังนั้นหากธุรกิจอยากมีกำไรและเติบโตได้อย่างยั่งยืน การเข้าใจและวิเคราะห์กิจกรรมต่างๆ ในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ
Value Chain คืออะไร ?
Value Chain คือ กระบวนการทั้งหมดในการดำเนินธุรกิจ หากมองในภาพรวมจะเริ่มตั้งแต่การนำวัตถุดิบเข้ามาจนถึงกระบวนการผลิต จนได้สินค้าสำเร็จรูปและการจัดส่งสินค้าไปยังผู้บริโภค เป็นเหมือนกิจกรรมภาพรวมของกระบวนการทั้งหมดของธุรกิจ ตั้งแต่ฝ่ายบุคคล เทคโนโลยี ฝ่ายจัดซื้อ การจัดหาวัตถุดิบ กระบวนการผลิต ฝ่ายการตลาดและการขาย ทุกกิจกรรมมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเหมือนห่วงโซ่จึงถูกเรียกว่า Value chain หรือห่วงโซ่คุณค่านั่นเอง
คลิกอ่านเพิ่มเติม : Supply Chain คืออะไร ? เกี่ยวข้องยังไงกับคลังสินค้า การจัดการห่วงโซ่อุปทาน ต้องทำอย่างไรบ้าง
ทำไมธุรกิจถึงควรวิเคราะห์ Value Chain ของตัวเอง
การวิเคราะห์ Value chain จะช่วยให้องค์กรหรือพนักงานได้มองเห็นภาพรวมไปในทิศทางเดียวกัน ว่ากระบวนการทั้งหมดของบริษัทหรือองค์กรมีอะไร มีขั้นตอนอะไรเกิดขึ้นบ้าง แต่ละกระบวนการหรือแต่ละขั้นตอนเป็นอย่างไร มีปัญหาติดตรงไหน ตรงจุดไหนสามารถช่วยลดต้นทุนได้หรือสามารถพัฒนาส่วนไหน เพื่อเพิ่ม Value หรือคุณค่าให้กับองค์กร และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ซึ่งจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและเพิ่มผลกำไรให้กับองค์กร
ภาพจาก : https://www.techtarget.com/
Value Chain ประกอบด้วยกิจกรรมอะไรบ้าง ?
หลักการวิเคราะห์เพื่อหา Value chain คือ การแยกในแต่ละขั้นตอนออกมาเพื่อค้นหาจุดบกพร่องและส่วนที่สามารถพัฒนาต่อได้ โดยนำแต่ละขั้นตอนมาเปรียบเทียบกับการจัดการขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งแผนงานในอนาคตและเปรียบเทียบกับคู่แข่ง โดยในห่วงโซ่คุณค่า Value Chain จะแบ่งกิจกรรมเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ดังนี้
กิจกรรมหลัก (Primary Activities)
กิจกรรมหลักใน Value Chain คือ กิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าหรือบริการที่สร้างรายได้สร้างผลกำไรให้กับองค์กร รวมถึงกิจกรรมทางการตลาดและการขนส่งสินค้าไปยังผู้บริโภค หากอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ กิจกรรมหลักคือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการผลิต การตลาดและการขายนั่นเอง กิจกรรมหลักประกอบไปด้วย 5 ส่วนสำคัญ ได้แก่
- การนำเข้า
- การดำเนินการผลิต
- การส่งออก
- การตลาดและการขาย
- การบริการ
กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities)
กิจกรรมสนับสนุนใน Value Chain คือ กิจกรรมต่างๆ ที่เข้ามาสนับสนุนกิจกรรมหลัก รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ ใน Value chain ทำให้สามารถดำเนินกิจการไปได้อย่างราบรื่น อธิบายให้เข้าใจได้ง่ายๆ กิจกรรมสนับสนุนเป็นเหมือนหลังบ้านของบริษัท อาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรงแต่ช่วยสนับสนุนกระบวนการผลิต โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนสำคัญ ได้แก่
- การจัดหาการซื้อวัตถุดิบ
- การวิจัยสินค้าและการพัฒนาเทคโนโลยี
- การบริหารจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์
- การพัฒนาอื่นๆ อย่างเช่น บัญชีและการเงิน
การวิเคราะห์ Value Chain ของธุรกิจ ต้องทำอย่างไร
ห่วงโซ่คุณค่าแนวคิดนี้ทำให้เข้าใจบทบาทของแต่ละหน่วยงานว่ามีส่วนช่วยเหลือองค์กรหรือธุรกิจอย่างไรบ้างสามารถสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าได้อย่างไร การวัดผลพิจารณาว่าผู้บริโภคยินยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการมากน้อยแค่ไหน สำหรับการวิเคราะห์ Value chain ของธุรกิจหรือ Value Chan analysis มีหลักการสำคัญคือ ผู้วิเคราะห์จะต้องอธิบายได้ว่าแต่ละกิจกรรมขององค์กรต้องทำอะไรบ้างต้องรู้และสามารถสร้างคุณค่าจากกิจกรรมนั้นๆ ได้ หรือต้องวิเคราะห์ว่าสามารถสร้างคุณค่าจากกิจกรรมนั้นได้มากน้อยแค่ไหน
การจัดการคลังสินค้า ถือเป็นกิจกรรมประเภทไหนใน Value Chain
การจัดการคลังสินค้านั้นถือเป็นกิจกรรมหลักใน Value chain กระบวนการพื้นฐานในคลังสินค้าเริ่มตั้งแต่การรับสินค้าการจัดเก็บและการกระจายสินค้า หากบริหารจัดการทุกกระบวนการได้ดี จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดข้อผิดพลาดในการกระจายสินค้าได้
ซึ่งการจัดการคลังสินค้านั้นเป็นกิจกรรมที่สำคัญของโลจิสติกส์เชื่อมต่อกับกิจกรรมอื่นๆ ในห่วงโซ่คุณค่า เมื่อบริหารจัดการคลังสินค้าที่ดีทำให้องค์กรมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีด้วย ปัจจุบันหลายๆ ธุรกิจได้ให้ความสำคัญต่อการจัดการคลังสินค้าเพราะเป็นดัชนีที่สามารถชี้วัดความสำเร็จในระยะยาวขององค์กรได้
คลิกอ่านเพิ่มเติม : 7 ประโยชน์ของการจัดการคลังสินค้า มีอะไรบ้าง ที่เป็นผลดีต่อคนขายของออนไลน์
ทดลองใช้บริการ Fulfillment Fulfillment ตัวช่วยคนขายของออนไลน์ ที่ช่วยลดต้นทุนการขายสินค้า ลดเวลาการทำงาน มีเวลาโฟกัสยอดขายได้มากขึ้น
อยากเพิ่มประสิทธิภาพ Value Chain ให้คลังสินค้า Fulfillment ช่วยจัดการงาน เก็บ แพ็ค ส่ง ให้กับธุรกิจ
เมื่อการบริหารจัดการคลังสินค้าเป็นกิจกรรมหลักของ Value Chain ธุรกิจจึงต้องให้ความสำคัญ และควรปรับปรุงกระบวนการที่ทำให้เกิดปัญหาในคลังสินค้า และพัฒนากระบวนการทำงานให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้การจัดส่งสินค้ารวดเร็ว ช่วยลดข้อผิดพลาดต่างๆ ในการทำงาน
แต่ในปัจจุบันธุรกิจไม่ต้องเหนื่อยบริหารจัดการคลังสินค้าเองให้ยุ่งยากอีกต่อไป เพราะในปัจจุบันมีบริการคลังสินค้าออนไลน์ Fulfillment ที่เป็นคลังสินค้ารับฝาก เก็บ แพ็ค ส่ง รวมไว้ในที่เดียว คอยดูแลและจัดการงานหลังบ้านทั้งหมดให้กับธุรกิจ ด้วยคลังสินค้าที่ได้มาตรฐาน ทีมงานมืออาชีพ และระบบจัดการคลังสินค้า หรือระบบ WMS ที่ทันสมัย ตอบโจทย์การทำธุรกิจในยุคนี้ ช่วยประหยัดเวลาและลดต้นทุนได้เป็นอย่างดี
อยากรู้ว่าคลังสินค้าออนไลน์ Fulfillment Packhai ดีกว่าเจ้าอื่นยังไง ? : คลิกที่นี่
การทำธุรกิจนั้นไม่ได้เพียงแค่การขายสินค้าเท่านั้น แต่จะประกอบไปด้วยหลากหลายกิจกรรมรวมกัน ดังนั้นการวิเคราะห์ Value Chain หรือห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้สามารถเข้าใจงานในกิจกรรมต่างๆ และพัฒนาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งประสิทธิภาพในการทำงานและผลกำไรของธุรกิจ
ซึ่งปัจจุบันก็มีทั้งตัวช่วยและเทคโนโลยี ที่จะทำให้การบริหารจัดการงานในห่วงโซ่คุณค่าเป็นเรื่องง่ายและสะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะงานในคลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ แพ็คและส่งสินค้า ธุรกิจสามารถเลือกใช้บริการคลังสินค้าออนไลน์ระบบ Fulfillment หรือหากธุรกิจมีคลังสินค้าของตัวเอง ก็สามารถนำเอาระบบจัดการออเดอร์และคลังสินค้า เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการงานก็ได้เช่นกัน
คลิกดูข้อมูลและฟีเจอร์เพิ่มเติม : ระบบจัดการออเดอร์และคลังสินค้าในที่เดียว By Packhai
ทดลองใช้บริการ Fulfillment
Fulfillment ตัวช่วยคนขายของออนไลน์ ที่ช่วยลดต้นทุนการขายสินค้า ลดเวลาการทำงาน มีเวลาโฟกัสยอดขายได้มากขึ้น
สมัครใช้บริการ คลิกดูค่าบริการติดต่อเรา PACKHAI : Packhai.com/contact
เบอร์โทร : 097-267-9487
เฟสบุ๊ค : Packhaiofficial
อีเมล : cs@packhai.com
ไลน์ : @packhai
ยูทูป : PACKHAI Fulfillment
ติ๊กตอก : @packhai