โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics) กระบวนการจัดการนี้มีความสำคัญอย่างมาก มีความเกี่ยวพันกับการคืนสินค้า รวมถึงอีกหลายกระบวนการเลยทีเดียว ถือเป็นอีกหนึ่งกระบวนการจัดการบริหารด้านระบบโลจิสติกส์ วันนี้เราขออาสาพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโลจิสติกส์ย้อนกลับ ไปดูกันว่าคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร แตกต่างกับโลจิสติกส์แบบปกติหรือไม่ เราไปหาคำตอบพร้อมๆ กันเลย
อะไรคือ? โลจิสติกส์ย้อนกลับ
โลจิสติกส์ย้อนกลับ หรือ Reverse Logistics คือ กระบวนการส่งคืนสินค้าหรือการดึงสินค้าจากปลายทางหรือจุดผู้บริโภคกลับมาที่ต้นทาง โดยมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป เช่น การสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อซ่อมแซมหรือนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น สินค้าที่ถูกดึงกลับมา มักเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพ ด้อยคุณภาพ ชำรุดเสียหายไม่ได้มาตรฐาน สินค้าที่ข้อบกพร่องต่างๆ ทำให้ต้องมีการดึงสินค้ากลับไปยังต้นทาง หรือกรณีขายสินค้าออนไลน์ กระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับ เป็นสิ่งที่ร้านค้าออนไลน์ไม่อยากให้เกิดขึ้น เช่น มีการส่งสินค้าผิด จัดส่งสินค้าไม่ตรงกับคำสั่งซื้อ ทำให้ต้องส่งคืนสินค้า การส่งสินค้าที่ถูกต้องออกไปใหม่อีกครั้งเพื่อรักษาฐานลูกค้า
ประโยชน์ที่ได้จากการจัดการโลจิสติกส์ย้อนกลับ
1.ช่วยรักษาฐานลูกค้า
โลจิสติกส์ย้อนกลับเป็นการรักษาฐานลูกค้า เมื่อดึงสินค้ากลับมาแล้วจะต้องส่งสินค้าที่ถูกต้องหรืออยู่ในสภาพที่สมบูรณ์กลับไปให้ลูกค้าใหม่อีกครั้ง เพื่อสร้างความพึงพอใจ แสดงออกถึงการรับผิดชอบจากใจจริง ทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่น
2.ลดปริมาณของขยะ
ธุรกิจสามารถนำสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้คืน มาทำการปรับปรุง ซ่อมแซม คัดแยกหรือรีไซเคิลได้เป็นลำดับต่อไป ช่วยลดปริมาณขยะ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆได้
3.ช่วยพัฒนาสินค้า
กระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับ ทำให้ธุรกิจทราบข้อมูลหลายอย่างจากลูกค้าหรือผู้สั่งซื้อ ยกตัวอย่างเช่น ความพึงพอใจ ปัญหาจากการใช้งาน หรืออายุของสินค้า เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์สามารถนำไปพัฒนาต่อยอด ปรับปรุง หรือแก้ไขสินค้า ตลอดจนการนำไปพัฒนาการให้บริการที่ดียิ่งๆ ขึ้นไป
ความแตกต่างระหว่าง โลจิสติกส์ย้อนกลับ – โลจิสติกส์แบบปกติ
กระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับและโลจิสติกส์แบบปกติ แตกต่างกันอย่างไร หากเป็นกระบวนการโลจิสติกส์ปกติ คือ กระบวนการที่เริ่มต้นจาก Supplier ส่งสินค้าไปยังผู้จัดจำหน่ายหรือผู้ค้าปลีก จากนั้นไปสิ้นสุดที่ลูกค้า ทั้งนี้ โลจิสติกส์ปกติยังครอบคลุมในส่วนของจัดซื้อ การบริหารจัดการคลังสินค้า การกระจายสินค้า การขนส่ง การแพ็คสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ และการบริหารจัดการความเสี่ยง ในขณะที่โลจิสติกส์ย้อนกลับ คือ การดึงสินค้า เคลื่อนย้ายสินค้าจากปลายทางกลับมายังต้นทาง เริ่มต้นจากลูกค้า มาสิ้นสุดที่ต้นทาง เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นแบบตรงกันข้ามนั่นเอง
กระบวนการจัดการโลจิสติกส์ย้อนกลับ
- ดำเนินการคืนสินค้า เมื่อลูกค้าส่งคืนสินค้า ร้านค้าอนุมัติรับทราบหรืออนุมัติการคืนเงิน กระบวนการส่งคืนสินค้าเริ่มต้นขึ้น ทั้งนี้ เหตุผลในการคืนสินค้าแตกต่างกัน เช่น ได้สินค้าไม่ตรงตามที่ต้องการ ได้ไม่ครบ หรือสินค้าได้รับความเสียหาย เป็นต้น
- เมื่อสินค้าถูกส่งกลับมาร้านค้าจะต้องประเมินสินค้าส่งคืน ตรวจสอบสภาพของสินค้าสามารถทำความสะอาด ซ่อมแซม แก้ไข ขายต่อได้หรือไม่ การกำจัดหรือรีไซเคิลต่อไป
- สินค้าที่สามารถซ่อมแซมได้หลังจากการประเมิน จะผ่านการแก้ไขซ่อมแซมโดยผู้เชี่ยวชาญ เมื่อซ่อมแซมแล้วจะส่งกลับคืนให้กับลูกค้า หรือหากไม่สามารถแก้ไขได้ ต้องมีการจัดการหาสินค้ามาทดแทน และต้องรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนที่เหลือควรมีการคัดแยก รอการรีไซเคิลต่อไป
ข้อควรระวังของโลจิสติกส์ย้อนกลับ
- กระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับอาจทำให้มีต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น
- สินค้าที่ส่งคืนอาจมีความล่าช้า
- ความเสี่ยงในการเสียหายของสินค้าในระหว่างการส่งคืน
กระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับในปัจจุบันยังจำเป็นไหม
Reverse Logistics ในยุคปัจจุบันสำคัญมาก เมื่อก่อนธุรกิจอาจมองว่ากระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับมีความสำคัญน้อยกว่ากระบวนการโลจิสติกส์ปกติ เน้นการส่งมอบสินค้าให้ถึงมือลูกค้า แต่อย่าลืมว่า การทำธุรกิจไม่ได้ราบรื่นเสมอไป บางครั้งการทำงานอาจมีข้อผิดพลาด หรือสินค้าด้อยคุณภาพอาจหลุดไปหาลูกค้าได้โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งธุรกิจต้องวางแผนเตรียมรับมือกับปัญหาดังกล่าว ดังนั้นต้องมีการวางระบบโลจิสติกส์ย้อนกลับที่ดี รวดเร็ว ทันใจ ไม่ให้ลูกค้าต้องผิดหวัง สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ทำให้ได้เปรียบเหนือคู่แข่ง แสดงออกถึงความรับผิดชอบอย่างมืออาชีพ
เคล็ดลับเพิ่มประสิทธิภาพระบบ ” โลจิสติกส์ย้อนกลับ “
การนำโปรแกรมที่ทันสมัย เข้ามาช่วยจัดการออเดอร์และคลังสินค้า มีประโยชน์อย่างมากในด้านโลจิสติกส์ ทั้งแบบปกติหรือแบบย้อนกลับก็ตาม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการกระบวนการทางโลจิสติกส์ เช่น ระบบ wms ระบบจัดการคลังสินค้า ช่วยติดตามการส่งคืนสินค้า ตั้งแต่ปลายทางจนถึงต้นทางหรือคลังสินค้า หรือระบบ oms ระบบจัดการออเดอร์ ช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้เป็นอย่างดี ไม่พลาดทุกออเดอร์ จัดการคำสั่งซื้อย่างเป็นระบบ ป้องกันการสับสน ส่งผิด ส่งขาด ส่งเกินได้อีกด้วย แถมยังเช็คสต็อกได้เรียลไทม์ ติดตามสถานะสินค้า ติดตามความเคลื่อนไหวของสินค้าได้ตลอดเวลา
มารู้จักกับ : สินค้าคงคลัง (Inventory Management) การจัดการเพื่อไม่ให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น
ทดลองใช้บริการ Fulfillment Fulfillment ตัวช่วยคนขายของออนไลน์ ที่ช่วยลดต้นทุนการขายสินค้า ลดเวลาการทำงาน มีเวลาโฟกัสยอดขายได้มากขึ้น
ความหมายของโลจิสติกส์ย้อนกลับ คืออะไร คงได้รู้กันไปแล้ว แม้ธุรกิจจะไม่อยากให้เกิดขึ้นแต่โอกาสเกิดข้อผิดพลาดในการทำงานนั้นย่อมมี สิ่งสำคัญคือธุรกิจจะเตรียมตั้งรับอย่างไร มีการวางแผนการทำงานอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ดังนั้น การวางระบบโลจิสติกส์ย้อนกลับจึงสำคัญ หรือถ้าใช้บริการ Packhai คลังสินค้าออนไลน์ ก็เหมือนมีผู้ช่วยที่ดี ในการขายของออนไลน์ ให้บริการเก็บ แพ็ค ส่งรวมไว้ในจุดเดียวกัน ลดความเสี่ยงในการส่งสินค้าผิดหรือส่งสินค้าที่ชำรุดเสียหาย แม้ว่าจะมีการส่งคืนสินค้า ก็ไม่ใช่ปัญหาเพราะ Packhai ช่วยดูแลทุกขั้นตอน มีระบบหลังบ้านทันสมัย ติดตามความเคลื่อนไหวของสินค้าได้ทุกรายการ
ติดต่อเรา PACKHAI : Packhai.com/contact
เบอร์โทร : 097-267-9487
เฟสบุ๊ค : Packhaiofficial
อีเมล : cs@packhai.com
ไลน์ : @packhai
ยูทูป : PACKHAI Fulfillment
ติ๊กตอก : @packhai