แพลตฟอร์มขายของออนไลน์
มาทำความรู้จักกับ แพลตฟอร์มขายของออนไลน์ ซึ่งการซื้อของออนไลน์ หากเป็นเมื่อก่อนก็คงมีคนจำนวนมากเลยที่ไม่กล้าซื้อ เพราะกลัวถูกหลอก หรือกลัวว่าจะไม่ได้ของตรงตามที่สั่ง ทำให้คนเลือกที่จะเดินทางไปซื้อของเองที่หน้าร้าน เพื่อจะได้เห็นสินค้าจริงๆ ก่อนและเพื่อความสบายใจ แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีต่างๆ ก็ถูกพัฒนา และเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนเรามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในด้านการสื่อสาร ความบันเทิง การศึกษา การแพทย์ รวมไปถึงคอนเทนต์ขายของต่างๆ ของธุรกิจ
โดยปัจจุบันคนหันมาให้ความสนใจและซื้อขายของต่างๆ กันผ่านโลกออนไลน์มากขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทั้งทาง Social Commerce และตามแพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์ และยิ่งในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่คนต้องอยู่แต่บ้านและไม่สามารถออกไปซื้อของนอกบ้านได้ ทำให้การซื้อของออนไลน์ถือเป็นตัวเลือกเดียวในการตอบสนองความต้องการของคนขณะอยู่ที่บ้าน และยังถือเป็นทางรอดของธุรกิจค้าขายในช่วงวิกฤติอีกด้วย
แพลตฟอร์มขายของออนไลน์ คืออะไร ?
โดย แพลตฟอร์มขายของออนไลน์ คือ ตัวกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างผู้ซื้อ กับผู้ขาย ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมมาในรูปแบบของเว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชันสำเร็จรูป ที่ให้ร้านค้าหรือผู้ขายได้เข้ามาลงขายสินค้าไว้บนแพลตฟอร์ม และเป็นที่ที่ให้ลูกค้าได้เข้ามาค้นหาสินค้าที่เขาต้องการเลือกซื้อได้ทุกเวลา เช่น Shopee Lazada ฯลฯ แพลตฟอร์มเหล่านี้จะมีระบบที่ช่วยอำนวยความสะดวกทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ โดยผู้ซื้อสามารถเลือกดูสินค้า เปรียบเทียบราคา กดสั่งซื้อ และชำระเงินได้ครบจบในตัวแพลตฟอร์มเลย ส่วนผู้ขายเองก็สามารถลงขายสินค้าได้ง่าย มีการจัดส่งที่เป็นระบบ ป้องกันการเกิดปัญหาสินค้าหรือพัสดุตกหล่นได้เป็นอย่างดี
แถมยังไม่ยุ่งยากเหมือนการทำเว็บของตัวเอง และสามารถเข้าถึงฐานลูกค้าจำนวนมากได้ เนื่องจากแพลตฟอร์มต่างๆ จะมีการทำการตลาด โปรโมชั่น เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาในแพลตฟอร์มอยู่แล้ว ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าให้กับร้านค้าออนไลน์ได้เป็นอย่างดี แถมหากลูกค้ารู้สึกประทับใจ ก็จะทำให้เกิดการรีวิวและบอกต่อในทางที่ดี ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการทำการตลาดแบบปากต่อปาก (Word of Mouth Marketing) ของธุรกิจอีกด้วย แต่ด้วยความที่เปิดร้านง่ายไม่ยุ่งยาก จึงทำให้มีคู่แข่งจำนวนมาก ดังนั้นก่อนเปิดร้านก็ควรศึกษาตลาด ศึกษาคู่แข่ง รวมถึงเตรียมตัวให้ดี ตั้งแต่การตั้งชื่อร้าน วางแผนการขายและการตลาด
8 แพลตฟอร์มออนไลน์ยอดฮิต สำหรับลงขายสินค้า
1.Shopee
Shopee ถือเป็นแพลตฟอร์มขายของออนไลน์ 2021 ที่ได้รับบความนิยมและมีการใช้งานมากที่สุดในไทย เนื่องจากแพลตฟอร์มมีให้ใช้งานทั้งในรูปแบบเว็บไซต์ และแอพพลิเคชัน ซึ่งจะสะดวกต่อการใช้งานของลูกค้า และในส่วนของร้านค้าก็สามารถสมัครเข้าไปลงขายสินค้าได้ง่าย ไม่มีขั้นตอนซับซ้อน แถมยังมีหมวดหมู่สินค้าหลากหลายให้เข้าไปลงขาย นอกจากนี้ก็ยังมีระบบการชำระเงินที่ครอบคลุมทุกช่องทาง สามารถเลือกบริการขนส่งได้หลายหลาย และยังมีระบบที่ให้ลูกค้ามารีวิวและให้คะแนนร้านค้าได้ด้วย ซึ่งจะช่วยให้ร้านค้ามีความน่าเชื่อถือและดึงดูดลูกค้าได้มากขึ้น
2.Lazada
ปัจจุบัน Lazada ถือเป็นแพลตฟอร์มขายของออนไลน์ยอดนิยมอันดับที่ 2 ในประเทศไทย ซึ่งตัวแพลตฟอร์มก็จะมีลักษณะและรูปแบบการใช้งานที่คล้ายกับ Shopee มีหมวดหมู่สินค้าให้ลงขายหลากหลายประเภท สามารถกดสั่งซื้อหรือดูรายละเอียดสินค้าได้ง่าย และมีระบบการชำระเงินที่ครบครัน ทั้งบัตรเครดิต โอนผ่านบัญชีธนาคาร หรือเก็บเงินปลายทาง รวมถึงยังมีการให้คะแนนและรีวิวร้านค้า เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับร้านค้าอีกด้วย โดย Lazada จะเป็นแลพตฟอร์มที่มีมานาน และเป็นแพลตฟอร์มขายของออนไลน์เจ้าแรกๆ ในไทยเลย ทำให้มีฐานลูกค้าที่มาก จึงเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจที่ต้องการเพิ่มช่องทางการขาย
3.Facebook marketplace
Facebook marketplace เป็นแพลตฟอร์มขายของออนไลน์ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Facebook เพื่อเข้ามาเป็นตัวเลือกและอำนวยความสะดวกให้กับร้านค้าที่ขายของบน Facebook อยู่แล้ว รวมถึงเปิดโอกาสให้ร้านค้าต่างๆ เข้ามาขายสินค้าได้อย่างง่ายดายอีกด้วย เพียงแค่มีบัญชีเฟสบุ๊คก็สามารถมาโพสขายสินค้าได้เลย ไม่จำเป็นต้องสร้างเฟสบุ๊คเพจก่อน และเมื่อลูกค้าสนใจอยากซื้อสินค้า ก็สามารถติดต่อหรือแชทพูดคุยกับผู้ขายโดยตรงได้ทันที
4.Instagram
สำหรับ Instagram ถือเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์ม Social Media ที่ได้รับความนิยมในการเปิดร้านเพื่อขายสินค้าออนไลน์ เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่มีคนใช้งานจำนวนมาก โดยเฉพาะวัยรุ่นและวัยทำงาน ซึ่งความโดดเด่นของการขายของใน Instagram ก็คือจะเน้นคอนเทนต์ที่เป็นรูปภาพและวิดีโอ สามารถโปรโมทโพสต์ได้ทั้งในหน้า Feed หรือใน IG Story ได้ นอกจากนี้ก็ยังมีฟังก์ชั่น Shop ให้ร้านค้าออนไลน์มาเปิดบัญชี และนำรายละเอียดสินค้ามาลง เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจซื้อได้อีกด้วย
5.Twitter
แพลตฟอร์ม Social Media ต่อมาก็คือ Twitter ที่ถือเป็นช่องทางที่น่าสนใจสำหรับร้านค้าออนไลน์ เพราะมีผู้ใช้งานจำนวนมากที่เข้ามาใช้งานในแต่ละวัน ซึ่งจุดเด่นของ Twitter เองก็มีความแตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่นๆ โดยการขายของใน Twitter นั้นจะมีการจำกัดจำนวนข้อความและรูปต่อโพสต์ ดังนั้นแล้วการโพสต์ขายสินค้าจะต้องมีความกระชับ และมีความชัดเจน นอกจากการโพสต์ข้อมูลธรรมดาแล้ว ก็ยังสามารถใส่ Hash Tag เพื่อให้ลูกค้าค้นหาได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
6.TikTok Shop
TikTok Shop เป็นแพลตฟอร์มขายของออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยมมากๆ ในปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ที่เข้ามาใช้งานกันหลายชั่วโมงต่อวัน ซึ่ง TikTok Shop นั้นเป็นฟีเจอร์ใหม่ที่พัฒนาและเพิ่มเติมขึ้นมาจากแอป TikTok แพลตฟอรม์โซเชียลมีเดียวิดีโอสั้น ที่สร้างความสนุกและความบันเทิงให้กับผู้ใช้งาน โดยนอกจากรูปแบบคอนเทนต์วิดีโอที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว ก็เหมือนกับแพลตฟอร์มอื่นๆ คือ ร้านค้าสามารถที่จะโปรโมทหรือลงโฆษณาใน TikTok Ads ได้ เพื่อเพิ่มการมองเห็นและการเข้าถึงโพสต์นั้นๆ
7.Line myshop
Line myshop เป็นฟีเจอร์ใหม่ของ Line แอพพลิเคชันแชทยอดนิยมของคนไทย เป็นฟีเจอร์ที่ให้ร้านค้าต่างๆ สามารถเข้ามาเปิดร้านเพื่อขายสินค้าได้ง่ายๆ เพียงแค่เชื่อมต่อกับบัญชีของ Line OA ก็สามารถเปิดร้านได้ทันที แถมยังมีเครื่องมือต่างๆ ให้ใช้ฟรี ในการเพิ่มประสิทธิภาพของการขายได้อีกด้วย ทั้งการทำการโปรโมชั่น การทำคูปองส่วนลดใช้ในร้านค้า และรองรับการชำระเงินได้หลายช่องทาง ตอบโจทย์มากๆ สำหรับธุรกิจร้านค้าที่ใช้ Line เป็นเครื่องมือหลักในการสื่อสารกับลูกค้า
8.Kaidee
Kaidee เป็นแพลตฟอร์มขายของออนไลน์สัญชาติไทย ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของแหล่งรวมสินค้ามือสองคุณภาพดี ราคาไม่แพง รวมถึงก็มีสินค้ามือหนึ่งทั้งในไทยและต่างประเทศมาให้เลือกซื้อกันด้วย โดยตัวแพลตฟอร์มสามารถใช้งานและลงขายสินค้าได้ง่าย มีหมวดหมู่สินค้าให้ลงขายหลากหลายประเภท โพสต์ขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง และลูกค้าสามารถติดต่อสอบถามกับผู้ขายได้โดยตรง
ทำไมธุรกิจยุคนี้ ถึงควรขายสินค้าในหลากหลายแพลตฟอร์ม
อย่างที่รู้กันไปแล้วว่าปัจจุบันนั้นมีแพลตฟอร์มออนไลน์หลากหลายมากๆ ที่รองรับการเปิดร้านเพื่อลงขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มก็มีข้อดีและจุดเด่นที่แตกต่างกันไป รวมถึงผู้ใช้งานและกลุ่มเป้าหมายก็แตกต่างกันด้วย หากเป็นเมื่อก่อนการขายสินค้าเพียงช่องทางหรือแพลตฟอร์มเดียวก็อาจจะเพียงพอแล้ว แต่ในปัจจุบันนั้นไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อก่อน ปัจจุบันคนหนึ่งคนไม่ได้ใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์เพียงช่องทางเดียว
รวมถึงหากขายสินค้าเพียงช่องทางเดียว ร้านค้าก็จะสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้เพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น ดังนั้นหากอยากทำร้านค้าออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จในยุคนี้ จึงจำเป็นต้องขายสินค้าในหลากหลายแพลตฟอร์ม เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการขายสินค้า และเพิ่มการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยให้ร้านค้าสามารถมียอดขายที่เพิ่มขึ้นได้ รวมถึงยังเป็นการกระจายความเสี่ยงอีกด้วย เพราะเมื่อช่องทางหนึ่งเกิดความผิดปกติ เช่น โดน Facebook ปิดกั้นการมองเห็น หรือถูกแฮ็ก ร้านค้าก็ยังสามารถขายสินค้าผ่านช่องทางอื่นแทนได้
มีหลายแพลตฟอร์มขายของออนไลน์ จัดการอย่างไรดี
เมื่อร้านค้าออนไลน์ยุคนี้จำเป็นต้องขายสินค้าบนหลากหลายแพลตฟอร์ม คำถามต่อมาที่ร้านค้าอยากรู้ ก็คือ เมื่อมีหลายแพลตฟอร์มขายของออนไลน์แล้ว จะจัดการอย่างไรดี ? เพราะเมื่อมีหลายแพลตฟอร์ม นั้นหมายความว่างานที่ร้านค้าต้องทำก็ต้องเพิ่มมากขึ้น ทั้งการทำคอนเทนต์ การลงสินค้า การตอบแชทลูกค้า และการรวบรวมออเดอร์สินค้า ซึ่งหากจัดการได้ไม่ดี ก็อาจจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ เช่น ตอบแชทไม่ทัน จดออเดอร์ผิด ออเดอร์ตกหล่น เป็นต้น
ซึ่งในการแก้ปัญหานี้ ร้านค้าส่วนใหญ่จึงนิยมใช้ระบบขายของออนไลน์ และระบบจัดการออเดอร์ เข้ามาช่วยในการจัดการงานต่างๆ อย่างเป็นระบบ ช่วยรวบรวมออเดอร์จากทุกช่องทางขาย สามารถเชื่อมต่อกับโปรแกรมไลฟ์สด พร้อมดูดออเดอร์และตัดสต๊อกอัตโนมัติ โดยระบบจัดการออเดอร์จะแจ้งยอดขาย และจำนวนสินค้าได้แบบ Real Time ช่วยให้ร้านค้าออนไลน์ไม่เกิดความสบสัน สามารถจัดการกับข้อมูลลูกค้าและคำสั่งซื้อได้อย่างสะดวก และแม่นยำมากขึ้น
👉 คลิกดูข้อมูลและฟีเจอร์เพิ่มเติม : ระบบจัดการออเดอร์และคลังสินค้าในที่เดียว By Packhai
Packhai คลังสินค้าออนไลน์ ที่มีบริการเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มขายของออนไลน์ได้แบบสะดวกสุด ๆ ฟรี ๆ
จะเห็นได้ว่า แพลตฟอร์มขายของออนไลน์ นั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการทำธุรกิจในปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงแค่กับธุรกิจขายของออนไลน์เท่านั้น แต่ธุรกิจแบบดั้งเดิมที่ต้องการเพิ่มช่องทางการขายสินค้าเอง ก็ไม่ควรมองข้ามการขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์เช่นกัน รวมไปถึงการทำการตลาดก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ทั้งการยิงแอด การทำ Email Marketing หรือการตลาดแบบปากต่อปาก
ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อธุรกิจมีช่องทางการขายที่เพิ่มมากขึ้น จำนวนการสั่งซื้อสินค้าหรือออเดอร์ในแต่ละวันก็ย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย ปัญหาที่ตามก็คือ การมีพื้นที่จัดเก็บสินค้าที่ไม่เพียงพอ หรือมีพนักงานไม่พอสำหรับการแพ็คและส่งสินค้า ทำให้แพ็คและส่งสินค้าไม่ทัน แต่หากหันมาใช้บริการคลังสินค้าออนไลน์ระบบ Fulfillment จาก Packhai ที่ให้บริการจัดเก็บ แพ็ค และส่งสินค้าให้ธุรกิจอย่างครบวงจร ด้วยคลังสินค้าที่ได้มาตรฐาน และการจัดการอย่างเป็นระบบ พร้อมมีบริการเชื่อมต่อระบบกับแพลตฟอร์มขายของออนไลน์ต่างๆ ช่วยให้ธุรกิจสามารถเพิ่มและจัดการออเดอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงยังช่วยประหยัดเวลาและลดต้นทุนให้กับธุรกิจอีกด้วย
👉 คลิกดูข้อมูลและฟีเจอร์เพิ่มเติม : บริการคลังสินค้าออนไลน์ระบบ Fufillment BY Packhai
สำหรับผู้อ่านที่ต้องการนำเข้าสินใจจากจีน แต่ไม่แน่ใจว่าจะเริ่มอย่างไรดี ? สามารถเข้าไปพูดคุย แลกเปลี่ยนกันได้ใน Facebook Group ซึ่งเป็น Community ที่แชร์เรื่องราวกันได้อย่างปลอดภัย