คู่แข่งทางการตลาด
ในการทำธุรกิจ คู่แข่งทางการตลาด ถือเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถหลีกหนีได้ แม้จะเป็นเรื่องปกติที่ทุกธุรกิจต้องเจอแต่ก็ไม่ควรชะล่าใจ ควรมีการวางแผนวิเคราะห์คู่แข่งใช้กลยุทธ์ตอบโต้ที่เหมาะสมเพื่อให้ธุรกิจของคุณอยู่รอด ยิ่งขายสินค้าคู่แข่งสูง ก็ยิ่งต้องกระตือรือร้นมากขึ้น ทำอย่างไรให้ลูกค้าซื้อสินค้าของเรา หากมองอีกมุมหนึ่งการมีคู่แข่งทางธุรกิจเป็นเรื่องที่ดีช่วยให้สินค้าและบริการของคุณเกิดการพัฒนาอยู่เสมอ ไม่หยุดอยู่นิ่ง พร้อมเติบโตไปข้างหน้าอย่างมั่นคง
คู่แข่งทางการตลาด มีกี่ประเภท
สำหรับคู่แข่งหรือร้านค้าคู่แข่งที่ธุรกิจต้องพบเจอในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจแบบออฟไลน์ หรือธุรกิจออนไลน์ก็ตาม จะสามารถแบ่งประเภทคู่แข่งได้ 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
คู่แข่งทางตรง
คู่แข่งทางตรงของธุรกิจ คือ คู่แข่งที่ขายสินค้าหรือบริการเหมือนกันกับธุรกิจของเรา ขายในราคาเท่ากันหรืออาจขายในราคาใกล้เคียงกันเป็นคู่แข่งในตลาดเดียวกันหรือแข่งขันในตลาดเดียวกัน
คู่แข่งทางอ้อม
คู่แข่งทางอ้อมของธุรกิจ คือ คู่แข่งที่อาจขายสินค้าใกล้เคียงกันหรือเป็นสินค้าประเภทเดียวกันแต่ทำการตลาดต่างกัน เช่น ขายในราคาสูงกว่าหรือต่ำกว่า ใช้ช่องทางการขายคนละแบบ เป็นต้น
คลิกอ่านเพิ่มเติม : อัปเดต 10 สินค้าขายดี เทรนของขายออนไลน์ยอดฮิต ที่คนนิยมขาย รู้ก่อน รวยก่อน !
ทำไมธุรกิจต้องมีการวิเคราะห์คู่แข่ง
การวิเคราะห์คู่แข่งสินค้า (Competitor Analysis) ถือว่าเป็นเรื่องที่ควรทำและสำคัญมากๆ เหมือนคำที่กล่าวไว้ว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” การวิเคราะห์คู่แข่งเป็นการเปรียบเทียบคู่แข่งการตลาด เพื่อนำไปสู่การวางแผนและสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมเป็นการหาจุดอ่อน จุดแข็งระหว่างสินค้าของเราและคู่แข่ง นำมาเปรียบเทียบกับธุรกิจของเราแล้วนำจุดอ่อนของเราไปพัฒนาต่อยอดให้ดีกว่าคู่แข่ง ส่วนจุดแข็งของคู่แข่งนำมาปรับเปลี่ยนสินค้าหรือบริการของเราให้สามารถแข่งขันได้ วิเคราะห์หาโอกาสที่ธุรกิจของเราจะประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว การวิเคราะห์คู่แข่งจะช่วยให้คุณมองเห็นภาพในมุมกว้างเข้าใจสถานการณ์ความเป็นจริง มองเห็นสภาพความเป็นจริงของธุรกิจเพื่อสร้างโอกาสในการเป็นผู้นำตลาด
การวิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาด (Competitor Analysis) มีขั้นตอนอะไรบ้าง
1.หาว่ามีใครบ้างที่เป็นคู่แข่งในตลาด
ขายของมีคู่แข่ง ไม่ใช่เรื่องแปลก สิ่งสำคัญคือต้องวิเคราะห์คู่แข่งให้ได้ ใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ให้เป็น การวิเคราะห์คู่แข่งอย่างแรกที่คุณต้องทำคือต้องรู้ว่าคู่แข่งทางการตลาดมีอะไรบ้าง มีใครบ้างที่ทำธุรกิจเดียวกันหรือคล้ายกัน ทั้งคู่แข่งทางตรงและคู่แข่งทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นรายเล็กหรือรายใหญ่ การค้นหาข้อมูลไม่ยาก ยุคนี้สมัยนี้ค้นหาข้อมูลได้ง่ายๆ จากอินเทอร์เน็ต
2.จัดกลุ่มคู่แข่ง
เมื่อรู้แล้วคู่แข่งทางการตลาดมีใครต่อมาคือการจัดกลุ่มคู่แข่ง เพื่อให้รู้ว่าใครคือคู่แข่งทางตรง ใครคือคู่แข่งทางอ้อม ทำให้ง่ายต่อการวิเคราะห์
3.วิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อนของคู่แข่ง
วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งของคู่แข่ง เช่น ต้นทุนการผลิต การจัดส่ง วิธีขนส่ง การบริการ ฯลฯ เมื่อทราบว่าคู่แข่งทางการตลาดมีจุดอ่อนหรือจุดแข็งอย่างไร ช่วยให้คุณมองเห็นภาพเฉพาะจุด นำมาสู่การปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงสินค้า บริการ ในจุดที่ด้อยกว่า เพื่อให้สามารถแข่งขันได้
4.วิเคราะห์กลยุทธ์การแข่งขันของคู่แข่ง
การวิเคราะห์คู่แข่ง ไม่ใช่แค่การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งแต่หมายถึงการวิเคราะห์ในภาพรวม ดูว่าคู่แข่งใช้กลยุทธ์ไหน เช่น กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง กลยุทธ์การลดต้นทุน หรือกลยุทธ์การแข่งขันทางด้านราคา อย่างการขายตัดราคา ลดราคาสินค้า เป็นต้น เราต้องตอบโต้ได้อย่างทันท่วงที หรืออาจต้องวิเคราะห์ทั้งจุดอ่อน จุดแข็ง อุปสรรคและโอกาสร่วมด้วย
คลิกอ่านเพิ่มเติม : การขายตัดราคา คืออะไร
5.วิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อนของตัวเอง
วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งของคู่แข่งไปแล้วต้องวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งธุรกิจของตัวเองด้วยเพื่อให้มองเห็นภาพชัดเจนว่าจุดไหนเราเหนือกว่า จุดไหนที่ด้อยกว่า ควรปรับปรุงส่วนใหญ่หรือพัฒนาส่วนไหน จะตอบโต้คู่แข่งได้อย่างไรใช้กลยุทธ์ไหนเหมาะสมที่สุด
6.วิเคราะห์โอกาส และอุปสรรคภายนอก
อย่าลืมวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคภายนอกด้วย อย่างที่บอกว่าโอกาสและอุปสรรคคือสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ แม้จะไม่สามารถควบคุมได้แต่ต้องพยายามรับมือกับมันให้ดีที่สุด
7.สร้างกลยุทธ์การแข่งขันที่ทำให้เราได้เปรียบคู่แข่ง
หลังจากที่วิเคราะห์คู่แข่งหรือวิเคราะห์ร้านค้าคู่แข่งแล้ว หากวิเคราะห์อย่างเดียวแต่ไม่ลงมือทำ ไม่ปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ไม่เกิดผลประโยชน์ดังนั้นต้องลงมือทำ ลงมือปฏิบัติ สร้างกลยุทธ์การแข่งขันที่ทำให้เราได้เปรียบโดยใช้ข้อมูลที่วิเคราะห์ได้
ธุรกิจควรรับมือกับคู่แข่งทางธุรกิจ อย่างไรดี
1.สร้างความแตกต่าง
อยากเอาชนะคู่แข่งต้องสร้างความแตกต่างให้ได้ สินค้าหรือบริการที่แตกต่าง ย่อมสร้างความโดดเด่นและสร้างจุดสนใจ อาจนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์คู่แข่งมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสินค้าหรือบริการให้ดีกว่า โดดเด่นมากกว่าเพื่อดึงดูดลูกค้าให้ได้มากที่สุด
2.อย่าหยุดพัฒนา
สิ่งสำคัญคืออย่าหยุดพัฒนาสินค้าหรือบริการ การทำให้สินค้าแตกต่างจากคู่แข่ง วันหนึ่งอาจถูกลอกเลียนแบบได้ ดังนั้น ต้องไม่หยุดคิดหยุดทำ พยายามสร้างสรรค์ความแตกต่างและหาสิ่งที่ดีกว่าเสมอ
3.เร็วกว่าคู่แข่งทุกก้าว
การเดินช้ากว่าคู่แข็งเพียงแค่ 1 ก้าว อาจทำให้คุณกลายเป็นผู้แพ้ตลอดกาล ดังนั้น ต้องเร็วกว่าคู่แข่งเสมอ เมื่อคู่แข่งใช้กลยุทธ์มาคุณต้องรีบตอบโต้กลับ การตอบโต้อาจไม่จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์เดียวกันทุกอย่างขึ้นอยู่ที่การวางแผน
4.ซื้อใจลูกค้าให้ได้
การซื้อใจลูกค้าได้นั้นต้องศึกษา ทำความเข้าใจ และวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า รวมไปถึงควรสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าด้วย ไม่ใช่แค่การวิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาดอย่างเดียวเพราะลูกค้าคือคนสำคัญ คนที่จะขับเคลื่อนให้ธุรกิจของคุณก้าวไปข้างหน้า นำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้มาปรับเปลี่ยนสินค้าหรือบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด
5.หาแหล่งต้นทุนต่ำ
หากต้นทุนการผลิตของคุณต่ำกว่า คุณสามารถตั้งราคาขายได้ต่ำกว่า ช่วยดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาซื้อสินค้าได้ อย่างไรก็ตาม อย่าให้ความสำคัญกับวัตถุดิบที่ราคาถูกจนลืมเรื่องคุณภาพไป ให้ท่องไว้เสมอว่าคุณภาพสำคัญกว่า
คลิกอ่านเพิ่มเติม : แนะนำ 15 วิธีเพิ่มยอดขาย วิธีกระตุ้นยอดขายให้ปัง หากอยากเพิ่มยอดขาย ทำตามนี้เห็นผลแน่นอน
จะเห็นได้ว่าการวิเคราะห์ คู่แข่งทางการตลาด (Competitor Analysis) มีความสำคัญมากแค่ไหน ต่อการวางแผนและกำหนดกลยุทธ์การแข่งขันของธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดและมีกำไร โดยเมื่อพูดถึงการขายสินค้าออนไลน์ การที่จะสามารถเอาชนะใจลูกค้าได้นั้น การจัดส่งสินค้าต้องเร็ว แพ็คสินค้าให้ดี รวมถึงจัดการสินค้าในสต๊อกให้มีประสิทธิภาพด้วย
แต่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หลายคน ไม่มีพื้นที่เก็บสินค้า ส่งของช้าหรือส่งผิด ไม่มีคนช่วยแพ็คและไปส่งของให้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะหมดไปถ้าหันมาใช้บริการ Fulfilment ของ Packhai บริการคลังสินค้าออนไลน์ที่ให้บริการพื้นจัดกับสินค้า มีคนช่วยแพ็ค และจัดส่งให้ครบวงจร อยู่ที่ไหนก็ขายของได้ ทำงานผ่านระบบออนไลน์ มีคนบริหารจัดการสินค้าแทน ทำงานง่ายขึ้น มีเวลาเหลือเฟือ ช่วยให้คนขายของออนไลน์ มีเวลาไปโฟกัสงานขายมากขึ้น – ดูบริการอื่นๆ เพิ่มเติมของ Fufillment Packhai คลิกที่นี่