ขายของ Lazada กับ Shopee
การขายของ Lazada กับ Shopee ปัจจุบันนั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทั้งในกลุ่มของผู้ขายสินค้าและผู้ซื้อสินค้า เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่มากๆ ในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้มีความต้องการซื้อสินค้าที่หลากหลาย จึงถือเป็นโอกาสของผู้ขายหรือร้านค้าต่างๆ ในการจะเข้าไปขายสินค้า และยังสามารถเข้าถึงลูกค้าจำนวนมากได้อีกด้วย
แต่คำถามสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับผู้ขายก็คือ แล้วจะขายในแพลตฟอร์มไหนดีระหว่างขาย ของ Lazada กับ Shopee ซึ่งการจะตัดสินใจได้นั้น ก็จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อดี – ข้อเสียของแต่แพลตฟอร์ม แล้วค่อยนำมาเปรียบเทียบกัน
ข้อดี – ข้อเสียของการขายสินค้าผ่าน Lazada
ข้อดีของการขายของผ่าน Lazada
1. มีฐานลูกค้าจำนวนมาก : เนื่องจาก Lazada เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดให้บริการมาก่อน Shopee บวกกับได้รับการสนับสนุนด้านการพัฒนาและโปรโมทต่างๆ จากอาลีบาบาที่เป็นบริษัทแม่ ทำให้มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการอย่างไม่ขาดสาย
2. มีระบบในการปกป้องผู้ซื้อ : โดยมีนโยบายและเงื่อนไขในการโอนเงินของผู้ซื้อที่มีความปลอดภัย ระบบจะทำการโอนเงินค่าชำระสินค้าให้กับร้านค้า ก็ต่อเมื่อลูกค้าได้รับสินค้าแล้วได้ทำการตรวจสอบคุณภาพของสินค้า และยืนยันความถูกต้องเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขในการคืนสินค้า หรือขอเปลี่ยนสินค้าที่ไม่ยุ่งยาก
3. มีฟังก์ชั่นที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ขาย : ซึ่งร้านค้าที่ขายของใน Lazada ไม่ว่าจะเป็นรายใหม่ หรือรายเก่า สามารถเข้าไปใช้งานฟังก์ชันต่างๆ ในการบริหารจัดการร้าน จัดการออเดอร์ รวมถึงการดูข้อมูลสถิติของยอดขายได้ นอกจากนี้ยังสามารถเข้าไปรับการอบรมออนไลน์ เพื่อเรียนรู้และพัฒนาร้านค้าของตัวเองได้
ข้อเสียของการขายของผ่าน Lazada
1. มีค่าใช้จ่ายสูงที่ผู้ขายต้องเสียเมื่อมีรายได้จากการขายสินค้าเข้ามา : ไม่ว่าจะเป็นค่าคอมมิชชั่น ค่าธรรมเนียมการรับชำระเงิน และค่าธรรมเนียมการจัดส่งสินค้า ซึ่งอาจจะเป็นภาระสำหรับร้านค้าขนาดเล็ก ทำให้มีกำไรจากการขายที่น้อยลงได้
2. ต้องแข่งขันกับสินค้าที่มาจากจีน : เพราะในลาซาด้าจะมีสินค้าจากจีนมาลงขายค่อนข้างเยอะ แถมสินค้ายังมีราคาที่ถูกกว่า แต่ก็จะมีระยะเวลาจัดส่งสินค้าที่นานกว่าสินค้าในไทย ทำให้ลูกค้าบางกลุ่มอาจหันไปซื้อสินค้าจากจีนแทนได้
ข้อดี – ข้อเสียของการขายสินค้าผ่าน Shopee
ข้อดีของการขายของผ่าน Shopee
1. มีการจัดส่งฟรี : สำหรับสินค้าที่มีน้ำหนักไม่เกิน 5 กิโลกรัม ซึ่งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ขายและผู้ซื้อได้
2. ไม่มีการคิดค่าคอมมิชชั่น ของรายได้จากการขายสินค้า : โดยจะเสียเฉพาะค่าธรรมเนียมการรับชำระเงิน และค่าธรรมเนียมการจัดส่งสินค้า
3. ร้านค้าไม่จำเป็นต้องทำการตลาดเอง : เนื่องจาก Shopee จะมีการทำกิจกรรมส่งเสริมการขาย ไม่ว่าจะเป็นโปรโมชั่นส่วนลด และคูปองหรือโค้ดส่วนลดอยู่เป็นประจำ ซึ่งส่งผลดีต่อร้านค้าต่างๆ ทำให้มีลูกค้ามากขึ้น
ข้อเสียของการขายของผ่าน Shopee
1. การมีคู่แข่งเยอะ : หากทำการขายสินค้าที่คนนิยมขายกันในช่วงนั้น ซึ่งอาจทำให้มีการตัดราคากันเกิดขึ้นได้ เนื่องจากลูกค้ามักเลือกร้านที่มีราคาที่ถูกกว่า แต่ก็ต้องดูความน่าเชื่อถือของร้านด้วยประกอบกันด้วย
2. มีฐานลูกค้าที่น้อยกว่า Lazada : เนื่องจากเพิ่งจะเข้ามาเปิดตลาดได้ไม่นาน แต่ด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดที่แข็งแกร่งของ Shopee ก็ทำให้สามารถดึงดูดลูกค้าเข้ามาได้ และยังได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ
ขายของ Lazada กับ Shopee แบบไหนดีกว่ากัน
แม้ว่าการขายของบน Lazada กับ Shopee นั้นจะมีข้อดี – ข้อเสีย ที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่ทั้ง 2 แพลตฟอร์มก็เรียกได้ว่ามีความน่าเชื่อถือ และมีผู้เข้าใช้บริการจำนวนมากไม่แพ้กันเลยในปัจจุบัน ดังนั้นเหล่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หรือร้านค้าจึงควรลงขายสินค้าทั้ง 2 ช่องทางเลย ก็จะเป็นการดีกับร้านค้ามากกว่า เนื่องจากจะช่วยให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น และยังทำให้มีรายได้จากหลายช่องทางอีกด้วย
ในปัจจุบัน การขายของผ่านตลาดออนไลน์อย่าง Lazada กับ Shopee สามารถทำได้ง่าย ไม่ได้มีความยุ่งยากอะไรมาก จึงทำให้เหล่าผู้ขายพากันเข้าไปขายเป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้ลูกค้ามีตัวเลือกในการซื้อสินค้าที่หลากหลายขึ้น แต่อีกด้านหนึ่งก็ส่งผลให้ร้านค้าต่างๆ ต้องแข่งขันอย่างมากในการดึงดูดลูกค้า ดังนั้นร้านค้าจึงควรมีการปรับตัว และพัฒนาอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด และสามารถแข่งขันในตลาดได้
เพื่อเป็นการลดเวลาการทำงานเมื่อมีลูกค้าสั่งสินค้าผ่านทาง Lazada กับ Shopee ที่ทาง PACKHAI สิ่งอยากจะแนะนำคือควรมีระบบจัดการออเดอร์เพื่อให้การทำงานนั้นง่ายขึ้น ยิ่งเป็นระบบจัดการออเดอร์ที่มีบริการรับฝากสินค้าและจัดส่งแบบ Fulfillment แพ็ค เก็บ ส่งด้วยแล้ว ก็จะทำให้คนขายของออนไลน์สะดวกมากๆ มีเวลาไปโฟกัสกับงานขายเพื่อเพิ่มยอดขายมากขึ้นนั่นเอง อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยที่ด้านล่าง