Cross Docking คือ อะไร? งานกระจายสินค้าถือเป็นหนึ่งในกระบวนการด้านโลจิสติกส์ ต้องมีการวางแผนการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด คลังสินค้าภายใต้รูปแบบการทำงานที่เรียกว่า Cross Docking มีประโยชน์อย่างมาก ส่งผลในแง่ดีหลายด้าน อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าสินค้าทุกประโยชน์จะเหมาะกับ การกระจายสินค้าในลักษณะนี้ Cross Docking เหมาะกับสินค้าธุรกิจประเภทไหนบ้าง ทั้งหมดนี้เรามีคำตอบ
Cross Docking คือ ?
Cross Docking คือ กระบวนการทำงานในด้านโลจิสติกส์ (Cross Docking in Logistics) เป็นการกระจายสินค้าในลักษณะที่ให้คลังสินค้าเป็นจุด Cross Docking Center โดยรวมสินค้าที่ได้รับมาจากซัพพายเออร์ หลายเจ้าเพื่อนำมากระจายสินค้าเหล่านั้น ทำการส่งต่อไปยังลูกค้าหรือผู้บริโภค ซึ่งคลังสินค้าในลักษณะนี้จะเป็นการรับสินค้าเข้ามาเพื่อกระจายสินค้าออกไป เปรียบเหมือนศูนย์กระจายสินค้า ที่เป็นทั้งพื้นที่รับสินค้าเข้า จัดเก็บสินค้าและส่งออกสินค้าในเวลาเดียวกัน กระบวนการทำงานทั้งหมดที่เกิดขึ้นจะรันแบบต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง สามารถลดระยะเวลาในการจัดเก็บสินค้าในคลัง ลดต้นทุนในการจัดการสินค้าคงคลัง และเพิ่มความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้าถึงมือลูกค้า โดยแนวคิด Cross Docking มีมานานตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 ต้นแบบมาจากอุตสาหกรรมการขนส่งของ สหรัฐอเมริกาออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้า และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการกับห่วงโซ่อุปทาน
บทความที่เกี่ยวข้อง : ต้นทุนสินค้าคงคลัง (Inventory Cost) คืออะไร มีต้นทุนอะไรบ้างที่ต้องรู้
ประโยชน์ของการใช้ Cross Docking System
1.ลดความจำเป็นในการใช้พื้นที่จัดเก็บ
Cross Docking กระบวนการที่ช่วยลดความจำเป็นในการใช้พื้นที่จัดเก็บสินค้า สินค้าที่รับเข้ามาจะถูกกระจายออกไปอย่างรวดเร็ว มีการคัดแยกสินค้าที่เข้ามาในทันที กระจายสินค้าด้วยรถบรรทุกประเภทต่างๆ ไม่เพียงแต่ลดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าเท่านั้นแต่ยังลดการจัดการสินค้าให้น้อยที่สุดด้วย
2.ลดต้นทุนที่เกิดขึ้นจากสินค้าคงคลัง
แนวคิดการกระจายสินค้าแบบ Cross Docking นี้ ช่วยประหยัดต้นทุนให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างมาก ช่วยลดต้นทุนในการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ลดต้นทุนในการรักษาหรือดูแลสินค้าคงคลัง
3.ป้องกันสินค้าค้างสต็อก
การกระจายสินค้าแบบ Cross Docking ช่วยลดปัญหาสินค้าค้างสต็อก อย่างที่บอกว่า สินค้าทั้งหมดที่ถูกรับเข้ามาจะถูกคัดแยกและกระจายสินค้าออกไปอย่างรวดเร็ว ยิ่งถ้าเป็นสินค้าที่มีวันหมดอายุเร็ว ยิ่งต้องเร่งกระจายสินค้าออกไป ก่อนที่สินค้าจะหมดอายุ ป้องกันความเสี่ยงไม่ให้ขาดทุนจากสินค้าที่เสื่อมสภาพเร็ว
4.ไม่ต้องใช้คลังสินค้าขนาดใหญ่
การบริหารจัดการคลังสินค้าภายใต้แนวคิด Cross Docking ไม่จำเป็นต้องใช้คลังสินค้าขนาดใหญ่หรือใช้พื้นกว้างขวางในการจัดเก็บสินค้า เพราะสินค้ามีการกระจายออกไปรวดเร็ว มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา
Cross Docking Warehouse หมายถึงอะไร?
Cross Dock Warehouse คือ สถานที่จัดเก็บหรือคลังสำหรับจัดวางสินค้า ชนิดท่าเปลี่ยนถ่ายสินค้า ลักษณะการทำงานคือการรับสินค้าเข้าและกระจายสินค้าในเวลาเดียวกัน ขนถ่ายจากพาหนะหนึ่งไปยังพาหนะหนึ่งในการกระจายสินค้า ส่งออกไปสู่ลูกค้าปลายทาง คลังสินค้าในลักษณะนี้จะใช้เก็บสินค้าที่เน่าเสียง่ายเป็นหลัก เช่น อาหารหรือผักสด
Cross Docking มีกี่รูปแบบ..กี่ประเภท
1.Reverse Cross Docking
Reverse Cross Docking เป็นกระบวนการส่วนหนึ่งของโลจิสติกส์ย้อนกลับ วิธีที่ใช้บริหารจัดการ หรือการย้ายสินค้าที่ถูกส่งคืนจากลูกค้า โดยไม่ต้องเก็บรักษา
2.Opportunistic Cross Docking
Opportunistic Cross Docking เมื่อสินค้ารับเข้ามาจะถูกจับคู่กับออเดอร์หรือคำสั่งซื้อที่รอดำเนินการ เพื่อกระจายสินค้าออกมุ่งหน้าไปยังลูกค้า
3.Planned Cross Docking
Planned Cross Docking มีการวางแผนการรับมือไว้ล่วงหน้า เมื่อมีสินค้าจากการขนส่งขาเข้า ถูกกำหนดถ่ายโอนไปยังรถบรรทุกขาออกแบบเฉพาะเจาะจง
4.Consolidation Cross Docking
Consolidation Cross Docking วิธีการนี้คือการรวบรวมสินค้าขนาดเล็กเข้าไว้ด้วยกันหลายๆ รายการ รวมเข้าเป็นการขนส่งจำนวนมาก เพื่อกระจายสินค้าพร้อมกันช่วยประหยัดค่าขนส่ง
การขนส่งสินค้าแบบ Cross Docking เหมาะกับสินค้าประเภทใด
Cross Docking เหมาะกับสินค้าที่มีวันหมดอายุเร็ว เน่าเสียง่าย เช่น อาหาร หรือผักสด ของสด
Cross Docking เหมาะกับสินค้าที่สามารถขนถ่ายได้ง่าย หรือสินค้าขนาดไม่ใหญ่มาก น้ำหนักเบา ทำให้ง่ายต่อการจัดเรียงหรือการเคลื่อนย้าย
Cross Docking เหมาะกับสินค้าที่ได้รับความนิยมแบบต่อเนื่อง ทำให้สามารถผลิตและจำหน่ายออกสู่ท้องตลาดได้เลย
Cross Docking เหมาะกับสินค้าที่มีต้นทุนการเก็บรักษาสูง ช่วยประหยัดต้นทุนและลดความเสี่ยงในการสต็อกสินค้าไว้
Cross Docking ประโยชน์ต่อบริษัทที่ใช้ในกระบวนการขนส่ง
บริษัทที่ใช้ Cross Docking เป็นแนวทางในการบริหารจัดการคลังสินค้า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายสินค้า กระบวนการรับเข้า การจัดเก็บ การจัดส่งดำเนินการต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ทำให้ไม่จำเป็นต้องดูแลรักษาสินค้าให้ยุ่งยาก สินค้าถูกกระจายไปอย่างรวดเร็ว มีต้นทุนการเก็บรักษาต่ำ ลดปัญหาสินค้าค้างสต็อก ดังนั้น ธุรกิจหรือบริษัทที่ใช้ระบบการจัดการคลังสินค้าในลักษณะนี้ จึงมีความได้เปรียบมากกว่า ช่วยลดต้นทุนการขายได้มาก อีกทั้งยังสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วด้วย
การขนส่งสินค้าแบบ Cross Docking มีความเสี่ยงอะไรบ้าง
- การขนส่งจะต้องมีความรวดเร็วและมีรถขนย้ายสินค้าที่เพียงพอต่อความต้องการ
- เนื่องจากใช้พื้นที่คลังสินค้าน้อยมาก ดังนั้น หากบริหารงานไม่ดีอาจทำให้มีปัญหาตามมาได้
- Cross Docking ข้อเสีย คือมีความเสี่ยงอาจทำให้สินค้าเสียหายจากการขนส่งได้
การนำมาประยุกต์ใช้ในหลายภาคส่วน
Cross Docking สามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมอาหารและเกษตรกรรม สินค้าตามฤดูกาลสินค้าที่มีความต้องการสูง ไปจนถึงอุตสาหกรรมเครื่องประดับเพชรพลอยอัญมณี ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง การจัดส่งที่เร่งด่วน ลดความเสี่ยงต่อการสูญหาย เป็นต้น การจัดการแบบ Cross Docking ทำให้ธุรกิจสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็ว
ทดลองใช้บริการ Fulfillment Fulfillment ตัวช่วยคนขายของออนไลน์ ที่ช่วยลดต้นทุนการขายสินค้า ลดเวลาการทำงาน มีเวลาโฟกัสยอดขายได้มากขึ้น
สรุปแล้ว cross docking เป็นการกระจายสินค้าแบบรวมศูนย์ ที่มีทั้งการรับเข้า การจัดเก็บ การคัดแยกและการขนส่งสินค้าแบบต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง กระบวนการทำงานที่รวดเร็ว ส่งผลดีต่อธุรกิจหลายด้าน ไม่ต้องดูแลรักษาสินค้า ลดภาระการจัดการสินค้าในคง ลดความเสี่ยงสินค้าค้างสต็อก จัดส่งสินค้าได้รวดเร็วตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ทันที เช่นเดียวกับคลังสินค้าออนไลน์ Packhai ให้บริการ Fulfillment เก็บ แพ็ค จัดส่งรวมในที่เดียวกัน บริการที่ช่วยเหลือร้านค้าออนไลน์ที่ต้องจัดการออเดอร์จำนวนมาก เพื่อให้มีเวลาไปโฟกัสงานขายมากขึ้น
ติดต่อเรา PACKHAI : Packhai.com/contact
เบอร์โทร : 097-267-9487
เฟสบุ๊ค : Packhaiofficial
อีเมล : cs@packhai.com
ไลน์ : @packhai
ยูทูป : PACKHAI Fulfillment
ติ๊กตอก : @packhai