การทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีนั้นถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจ โดยเฉพาะการขายของออนไลน์ในปัจจุบัน กลยุทธ์ Story Telling กลายมาเป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจ มันทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างธุรกิจกับลูกค้า สร้างทัศนคติที่ดี ทำให้เกิดความผูกพันและสร้างความภักดีต่อแบรนด์ในที่สุด มาถึงตรงนี้ เชื่อว่าหลายคนคงอยากรู้แล้วใช่ไหมว่า Storytelling คือ อะไร? ทำไมถึงช่วยสร้าง Feedback ที่ดีต่อผู้เล่าอย่างมหาศาล
Storytelling คือ ?
Storytelling คือ การเล่าเรื่องราว การถ่ายทอดประสบการณ์หรือองค์ความรู้ สื่อสารออกมาอย่างสร้างสรรค์ด้วยภาษาสละสลวย ถ่ายทอดผ่านคอนเทนต์ที่อยู่ในรูปแบบของบทความ ข้อความ รูปภาพหรือวิดีโอ จนทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการคล้อยตาม ดึงดูดให้เกิดความสนใจ
Storytelling มี 3 ส่วนประกอบที่สำคัญ
การเล่าเรื่องต้องมีผู้เล่าเป็นบุคคลที่สำคัญในการถ่ายทอดเรื่องราวหรือประสบการณ์ ทั้งนี้ ผู้เล่าจะต้องรู้เทคนิคการถ่ายทอด วิธีการเล่าเรื่องให้น่าสนใจ สร้างอารมณ์ร่วมอาจอาศัยภาพประกอบการเล่าเรื่อง หรือวิดีโอ ช่วยกระตุ้นให้เกิดการคล้อยตาม
เนื้อเรื่องคือสาระสำคัญที่ต้องการจะสื่อ ต้องตรงกลุ่มเป้าหมายแสดงถึงความน่าเชื่อถือโดยอาศัยหลักการหรือทฤษฎี หรือประสบการณ์ที่ผ่านมา
จำเป็นต้องศึกษาพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย นำข้อมูลมาวิเคราะห์ในเชิงลึก เพื่อให้เข้าใจความต้องการอย่างแท้จริง ทำให้สามารถถ่ายทอดเรื่องราว นำเสนอสิ่งที่สร้างสรรค์ตรงใจกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด
ทำไมถึงต้องให้ความสำคัญกับ Storytelling
สตอรี่เทลลิ่ง คือกลยุทธ์เด็ดของธุรกิจ ยิ่งเป็นธุรกิจน้องใหม่หรือธุรกิจที่กำลังขยายตัว กลยุทธ์นี้ยิ่งสร้างความได้เปรียบทางด้านการแข่งขัน เพราะสามารถดึงดูดความสนใจลูกค้าได้เป็นอย่างดีเพราะกระตุ้นความรู้สึก กระตุ้นอารมณ์ของมนุษย์ทำให้อยากรู้เรื่องราวของแบรนด์มากขึ้น และยังทำให้พวกเขายอมเปิดใจให้กับแบรนด์มากขึ้นอีกด้วย ประโยชน์ของการเล่าเรื่อง Storytelling มีดังนี้
- ช่วยสร้างคุณค่าและสร้างตัวตนให้กับแบรนด์
- ช่วยทำให้เกิดการจดจำแบรนด์ที่ดี
- ช่วยกระตุ้นทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกผูกพันกับแบรนด์มากขึ้น
- ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์
รูปแบบ Storytelling มีกี่ประเภท
1.เน้นตัวบุคคล (Personal Storytelling)
การสร้างเรื่องราวที่เน้นตัวบุคคลเป็นผู้ดำเนินเรื่อง เช่น ประสบการณ์ที่ผ่านมาของคนคนนั้น ในการดำเนินธุรกิจ หรืออาจเป็นประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ต้องเผชิญจึงนำเรื่องราวมาแชร์ มาถ่ายทอดให้กับทุกคนได้รับรู้
2.เน้นเรื่องราวธุรกิจ (Brand Storytelling)
Storytelling ประเภทนี้เน้นการถ่ายทอดเรื่องราวของธุรกิจเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ธุรกิจนั้นๆ จะต้องมีชื่อเสียงพอสมควร หรือเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวกว่าจะมาประสบความสำเร็จในตอนนี้ต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ นานา ผู้เล่าเรื่องอาจเป็นเจ้าของแบรนด์เองหรือผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจแบรนด์อย่างละเอียด
3.เน้นเล่าเรื่องสร้างภาพลักษณ์ (Business Storytelling)
Storytelling ที่เน้นการเล่าเรื่องราวเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ สร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์อาจเล่าเรื่องการทำงานภายในองค์กร กลุ่มผู้ฟังหรือกลุ่มเป้าหมายมักเป็นพาร์ทเนอร์ หรือผู้ร่วมทุน ทำให้เกิดความเชื่อมั่น
เทคนิคการสร้าง Storytelling สำหรับธุรกิจ
1.เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย
การสร้าง Story Telling อย่างแรกที่สำคัญต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย มีการวิเคราะห์ในเชิงลึก คุณต้องรู้ก่อนว่าเป้าหมายหลักคือใคร พฤติกรรม เพศ อายุ การศึกษา ความสนใจ ที่อยู่ ฯลฯ เพื่อใช้กำหนดทิศทางในการเล่าเรื่องหรือการสื่อสาร
2.สร้างเรื่องราวอย่างมีเป้าหมาย
ขั้นตอนต่อไปต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน หรือเลือกประเภทของ Storytelling พร้อมกำหนดเป้าหมายว่าต้องการผลลัพธ์ไปในทิศทางใด เช่น สร้างความน่าเชื่อถือ กระตุ้นยอดขาย หรือสร้างการจดจำแบรนด์ ผ่านเทคนิคการเล่าเรื่องให้น่าสนใจ
3.วางโครงเรื่อง เนื้อหา
การวางโครงเรื่องหรือเนื้อหาสำคัญมาก ต้องมีการเรียบเรียงขั้นตอนการเล่าเรื่องไว้อย่างเหมาะสม สื่อสารอย่างสมูท การเล่าเรื่อง Storytelling ต้องไม่ติดขัด กำหนดตัวละครคือใคร พล็อตเรื่องเป็นอย่างไร จุดขัดแย้งหรือจุดเปลี่ยนเพื่อดึงดูดความสนใจ บทสรุปเอาสาระสำคัญเน้นๆ ไม่ยืดเยื้อจนเกินไป
4.กำหนดช่องทางการสื่อสาร
กำหนดว่าจะสื่อสารด้วยคอนเทนต์แบบไหน บทความ รูปภาพหรือวิดีโอ จากนั้นกำหนดช่องทางในการสื่อสาร เช่น Facebook, Instagram, TikTok, YouTube, Website เป็นต้น
5.ปรับปรุงเพื่อดึงดูดความสนใจ
ข้อสุดท้ายคือการติดตามผลลัพธ์ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สิ่งที่ต้องการสื่อสารหรือเรื่องเล่ามีความน่าสนใจมากขึ้น ดึงดูดความสนใจของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้น
ช่องทางการถ่ายทอด Storytelling สำหรับธุรกิจยุคใหม่
- TikTok : ช่องทางที่กำลังมาแรงในตอนนี้นำเสนอคอนเทนต์ Storytelling ในรูปแบบคลิปวิดีโอสั้นๆ
- Facebook : แฟลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ นำเสนอได้หลายรูปแบบ ข้อความ วิดีโอหรือรูปภาพ
- Instagram : แพลตฟอร์มที่เน้นการนำเสนอในรูปแบบของรูปภาพหรือใส่ Storytelling แบบภาพสไลด์
- Youtube : การนำเสนอราวเรื่องของธุรกิจผ่านคลิปวิดีโอบนยูทูป กำลังได้รับความนิยม เพราะมีผู้ใช้งานอยู่มากมาย อีกทั้งยังสามารถนำเสนอคอนเทนด์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มการจดจำหรือการให้ความรู้ ผ่านวิดีโอสั้นที่มีความยาวไม่มาก
แนวโน้มของ Storytelling กับบทบาทในตลาดยุคปัจจุบัน
การตลาดในยุคปัจจุบันเต็มไปด้วยการแข่งขันสูง โดยเฉพาะการตลาดออนไลน์ ธุรกิจต้องสร้างกลยุทธ์ที่แตกต่างจากคู่แข่ง ต้องแสวงหาจุดเด่นของแบรนด์เพื่อชิงความได้เปรียบ ยิ่งในยุคนี้ลูกค้ามักตัดสินใจด้วยอารมณ์เหนือเหตุผล กลยุทธ์ Storytelling จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญเพราะเป็นกลยุทธ์ที่กระตุ้นความสนใจ กระตุ้นอารมณ์ทำให้เกิดการคล้อยตามที่ดี
ตัวอย่างการทำ Storytelling ในหลายธุรกิจ
Storytelling ตัวอย่างแรกที่เห็นได้ชัด ก็คือ เบอร์เกอร์คิงส์ คู่แข่งของแมคโดนัลมาตั้งแต่ยุค 70s แบรนด์ได้ทำ Storytelling ด้วยการนำเสนอประวัติของผู้ก่อตั้ง เด็กหนุ่มบัณฑิตพร้อมเพื่อนร่วมทุน 2 คน รวมเงินกันซื้อกิจการ Insta-burger king เพื่อนำมารีแบรนด์ใหม่อีกครั้ง ก่อนเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่อเมนูใหม่ Whopper ประวัติของเบอร์เกอร์ คิงส์ ถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก และอีกธุรกิจ คือ สตาร์บัค ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1971 จากร้านขายเมล็ดกาแฟคั่ว ที่ต่อมาได้ถูกปรับปรุงเป็นบาร์กาแฟ ร้านกาแฟที่กล้าขายกาแฟราคาสูง ใครจะไปคิดว่าจะอยู่รอด มีคนกล้าซื้อ โดนสบประมาทจากผู้คนมากมาย จนปัจจุบันมีผู้คนหลายร้อยล้านที่ยอมจ่ายเพื่อให้ได้บรรยากาศสุดพรีเมี่ยมพร้อมชิมกาแฟรสชาติกลมกล่อมและเครื่องดื่มอีกมากมาย
ทดลองใช้บริการ Fulfillment
Fulfillment ตัวช่วยคนขายของออนไลน์ ที่ช่วยลดต้นทุนการขายสินค้า ลดเวลาการทำงาน มีเวลาโฟกัสยอดขายได้มากขึ้น
สมัครใช้บริการ คลิกดูค่าบริการStorytelling กลยุทธ์สำคัญที่ทุกแบรนด์ไม่ควรมองข้ามประโยชน์หรือข้อดีของ Story Telling ที่มีต่อการทำธุรกิจ ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้คนรู้จักแบรนด์มากขึ้นแต่ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อแบรนด์ ช่วยกระตุ้นยอดขาย สร้างความน่าเชื่อถือให้กับสินค้าหรือบริการ สร้างความภักดีต่อแบรนด์ ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสูงสุดในการทำธุรกิจในยุคนี้ การทำ Storytelling ให้ประสบความสำเร็จตั้งวิเคราะห์เป้าหมาย สร้างเรื่องราวอย่างมีเป้าหมาย วางโครงเรื่อง เนื้อหา เลือกช่องทางการสื่อสารให้ดี รวมถึงการติดตาม วัดผลเพื่อนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป
ติดต่อเรา PACKHAI : Packhai.com/contact
เบอร์โทร : 097-267-9487
เฟสบุ๊ค : Packhaiofficial
อีเมล : cs@packhai.com
ไลน์ : @packhai
ยูทูป : PACKHAI Fulfillment
ติ๊กตอก : @packhai