ค่า GP คืออะไร อีกหนึ่งต้นทุนของการขายของเดลิเวอรี่

ค่า GP คืออะไร

ค่า GP

ธุรกิจออนไลน์ในปัจจุบันต้องยอมรับว่าได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ยิ่งด้วยสถานการณ์ภาวะโรคระบาดในปัจจุบันที่ทั่วโลกต้องเผชิญ รวมถึงประเทศไทยของเรา นั่นคือ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ทำให้ผู้บริโภคต้องกักตัวที่บ้านหรือ work from home ทำงานอยู่ที่บ้านบวกกับร้านค้า ร้านขาย ร้านอาหารต่างๆ ไม่สามารถเปิดให้นั่งทานได้ จึงทำให้ธุรกิจออนไลน์เติบโตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการขายอาหารแบบเดลิเวอรี่ วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ ค่า GP ที่เราอาจจะเคยได้ยินกันไปบ่อยๆ แต่ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วค่า GP คืออะไรกันแน่

ค่า GP คืออะไร

ค่า GP หรือ Gross Profit คือ ค่าคอมมิชชั่น ที่ร้านอาหารจะต้องจ่ายให้กับแอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร เป็นค่าดำเนินการที่ทางแพลตฟอร์มเรียกเก็บกับร้านอาหาร ซึ่งค่า GP ของแต่ละเจ้านั้นจะแตกต่างกันออกไป ะหากร้านอาหารมีชื่อเสียงหน่อย ก็จะมีเรทค่าดำเนินการที่อาจไม่สูงมากแต่ส่วนใหญ่แล้วร้านอาหารทั่วไปจะต้องจ่ายค่าดำเนินการให้กับแพลตฟอร์มสั่งอาหารออนไลน์อยู่ประมาณ 30-35 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ร้านอาหารแต่ละร้านต้องมีวิธีการจัดการกับค่าคอมมิชชั่นหรือค่า gp ที่แตกต่างกันออกไป และต้องมีการบริหารจัดการให้ดีเพราะค่า gp นั้นถือได้ว่าเป็นต้นทุนอย่างหนึ่ง ร้านอาหารบางร้านอาจแบกรับค่าดำเนินการนี้ไว้เอง ในขณะที่บางร้านอาจบวกเพิ่มไว้กับราคาอาหารและเครื่องดื่มหน้าร้านแทน

ค่า GB ของแต่ละแพลตฟอร์มอยู่ที่เท่าไหร่กันบ้าง

ในปัจจุบัน Platform หรือแอปฯ สั่งอาหารในประเทศไทยของเราก็มีมากมายหลายเจ้า เช่น Grab, LINE Man, Food Panda ฯลฯ ซึ่งแต่ละแบบฟอร์มนั้นก็จะมีการเก็บค่าบริการ GP ที่แตกต่างกันออกไป และไม่ว่าค่า GP จะถูกนิยามวด้วยอะไรก็ตาม แต่การสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นก็จะมีราคาที่สูงมากกว่าการไปรับประทานอาหารที่ร้านนั่นเอง ทีนี้เราจะพาทุกคนมาดูค่า GP ของแต่ละเจ้าว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร

ค่า gp ของแต่ละแพลตฟอร์ม

1.Grab

Grab นั้นถือได้ว่าเป็นแอปพลิเคชั่นสั่งอาหารที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งจะหักค่า GP 30% โดยจะโอนเงินให้กับร้านอาหารในวันถัดไป ปัจจุบันมีจำนวนร้านอาหารบนแพลตฟอร์มนี้ประมาณ 8 หมื่นร้านเลยทีเดียว

2.Foodpanda

ฟู้ดแพนด้าก็เป็นอีกหนึ่งเจ้าที่ได้รับความนิยมสูง ปัจจุบันมีผู้คนที่สั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นฟู้ดแพนด้ามากมาย สำหรับค่า GP ของ Food Panda จะอยู่ที่ 32% โดยจะโอนเงินให้ร้านอาหารตั้งแต่ 17 15 หรือ 30 วัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ในปัจจุบันมีจำนวนร้านอาหารบนแพลตฟอร์มนี้ประมาณ 120,000 ล้านเลยทีเดียว

3.Lineman

LINE Man มีการหักค่า GP 30% และจะโอนเงินให้ร้านอาหารในวันถัดไปใน กรณีที่มูลค่าเกิน 500 บาท ในปัจจุบันมีร้านอาหารบนแพลตฟอร์ม LINE Man สูงถึง 200,000 ร้านเลยทีเดียว

4.Gojek

Gojek  คิดค่า GP หรือค่าคอมมิชชั่น 30% ทำการโอนเงินให้ร้านอาหารในวันถัดไป กรณีมีมูลค่าเกิน 100 บาทปัจจุบันมีร้านอาหารบนแพลตฟอร์มนี้ 40,000 ร้าน

5.Robinhood

Robin hood ไม่คิดค่า GP และจะโอนเงินให้ร้านอาหารภายใน 1 ชั่วโมง ปัจจุบันมีร้านอาหารบนแพลตฟอร์มนี้ประมาณ 80,000 ร้าน

ค่า GB เท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม

ร้านอาหารแต่ละร้าน ต่างก็มีวิธีการจัดการค่าคอมมิชชั่นหรือค่า GP ที่แตกต่างกันออกไป อย่างที่บอกว่าร้านอาหารบางร้านยอมที่จะจ่ายค่า GP เพื่อรักษาลูกค้าเอาไว้ ในขณะที่บางร้านจะมีการบวกไว้กับราคาอาหารหรือเครื่องดื่มหน้าร้าน ขึ้นอยู่ที่ว่าร้านอาหารนั้นๆ ต่างก็มีต้นทุนและรายจ่ายที่ต้องแบกรับมากน้อยแค่ไหนหรือแตกต่างกันอย่างไร ยกตัวอย่างให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น การสั่งอาหารให้มาส่งราคา 100 บาท แยก GP 30 บาทบวกกับภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เป็นเงิน 2.1 บาท คิดเป็นตัวเลขกลมๆ หมายความว่าทางร้านอาหารจะต้องจ่ายให้เดลิเวอรี่ 32 บาท ที่เหลือ 68 บาทก็คือค่าอาหาร ราคานี้หากนั่งทานอาหารที่ร้านตามปกติอาจจ่ายเพียงแค่ 60 บาทเท่านั้น

ค่า gp เท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม

การหาค่า GP ที่เหมาะสม จึงไม่มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวขึ้นอยู่กับว่าทางร้านอาหารเลือกที่จะจัดการกับค่าคอมมิชชั่นนี้อย่างไร จะยอมจ่ายค่า GP เพื่อรักษาฐานลูกค้าไว้หรือบวกค่า GP ไว้กับค่าอาหารและเครื่องดื่มหน้าร้าน ในขณะที่ร้านอาหารบางร้านให้ปริมาณอาหารลูกค้าที่สั่งซื้อผ่านแอปพลิเคชั่นสั่งอาหารมากกว่าลูกค้าที่มานั่งรับประทานอาหารหน้าร้าน เพราะเข้าใจหัวอกลูกค้าดี แต่ไม่ว่าร้านอาหารแต่ละร้านจะจัดการด้วยวิธีไหนก็ตาม ก็ให้พึงคิดไว้เสมอว่าทำอย่างไรก็ได้ ไม่ให้ขาดทุนและเจ็บตัว

packhai คลังสินค้าออนไลน์ที่ผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ต้องรู้จัก

การส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไม่ใช่แค่อาหารเท่านั้น แต่หมายถึงสินค้าทุกรายการที่จำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ต้องบอกเลยว่าในปัจจุบันได้รับความนิยมหรือได้รับความสนใจจากผู้ซื้อเป็นอย่างมากและสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ธุรกิจ กำลังไปได้ดี มียอดออเดอร์เพิ่มขึ้น แน่นอนว่าก็มักจะประสบปัญหาเรื่องของการจัดการ Order ไม่มีพื้นที่หรือคลังสินค้าสำหรับจัดเก็บสินค้า ไม่มีคนช่วยแพ็คของให้และการจัดส่งที่ล่าช้า

ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปเพราะ packhai เขาให้บริการคลังสินค้าออนไลน์ ที่มีบริการครอบคลุมและครบวงจร เหมาะกับคนทำธุรกิจออนไลน์มากที่สุด ให้บริการเก็บ แพ็ค และส่งในจุดเดียวกัน คนทำธุรกิจออนไลน์สามารถทำงานได้ง่ายๆ บริหารจัดการสินค้าในสต๊อกได้ด้วยตนเอง มีเวลาไปโฟกัสกับการขายมากขึ้น ไม่ต้องเสียเวลามายุ่งยาก วุ่นวาย ปวดหัวเรื่องการแพ็คสินค้าและการจ้างแรงงาน เพราะ packhai มีบริการที่ครบวงจรและตอบโจทย์เป็นอย่างมาก พร้อมให้บริการด้วยความประทับใจช่วยยกระดับธุรกิจออนไลน์ของคุณให้เติบโตมากขึ้น ในขณะเดียวกันคุณก็มีเวลาไปใช้ชีวิตส่วนตัวมากขึ้นเช่นเดียวกัน

ราคาค่าบริการ fulfillment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *