การสร้างแพ็คกิ้งลิส Packing List และตัวอย่างที่ควรรู้

Packing List คืออะไร เมื่อเราต้องนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เอกสารสำคัญที่เราจะต้องได้จาก Supplier เช่น การนำเข้าทางอากาศ ได้แก่ ใบ Invoice, Packing List, AWB เป็นต้น เมื่อสินค้าถูกส่งมาถึงประเทศไทยแล้ว อาจจ้างตัวแทนหรือบริษัทชิปปิ้งดำเนินการแทน ทั้งในส่วนของ Process customs clearance รวมถึงการจัดหารถบรรทุกขนส่งมายังโรงงานหรือโกดังเก็บสินค้า และในวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับเอกสาร Packing List เพราะเชื่อว่าเราคุ้นหน้าคุ้นตากับเอกสารใบแจ้งหนี้หรือ Invoice กันอยู่แล้ว

Packing List

packing list คือ ใบกำกับหีบห่อ เอกสารนี้มีไว้เพื่อระบุรายละเอียดการบรรจุหีบห่อของสินค้า โดยใช้ประกอบเอกสาร Invoice ไม่ว่าจะเป็นการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศหรือการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เอกสารนี้มีความสำคัญไม่น้อย โดยเอกสารฉบับนี้มีไว้เพื่อแสดงความชัดเจนในการบรรจุและการเตรียมการขนถ่ายสินค้า สำหรับผู้ที่มีความเกี่ยวข้องในการขนถ่าย ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนสายเรือ หรือสายการบิน ได้จองพื้นที่อย่างถูกต้อง รวมถึงมีไว้ให้กรมศุลฯ ได้ตรวจสอบความถูกต้องของสินค้าเพื่อความรวดเร็วอีกด้วย

ปัจจุบันการสร้างเอกสาร แพ็คกิ้งลิส ทำได้หลายวิธี เมื่อก่อนสร้างแบบฟอร์ม packing list excel ใช้งานฟรี ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ล้าหลังไปแล้วเนื่องจากพนักงานต้องคีย์ข้อมูลต่างๆ ลงในโปรแกรม บางครั้งคีย์ข้อมูลผิดพลาด ตัวเลขคลาดเคลื่อน หรือชื่อ ที่อยู่ของบริษัทผิด ก็อาจส่งผลเสียตามมาได้ ที่สำคัญเลยคือต้องเสียเวลาไปค่อนข้างมากในการสร้างเอกสาร แทนที่จะได้เอาเวลาไปโฟกัสงานส่วนอื่น ดังนั้น หลายบริษัทจึงได้เล็งเห็นความสำคัญเรื่องนี้ มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานใหม่ นำระบบหลังบ้านหรือซอฟแวร์ที่ทันสมัยเข้ามาช่วย สร้างแบบฟอร์มใบกำกับหีบห่อที่ง่ายดาย รวดเร็ว สร้างอัตโนมัติ ได้เอกสารแม่นยำถูกต้องไม่กังวลเรื่องข้อผิดพลาดเลย

packing list คืออะไร

Packing List ตัวอย่าง

1.ตัวอย่าง Packing List กรณีนำเข้าสินค้า

packing list ตัวอย่าง ในกรณีที่มีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ หลังจากพนักงานฝ่ายจัดซื้อได้พูดคุยตกลง ที่จะสั่งซื้อสินค้ารายการต่างๆ จำนวน และราคาของสินค้ากับบริษัท ซัพพายเออร์เรียบร้อยแล้ว จะมีการออกใบ PO หรือ Purchase Order เป็นใบแสดงถึงข้อตกลงในการซื้อขาย จากนั้นทางฝั่งของผู้ขายจะออกใบ Invoice, Packing List ส่งให้ผู้ซื้อได้ตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง ทั้งนี้ ทางฝั่งผู้ซื้อจะต้องตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ ตรวจเช็คว่าข้อมูลตรงหรือไม่ เช่น ตรวจสอบชื่อ ที่อยู่ผู้รับ รายการสินค้า จำนวนสินค้า น้ำหนัก Incoterms หรือเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า ฯลฯ

หากเอกสารถูกต้อง มีการจ่ายเงินตามเงื่อนไขที่กำหนด ทางฝั่งซัพพายเออร์ทำการจัดส่งสินค้าทางเรือหรือทางอากาศ ตามที่ได้ตกลงกัน เมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทย ทางฝั่งผู้ซื้อจะต้องดำเนินการเข้าไปเคลียร์สินค้ากับทางกรมศุลฯ หรือว่าจ้างตัวแทน ชิปปิ้งไปดำเนินการแทนให้ ส่งเอกสาร Invoice, Packing, AWB/BL ให้กับตัวแทนนำเข้า เพื่อไปรับ D/O (Delivery order) เอกสารที่ทางสายเรือ หรือสายการบินสั่งปล่อยสินค้า ออกให้ผู้นำเข้าเพื่อไปรับสินค้า มีการทำใบขนขาเข้าจ่ายภาษีนำเข้าให้กับกรมศุลฯ เมื่อเคลียร์สินค้าเสร็จเรียบร้อยชิ้งปิ้งจัดส่งสินค้ามายังบริษัทหรือคลังเก็บสินค้าถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายเสร็จสิ้นการนำเข้าสินค้า

  • ตัวอย่าง https://intertraderacademy.com/packing-list/

2.ตัวอย่าง Packing List กรณีส่งออกสินค้า

การส่งออกสินค้าหรือขายสินค้าไปต่างประเทศจะตรงกันข้ามทั้งหมดกับการนำเข้า เช่นหากเราเป็นบริษัทผู้ส่งออก สินค้าที่สต๊อกในคลังอาจเป็นรูปแบบ Cross Docking คือ การขนส่งสินค้าจากโรงงานผู้ผลิตมาเก็บในคลัง รอการกระจาย หลังจากมีออเดอร์เข้ามา เราจะต้องออกใบ Invoice และ Packing List ส่งเอกสารให้ทางผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า หากเทอมการซื้อขายไม่ใช่ EXW แต่เป็นเทอม CIP จะต้องดำเนินการจัดหาเที่ยวบินหรือสายเรือเอง จัดการหารถส่งของไปยังท่าเรือหรือสายการบินเอง รวมถึงจัดหาตัวแทนส่งออกเองด้วย (Forwarder) ก่อนส่งเอกสารใบแจ้งหนี้และใบกำกับภาษีให้ลูกค้าจะต้องตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร packing list form ทั้งชื่อ ที่อยู่ หมายเลข TAX ID รายการสินค้า จำนวน น้ำหนัก ฯลฯ

  • ตัวอย่าง https://agencygenius.com/invoid.html

3.ตัวอย่าง Packing List กรณีส่งสินค้าภายในประเทศ

การจัดส่งสินค้าภายในประเทศ ทั้งนี้ ผู้ส่งอาจจัดส่งสินค้าด้วยตนเอง จ้างรถขนส่งสินค้าจากภายนอก ใช้บริการคูเรียร์ เช่น FedEx, TNT หรือ DHL หรือผู้ซื้ออาจมารับสินค้าด้วยตนเอง ในกรณีที่เป็นเทอม EXW ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่มีการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย การส่งสินค้าภายในประเทศ หากเป็นการส่งระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ มักจะมีเอกสาร ทั้งใบแจ้งหนี้ Invoice รวมถึงเอกสาร แพ็ค กิ้ง ลิสด้วยเช่นกันจะต้องตรวจสอบเอกสาร เช็คความถูกต้องให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดตามมาภายหลัง

  • ตัวอย่าง https://siamchinacargo.com/blog/import-knowledge/pl-packing-list/
แพ็ค กิ้ง ลิส

Packing List ต้องเขียนอะไรบ้าง

  • ชื่อ ที่อยู่ของผู้ขายสินค้าและ ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้า

  • วันที่ในการออกใบกำกับหีบห่อ

  • หมายเลขของเอกสารใบกำกับหีบห่อ

  • รายละเอียดของสินค้า

  • จำนวนของสินค้า

  • หน่วยของสินค้า

  • น้ำหนักสุทธิของสินค้า Net Weight

  • น้ำหนักรวมทั้งหมดของสินค้า Gross Weight

  • ลายเซ็นของผู้รับรอง และตราประทับของบริษัท 

บริการ Fulfillment ราคาถูกสุดที่นี่ Packhai !!!

การทำธุรกิจในยุคนี้ สะดวกสบายง่ายขึ้นด้วยบริการ Fulfillment บริการคลังสินค้าออนไลน์ อย่างบริการของ PACKHAI ให้บริการเก็บ แพ็ค ส่งครบวงจร ตอบโจทย์คนขายของออนไลน์อย่างมาก โดยเฉพาะธุรกิจที่กำลังขยายตัว ต้องสต๊อกสินค้ามากขึ้น โกดังเก็บสินค้าไม่เพียงพอต้องขยายพื้นที่ หรือมองหาคลังสินค้าให้เช่า ราคาประหยัด ไม่เพียงแต่มีพื้นที่ให้เช่า แต่ยังมีคนดูแลสินค้าให้อย่างดี ภายใต้ระบบการจัดการที่ทันสมัย มีคนช่วยแพ็ค ไปส่งของให้ครบครัน มีเวลาโฟกัสงานขายมากขึ้น

Packhai ตอบโจทย์ขายของออนไลน์

ทดลองใช้บริการ Fulfillment

Fulfillment ตัวช่วยคนขายของออนไลน์ ที่ช่วยลดต้นทุนการขายสินค้า ลดเวลาการทำงาน มีเวลาโฟกัสยอดขายได้มากขึ้น

สมัครใช้บริการ คลิกดูค่าบริการ

packing list คืออะไร ได้รู้กันไปแล้ว PACKHAI ผู้ช่วยที่ดีที่สุด บริการ Fulfillment ครบวงจร ทั้งเก็บ แพ็คและจัดส่ง รวมไว้ที่นี่ นอกจากนั้นยังมีระบบหลังบ้าน WMS และ OMS ให้ใช้งานฟรี ดูดออเดอร์ทุกแพลตฟอร์ม รวมแชทในหนึ่งเดียว เช็คสต๊อกได้ง่าย จัดการสต๊อกได้รวดเร็ว แม่นยำ ติดตามสถานะของสินค้าได้เรียลไทม์ ครอบคลุมด้วยระบบสร้างเอกสารใบปะหน้า Invoice, Packing List มีระบบจัดการงานด้านเอกสารครบถ้วน ไม่ต้องปวดหัวเรื่องเอกสารอีกต่อไป

ติดต่อเรา PACKHAI : Packhai.com/contact

เบอร์โทร : 097-267-9487

เฟสบุ๊ค : Packhaiofficial

อีเมล : cs@packhai.com

ไลน์ : @packhai

ยูทูป : PACKHAI Fulfillment

ติ๊กตอก : @packhai