Shipping คือ
Shipping คือ บริษัท องค์กร หรือบุคคลที่เป็นตัวแทนเจ้าของสินค้า ซึ่งภาษาอย่าเป็นทางการของคำว่า Shipping นั้นจะใช้แทนคำว่า ตัวแทนออกของ
ที่ทำหน้าที่ติดต่องานเพื่ออำนวยความสะดวกด้านงานเอกสารผ่านธนาคาร กรมศุลกากร บริษัทเรือเดินทะเลหรือบริษัทขนส่งทางเครื่องบินเพื่อนำสินค้าเข้าและส่งสินค้าออกนอกประเทศ และนอกจากนี้ Shipping ยังมีการไปรับสินค้าจากโกดังลูกค้าเพื่อนำไปเข้าตู้คอนเทนเนอร์ และมี Shipping ยังมีหน้าที่ติดต่อกับผู้ส่งสินค้าว่าสินค้านั้นมีปริมาณเท่าไหร่ จะทำการเช่าตู้ หรือรวมไปกับสินค้าผู้ส่งรายอื่นๆ ซึ่ง Shipping นั้นจะมีเรือเดินทะเลเป็นของตัวเอง รวมไปถึงตู้คอนเทนเนอร์ด้วยค่ะ
ซึ่งประเภทของ Shipping ในปัจจุบันนี้ก็มีอยู่หลากหลายประเภท อีกทั้ง Shipping และ Forwarder นั้นยังมีความแตกต่างกัน บทความนี้ก็เลยจะพาทุกคนนั้นไปทำความรู้จักกับ Shipping ให้มากขึ้นเพื่อให้คลายข้อสงสัย ถ้าพร้อมแล้วมาดูไปพร้อมๆกันเลยค่ะว่า Shipping นั้นมีกี่ประเภท และ Shipping และ Forwarder นั้นจะมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ
Shipping มี 2 ประเภทดังนี้
1.ตัวแทนออกของทั่วไป (Shipping)
เป็นตัวแทนของเจ้าของสินค้าที่ทำหน้าที่ในการติดต่องานด้านเอกสารกับกรมศุลกากรเพื่อนำสินค้าเข้าและส่งสินค้าออก รวมถึงบริการอื่นๆอีกมากมายที่เกี่ยวข้อง โดยต้องทำการอนุญาตและต้องได้รับอนุญาต ซึ่ง Shipping นั้นจะต้องมีคุณสมบัติที่ Shipping ควรจะมีโดยมีหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานของทางกรมศุลกากร ซึ่ง Shipping นั้นจะเป็นตัวแทนออกของทั่วไปที่มีเรือเดินทะเล รวมถึงรถตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตนเองนั้นเองค่ะ นอกจากนี้ Shipping ยังต้องจัดการเอกสารผ่านธนาคาร ใบขนส่งสินค้าให้ด้านศุลกากร เอกสารของบริษัทเรือเดินทะเล รวมถึงบริษัทขนส่งทางสายการบิน
2.ตัวแทนออกของมาตรฐานเออีโอ (AEO-Authorized Economic Operator)
ตัวแทนออกของมาตรฐานเออีโอ คือ ตัวแทนออกของทั่วไปที่มีการยกระดับการให้บริการสู่มาตรฐานสากล ซึ่งตัวแทนออกของนั้นสามารถยื่นคำร้องกับกรมศุลกากร โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเป็นไปตามประกาศกรมศุลกากรที่ 13/2556 นอกจากนี้องค์การศุลกากรโลกยังให้ความหมายของตัวแทนออกของมาตรฐานเออีโอว่า เป็นองค์กร บริษัท ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้า โดยได้รับการรับรองจากศุลกากรของแต่ละประเทศต้องปฏิบัติตามมาตรฐานของ องค์การศุลกากรโลก หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่ากันในเรื่องการรับษาความปลอดภัยในห่วงโซ่อุปทาน ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะยกระดับเพื่อเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันสู้ระดับสารฐานโลก
ความแตกต่างระหว่าง Shipping และ Forwarder มีดังนี้
ความแตกต่างระหว่าง Shipping และ Forwarder ที่ชันเจนนั้นก็คือ
1.Forwarder ไม่มีเรือเดินทะเลเป็นของตนเองจึงต้องทำการเช่า ในขณะที่ Shipping นั้นมีเรือเดินทะเลเป็นของตัวเอง
2.ลูกค้า Forwarder ส่วนใหญ่เป็นลูกค้ารายเล็กหลายรายรวมกันเพื่อใช้บริการตู้คอนเทนเนอร์หนึ่งตู้
3.ลูกค้า Shipping โดยส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้ารายใหญ่
4.ค่าใช้จ่าย Forwarder นั้นจะมีราคาที่สูงมากกว่า Shipping เนื่องจากการให้บริการบางอย่างเป็นการเช่าต่อ
ความแตกต่างระหว่าง Shipping และ Forwarder นั้นก็เรื่องได้ว่าคล้ายกันอยู่มากเพียงแต่ Forwarder ไม่มีเรือเดินทะเลและตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตนเองนอกจากนี้ Forwarder จึงมีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการที่สูงกว่า Shipping ซึ่งในขณะเดียวกันนั้น Shipping ก็รับเฉพาะลูกค้ารายใหญ่ แต่ Shipping และ Forwarder นั้นยังมีหน้าที่ในการให้บริการที่เหมือนกัน ยังไงก็ตามทั้ง Shipping และ Forwarder นั้นก็เป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับผู้ประกอบการ เพราะนอกจากจะไม่ต้องดำเนินด้วยตัวเองแล้วยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเช่าหรือซื้อตู้คอนเทนเนอร์ ช่วยทั้งประหยัดเวลาทำให้เรานั้นมีเวลาไปคิดแผน กลยุทธ์ใหม่ต่างๆที่จะพัฒนาธุรกิจของเราให้ดียิ่งขึ้นไปอีก และยังช่วยลดปัญหาเรื่องน่าปวดหัวในเรื่องของเอกสารได้เป็นอย่างดีอีกด้วยค่ะ
เมื่อเลือก Shipping ได้แล้ว มาเลือกบริการ Fulfillment ต่อได้เลย
เมื่อเลือก Shipping ได้แล้วแน่นอนว่าไม่ใช้เรื่องง่ายๆและก็ไม่ใช้เรื่องยากอีกเช่นกัน เพราะ Shipping นั้นมีการจัดการให้เราเกือบจะทั้งหมด ตั้งแต่การตรวจสอบเอกสารของเราว่ามีความถูกต้องและครบถ้วนมากน้อยแค่ไหนจนถึงการดำเนินการเรื่องเอกสารผ่านกรมศุลกากรเพื่อนำสินค้าเข้ามาในประเทศและส่งออกนอกประเทศ แน่นอนว่าเมื่อเลือก Shipping ได้แล้วสิ่งที่สามารถทำได้เลยในขั้นถัดไปคือการเลือก Fulfillment (คลังเก็บสินค้าออนไลน์) เพื่อใช้ในการเก็บสินค้า แน่นอนว่าการส่งสินค้าไปนอกประเทศนั้นเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมาก จึงต้องมีการเลือก Fulfillment ที่ได้มาตรฐานและมีโกดังขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับสินค้าจำนวนมากได้ เราขอแนะนำ Packhai บริษัทที่เปิดให้บริการคลังสินค้าออนไลน์ที่มากประสบการณ์ อีกทั้งยังมีระบบความปลอดภัยที่ครอบคลุมทั่วทั้งโกดัง ทำให้คุณนั้นสามารถทำงานได้ง่ายขึ้นเพราะสามารถเช็คสต๊อกสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ดูยอดขายสินค้า ติดตามสถานะ ดูรายงานการวิเคราะห์ข้อมูล อีกทั้งยังเป็นคลังเก็บสินค้าออนไลน์ที่มีครอบคลุมทั่วประเทศไทย
ทั้งนี้เมื่อเลือก Shipping ได้แล้วก็อย่าลืมเลือก Fulfillment หรือคลังเก็บสินค้าออนไลน์เอาไว้ด้วยนะคะ เพราะจะต้องมีการเก็บสินค้าไว้ในโกดังขนาดใหญ่หรือในพื้นที่ที่เพียงต่อปริมานของสินค้าก่อนที่ Shipping จะมารับสินค้าไป อีกทั้งยังต้องเลือก Fulfillment ที่มีบริการหลังการขายที่ดีที่มาพร้อมกับมาตรฐานระบบความปลอดภัยต่าง ๆ